ทาทา สตีลฯร้องก.พาณิชย์เร่งประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดเหล็กลวดเจือโบรอนและโครเมียมจากจีนด่วน พร้อมออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ เหตุจีนดัมป์ตลาดหนักทั้งปริมาณและราคาหลังเวียดนาม-มาเลย์ปรับขึ้นภาษีเหล็กเจือโบรอนจีนแล้ว หวั่นช้าเกินไปผู้ประการไทยเดี้ยง
นายธนะ เรืองศิลาสิงห์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่-การผลิต บริษัท ทาทาสตีล (ประเทศไทย ) จำกัด(มหาชน)(TSTH) เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นหนังสือขอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดคาร์บอนต่ำเจือโบรอนและโครเมียมจากจีนภายในเดือนตุลาคมนี้
หลังจากจีนเข้ามาทุ่มตลาดสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนเจือโบรอนและโครเมี่ยมเพียงเพื่อแสดงเป็นเหล็กกล้าเจืออยู่ในพิกัดศุลกากร 722790 ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า 5% ส่งผลให้ขณะนี้ผู้ผลิตเหล็กลวดภายในประเทศบางรายต้องลดกำลังการผลิตลง หรือชะลอการเปิดโรงงานไป จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดกระบวนการพิจารณาไต่สวนการทุ่มตลาดและพิจารณาสั่งบังคับมาตรการฉุกเฉิน เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นการด่วน ช่วยเบรกการนำเข้าเหล็กลวดคาร์บอนเจือโบรอนและโครเมียมจากจีน
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านได้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดเจือโบรอนจาก จีน แม้แต่สหรัฐอเมริกาก็ออกมาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดในรูปแบบCustoms and borderProtection (CBP)จากการนำเข้าสินค้าเจือโบรอนโดยการวางเงินประกันนำเข้าในอัตราร้อยละ 128.59 เวียดนามปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กเจือโบรอนจากร้อยละ 0 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 และมาเลเซีย ประกาศให้มีการไต่สวนการทุ่มตลาดจากผู้ผลิตสินค้าเหล็กลวดจากจีน เป็นต้น ส่งผลให้เหล็กลวดจากจีนทะลักเข้าสู่ตลาดไทยมากยิ่งขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาเหล็กลวดผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนที่มาจำหน่ายในไทยนั้นขายถูกกว่าเหล็กลวดในไทยถึงตันละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าโดยแสดงเป็นเหล็กกล้าเจือไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า 5% และรัฐบาลจีนสนับสนุนการส่งออกโดยให้เงินอุดหนุนอีก 9%ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กลวดในไทยต้องขยับลดราคาขายลงมารวมทั้งอาศัยความสัมพันธ์และบริการการขายเพื่อดึงลูกค้าในประเทศไว้ แม้ว่าราคาขายจะสูงกว่าเหล็กลวดจากจีนบ้างก็ตาม
"ขณะนี้ราคาสินค้านำเข้าจากจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากเดือนพ.ค. 55 อยู่ที่ตันละ 710 เหรียญสหรัฐ/ตัน พบว่าปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 595 เหรียญสหรัฐ ส่วนเหล็กลวดคาร์บอนต่ำจากจีนเดือนพ.ค.อยู่ที่ 630 เหรียญสหรัฐ/ตัน ปัจจุบันอยู่ที่ 570 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นระดับราคาใกล้เคียงต้นทุนวัตถุดิบที่บริษัทฯนำเข้ามาผลิตเหล็กลวดคาร์บอน หากรัฐบาลไทยไม่มีมาตรการใดออกมาตอบโต้ เชื่อว่าทั้งปีไทยนำเข้าเหล็กลวดผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนสูงถึง 5 แสนตัน "
ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเหล็กลวดได้ยื่นหนังสือให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดคาร์บอนสูงผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล และยังไม่มีการประกาศไต่สวนฯแต่อย่างใด"
นายธนะ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายการผลิตเหล็กก่อสร้างและเหล็กลวด 1.1-1.2 ล้านตัน โดยไตรมาส 2/2555 (ก.ค.-ก.ย.55) คาดว่าปริมาณการผลิตเหล็กลวดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส1/2555 เนื่องจากไตรมาสก่อนบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฯหยุดผลิตไป 1 เดือนจากผลกระทบการระเบิดของโรงงานแห่งหนึ่งในมาบตาพุด ส่วนราคาเหล็กเฉลี่ยในไตรมาส 2 นี้จะต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่มีราคาเฉลี่ยตันละ 22,900 บาทอย่างชันเจน โดยเฉพาะเหล็กลวดคาร์บอนที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาด ส่วนราคาเหล็กก่อสร้างก็อ่อนตัวลงจากราคาตลาดโลก ดังนั้นผลประกอบการในปี 55-56 (เม.ย.55-มี.ค.56) อาจจะขาดทุนต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขาดทุน 1,580 ล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในบมจ. เอ็นทีเอส สตีล กรุ๊ป(NTS) ซึ่งเป็นบริษลูก เพื่อผลิตเกรดพิเศษและช่วยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตมากขึ้นจากปัจจุบันผลิตอยู่ 60%นั้น ขณะนี้บริษัทฯเจรจากับพันธมิตรต่างชาติหลายรายทั้งญี่ปุ่น อินเดียและยุโรป ยังไม่มีข้อสรุปใด ขณะเดียวกันบริษัทฯจะขยายเวลาการหยุดผลิตโครงการเหล็กหลอมเหลว(Mini Blast Furnance)ออกไปจากเดิมก.ย.นี้เป็นมี.ค.56 เนื่องจากพบว่าราคาวัตถุดิบทั้งแร่เหล็กและถ่านโค้กยังผันผวนอยู่
นายธนะ เรืองศิลาสิงห์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่-การผลิต บริษัท ทาทาสตีล (ประเทศไทย ) จำกัด(มหาชน)(TSTH) เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นหนังสือขอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดคาร์บอนต่ำเจือโบรอนและโครเมียมจากจีนภายในเดือนตุลาคมนี้
หลังจากจีนเข้ามาทุ่มตลาดสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนเจือโบรอนและโครเมี่ยมเพียงเพื่อแสดงเป็นเหล็กกล้าเจืออยู่ในพิกัดศุลกากร 722790 ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า 5% ส่งผลให้ขณะนี้ผู้ผลิตเหล็กลวดภายในประเทศบางรายต้องลดกำลังการผลิตลง หรือชะลอการเปิดโรงงานไป จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดกระบวนการพิจารณาไต่สวนการทุ่มตลาดและพิจารณาสั่งบังคับมาตรการฉุกเฉิน เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นการด่วน ช่วยเบรกการนำเข้าเหล็กลวดคาร์บอนเจือโบรอนและโครเมียมจากจีน
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านได้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดเจือโบรอนจาก จีน แม้แต่สหรัฐอเมริกาก็ออกมาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดในรูปแบบCustoms and borderProtection (CBP)จากการนำเข้าสินค้าเจือโบรอนโดยการวางเงินประกันนำเข้าในอัตราร้อยละ 128.59 เวียดนามปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กเจือโบรอนจากร้อยละ 0 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 และมาเลเซีย ประกาศให้มีการไต่สวนการทุ่มตลาดจากผู้ผลิตสินค้าเหล็กลวดจากจีน เป็นต้น ส่งผลให้เหล็กลวดจากจีนทะลักเข้าสู่ตลาดไทยมากยิ่งขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาเหล็กลวดผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนที่มาจำหน่ายในไทยนั้นขายถูกกว่าเหล็กลวดในไทยถึงตันละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าโดยแสดงเป็นเหล็กกล้าเจือไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า 5% และรัฐบาลจีนสนับสนุนการส่งออกโดยให้เงินอุดหนุนอีก 9%ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กลวดในไทยต้องขยับลดราคาขายลงมารวมทั้งอาศัยความสัมพันธ์และบริการการขายเพื่อดึงลูกค้าในประเทศไว้ แม้ว่าราคาขายจะสูงกว่าเหล็กลวดจากจีนบ้างก็ตาม
"ขณะนี้ราคาสินค้านำเข้าจากจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากเดือนพ.ค. 55 อยู่ที่ตันละ 710 เหรียญสหรัฐ/ตัน พบว่าปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 595 เหรียญสหรัฐ ส่วนเหล็กลวดคาร์บอนต่ำจากจีนเดือนพ.ค.อยู่ที่ 630 เหรียญสหรัฐ/ตัน ปัจจุบันอยู่ที่ 570 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นระดับราคาใกล้เคียงต้นทุนวัตถุดิบที่บริษัทฯนำเข้ามาผลิตเหล็กลวดคาร์บอน หากรัฐบาลไทยไม่มีมาตรการใดออกมาตอบโต้ เชื่อว่าทั้งปีไทยนำเข้าเหล็กลวดผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนสูงถึง 5 แสนตัน "
ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเหล็กลวดได้ยื่นหนังสือให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดคาร์บอนสูงผสมโบรอนและโครเมียมจากจีนเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล และยังไม่มีการประกาศไต่สวนฯแต่อย่างใด"
นายธนะ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายการผลิตเหล็กก่อสร้างและเหล็กลวด 1.1-1.2 ล้านตัน โดยไตรมาส 2/2555 (ก.ค.-ก.ย.55) คาดว่าปริมาณการผลิตเหล็กลวดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส1/2555 เนื่องจากไตรมาสก่อนบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฯหยุดผลิตไป 1 เดือนจากผลกระทบการระเบิดของโรงงานแห่งหนึ่งในมาบตาพุด ส่วนราคาเหล็กเฉลี่ยในไตรมาส 2 นี้จะต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่มีราคาเฉลี่ยตันละ 22,900 บาทอย่างชันเจน โดยเฉพาะเหล็กลวดคาร์บอนที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาด ส่วนราคาเหล็กก่อสร้างก็อ่อนตัวลงจากราคาตลาดโลก ดังนั้นผลประกอบการในปี 55-56 (เม.ย.55-มี.ค.56) อาจจะขาดทุนต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขาดทุน 1,580 ล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในบมจ. เอ็นทีเอส สตีล กรุ๊ป(NTS) ซึ่งเป็นบริษลูก เพื่อผลิตเกรดพิเศษและช่วยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตมากขึ้นจากปัจจุบันผลิตอยู่ 60%นั้น ขณะนี้บริษัทฯเจรจากับพันธมิตรต่างชาติหลายรายทั้งญี่ปุ่น อินเดียและยุโรป ยังไม่มีข้อสรุปใด ขณะเดียวกันบริษัทฯจะขยายเวลาการหยุดผลิตโครงการเหล็กหลอมเหลว(Mini Blast Furnance)ออกไปจากเดิมก.ย.นี้เป็นมี.ค.56 เนื่องจากพบว่าราคาวัตถุดิบทั้งแร่เหล็กและถ่านโค้กยังผันผวนอยู่