วานนี้ ( 4 มี.ค.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว. สรรหา หารือถึงโครงการจำนำข้าวในฤดูกาลใหม่ ว่า ขอเรียกร้องไปยังประชาชนชาว กทม.เสียงข้างมาก 1.7 ล้านเสียงที่ตัดสินไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นผู้บริหารกทม.ขอให้ร่วมตรวจสอบหยุดโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายไม่หยุดหย่อน ที่ขาดทุนถึงวันละ 500 ล้านบาท ปีละ 1.7 แสนล้านบาท เพราะพบการทุจริตในหลายขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนสำคัญคือการระบายข้าว ทั้งการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี โดยคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ขอเอกสารจีทูจีและเอกสารระบายข้าวไป โดยอาศัยพ.ร.บ.คําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา. พ.ศ. 2554 มาตรา 8 ไปยังรมว.พาณิชย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งปฏิเสธไม่นำส่งเอกสารให้
ตนในฐานะประธานอนุกมธ.ป้องกันการทุจริตและตรวจสอบอำนาจรัฐจะมีการประชุม เพื่อขอให้กมธ.พิจารณาดำเนินคดีกับบุคคลคนทั้ง 3 ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมขอเรียกร้องให้ป.ป.ช. เร่งไต่สวนคดีจำนำข้าวโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเสียหาย และรักษาประโยชน์สาธารณะ และจะเสนอให้กมธ.ไปพบประธานป.ป.ช.ในเร็วๆนี้ด้วย
อีกด้านนายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และประธานผู้แทนการค้าไทย กล่าวแสดงความมั่นใจว่า ปีนี้ไทยจะระบายข้าวได้ถึง 8 ล้านตัน มากขึ้นกว่าปี 2555 โดยไม่ต้องลดราคาข้าวสู้กับคู่แข่ง เนื่องจากปีนี้อินเดียและเวียดนามจะส่งออกข้าวได้เพียง 4 ล้านตัน เพราะขาดแคลนสต๊อกข้าว ขณะที่ปี 2555 ทั้งสองประเทศนี้ได้ทุ่มตลาดข้าว จนข้าวขาวถูกกดราคาเหลือ 450 เหรียญสหรัฐต่อตัน และกระทบต่อยอดส่งออกข้าวไทยที่เคยส่งออกได้ปีละ 6 ล้านตัน
“การที่ไทยขายข้าวไม่ได้ ไม่ได้เป็นเพราะโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แต่เพราะปีที่แล้วอินเดียส่งออกข้าวขาวมากถึง 7 ล้านตันด้วยราคาถูก จึงไหลเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทยในแอฟริกา ส่วนตลาดข้าวในเอเชียเราก็สูญเสียตลาดชั่วคราวให้กับข้าวจากเวียดนามที่มีราคาถูกกว่า” นายโอฬาร กล่าว
รายงานข้าวจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า ปี 2556 อินเดียอาจจะส่งออกข้าวลดลง 1 ใน 4 จากปีก่อนที่ส่งออกข้าวได้ 10 ล้านตัน เพราะข้าวอินเดียราคาแพงขึ้น อย่างไรก็ตาม อินเดียมีสต๊อกข้าว 32.22 ล้านตัน เมื่อวันที่ 1 ม.ค. มากกว่าสต๊อกข้าวขั้นต่ำที่รัฐบาลกําหนดไว้ 13.8 ล้านตัน
ทั้งนี้ The Lal Mahal Group และบริษัท KRBL Ltd. ผู้ส่งออกข้าวชั้นนําของอินเดียต่างระบุว่า ปัจจุบันคู่แข่งทั้ง 3 ราย คือเวียดนาม ปากีสถาน และพม่า ต่างพากันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวดั้งเดิมของอินเดีย โดยผู้ซื้อในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาตะวันออก ต่างหันไปซื้อข้าวจากคู่แข่งทั้ง 3 ประเทศ ผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย ยังระบุว่า การส่งออกข้าวของบริษัทมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปากีสถานและเวียดนาม
ตนในฐานะประธานอนุกมธ.ป้องกันการทุจริตและตรวจสอบอำนาจรัฐจะมีการประชุม เพื่อขอให้กมธ.พิจารณาดำเนินคดีกับบุคคลคนทั้ง 3 ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมขอเรียกร้องให้ป.ป.ช. เร่งไต่สวนคดีจำนำข้าวโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเสียหาย และรักษาประโยชน์สาธารณะ และจะเสนอให้กมธ.ไปพบประธานป.ป.ช.ในเร็วๆนี้ด้วย
อีกด้านนายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และประธานผู้แทนการค้าไทย กล่าวแสดงความมั่นใจว่า ปีนี้ไทยจะระบายข้าวได้ถึง 8 ล้านตัน มากขึ้นกว่าปี 2555 โดยไม่ต้องลดราคาข้าวสู้กับคู่แข่ง เนื่องจากปีนี้อินเดียและเวียดนามจะส่งออกข้าวได้เพียง 4 ล้านตัน เพราะขาดแคลนสต๊อกข้าว ขณะที่ปี 2555 ทั้งสองประเทศนี้ได้ทุ่มตลาดข้าว จนข้าวขาวถูกกดราคาเหลือ 450 เหรียญสหรัฐต่อตัน และกระทบต่อยอดส่งออกข้าวไทยที่เคยส่งออกได้ปีละ 6 ล้านตัน
“การที่ไทยขายข้าวไม่ได้ ไม่ได้เป็นเพราะโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แต่เพราะปีที่แล้วอินเดียส่งออกข้าวขาวมากถึง 7 ล้านตันด้วยราคาถูก จึงไหลเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทยในแอฟริกา ส่วนตลาดข้าวในเอเชียเราก็สูญเสียตลาดชั่วคราวให้กับข้าวจากเวียดนามที่มีราคาถูกกว่า” นายโอฬาร กล่าว
รายงานข้าวจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า ปี 2556 อินเดียอาจจะส่งออกข้าวลดลง 1 ใน 4 จากปีก่อนที่ส่งออกข้าวได้ 10 ล้านตัน เพราะข้าวอินเดียราคาแพงขึ้น อย่างไรก็ตาม อินเดียมีสต๊อกข้าว 32.22 ล้านตัน เมื่อวันที่ 1 ม.ค. มากกว่าสต๊อกข้าวขั้นต่ำที่รัฐบาลกําหนดไว้ 13.8 ล้านตัน
ทั้งนี้ The Lal Mahal Group และบริษัท KRBL Ltd. ผู้ส่งออกข้าวชั้นนําของอินเดียต่างระบุว่า ปัจจุบันคู่แข่งทั้ง 3 ราย คือเวียดนาม ปากีสถาน และพม่า ต่างพากันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวดั้งเดิมของอินเดีย โดยผู้ซื้อในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาตะวันออก ต่างหันไปซื้อข้าวจากคู่แข่งทั้ง 3 ประเทศ ผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย ยังระบุว่า การส่งออกข้าวของบริษัทมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปากีสถานและเวียดนาม