ทาทา สตีล งวดไตรมาส 3 ขาดทุน 488.18 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า เหตุเศรษฐกิจเติบโตตามการฟื้นตัวของการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กมากขึ้น แถมเน้นบริหารการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีส่วนต่างระหว่างราคาขาย และราคาวัตถุดิบที่ดีขึ้น ทำให้ EBITDA เป็นบวก แม้ปริมาณ และราคาขายยังคงต่ากว่าแผน แต่รักษาต้นทุนการผลิจตต่ำกว่าแผน
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH แจ้งผลงานไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2555-2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 488.18 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ 942.98 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 454.80 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 48.23%
โดยผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เนื่องจากเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการเติบโตของความต้องการในสินค้าเหล็กดีขึ้นในไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) มีการฟื้นตัวของการก่อสร้างทั้งในภาคเอกชน และภาครัฐ ภาวะเศรษฐกิจไทยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตขึ้น 5.5% ในปี 2555 และคาดว่าจะเติบโต 5% ในปี 2556 การเติบโตแสดงให้เห็นทั้งในสินค้าเหล็กแผ่น และเหล็กเส้นก่อสร้าง
โดยมียอดปริมาณการใช้เหล็กสูงขึ้น 11% ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ในจำนวนที่สูงขึ้นนี้ส่วนมากมาจากการนำเข้า ซึ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 30% จากปีก่อน ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเหล็กลวด และเหล็กแผ่นม้วนรีดร้อนภายในประเทศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้บริษัทเติบโตขึ้นทั้งในด้านยอดขาย พร้อมทั้งมียอดกาไรก่อนภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายการเงิน ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ของรอบปีบัญชี 2556 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) และไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2555 (ตุลาคม-ธันวาคม 2554) สำหรับไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) และสะสม 9 เดือน บริษัทมียอดกำไรเบื้องต้นเป็นบวกที่ 9 ล้านบาท และ 8 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ในประเทศไทยคาดว่ายังมีความเติบโตต่อเนื่องในธุรกิจเหล็กก่อสร้าง และธุรกิจยานยนต์ บริษัทคาดว่ารัฐบาลจะให้ความสาคัญในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรมจากจีนโดยการดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาดอย่างจริงจัง ในแง่ของผลการดำเนินงานของธุรกิจบริษัทยังคงให้ความสำคัญของการดำเนินการตามแผนพลิกพื้นที่บริษัทวางไว้ และปรับปรุงการดาเนินการอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีบัญชี 2556 (มกราคม-มีนาคม 2556) เพื่อแน่ใจว่าบริษัทยังคงมีความสามารถทาผลกาไรในรูปเงินสด
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้บริหารการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีส่วนต่างระหว่างราคาขาย และราคาวัตถุดิบที่ดีขึ้นทำให้ EBITDA ยังคงมียอดเป็นบวกแม้ว่าปริมาณ และราคาขายยังคงต่ากว่าแผน รวมทั้งยังสามารถรักษาต้นทุนการผลิตคงที่ไว้ได้ต่ากว่าแผนอีกด้วย
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH แจ้งผลงานไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2555-2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 488.18 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ 942.98 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 454.80 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 48.23%
โดยผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เนื่องจากเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการเติบโตของความต้องการในสินค้าเหล็กดีขึ้นในไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) มีการฟื้นตัวของการก่อสร้างทั้งในภาคเอกชน และภาครัฐ ภาวะเศรษฐกิจไทยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตขึ้น 5.5% ในปี 2555 และคาดว่าจะเติบโต 5% ในปี 2556 การเติบโตแสดงให้เห็นทั้งในสินค้าเหล็กแผ่น และเหล็กเส้นก่อสร้าง
โดยมียอดปริมาณการใช้เหล็กสูงขึ้น 11% ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ในจำนวนที่สูงขึ้นนี้ส่วนมากมาจากการนำเข้า ซึ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 30% จากปีก่อน ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเหล็กลวด และเหล็กแผ่นม้วนรีดร้อนภายในประเทศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้บริษัทเติบโตขึ้นทั้งในด้านยอดขาย พร้อมทั้งมียอดกาไรก่อนภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายการเงิน ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ของรอบปีบัญชี 2556 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) และไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2555 (ตุลาคม-ธันวาคม 2554) สำหรับไตรมาส 3 ของรอบปีบัญชี 2556 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) และสะสม 9 เดือน บริษัทมียอดกำไรเบื้องต้นเป็นบวกที่ 9 ล้านบาท และ 8 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ในประเทศไทยคาดว่ายังมีความเติบโตต่อเนื่องในธุรกิจเหล็กก่อสร้าง และธุรกิจยานยนต์ บริษัทคาดว่ารัฐบาลจะให้ความสาคัญในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรมจากจีนโดยการดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาดอย่างจริงจัง ในแง่ของผลการดำเนินงานของธุรกิจบริษัทยังคงให้ความสำคัญของการดำเนินการตามแผนพลิกพื้นที่บริษัทวางไว้ และปรับปรุงการดาเนินการอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีบัญชี 2556 (มกราคม-มีนาคม 2556) เพื่อแน่ใจว่าบริษัทยังคงมีความสามารถทาผลกาไรในรูปเงินสด
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้บริหารการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีส่วนต่างระหว่างราคาขาย และราคาวัตถุดิบที่ดีขึ้นทำให้ EBITDA ยังคงมียอดเป็นบวกแม้ว่าปริมาณ และราคาขายยังคงต่ากว่าแผน รวมทั้งยังสามารถรักษาต้นทุนการผลิตคงที่ไว้ได้ต่ากว่าแผนอีกด้วย