วานนี้(25 มี.ค.56) สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า นับตั้งแต่รัฐบาลดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 จนถึงกลางเดือนธันวาคม 2555 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ใช้งบประมาณในการว่าจ้างเอกชนประชาสัมพันธ์โครงการไปแล้ว 88,685,475 บาท ตัวเลขดังกล่าวเป็นการว่าจ้างเอกชน 2 รายซึ่งมีกลุ่มผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงกัน ประกอบด้วย
1.บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด 3 ครั้ง ครั้ง 30,566,475 บาท
2.บริษัท สอง พอ ดี จำกัด 6 ครั้ง 58,119,000 บาท
ทั้งนี้ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด และบริษัท สองพอดี จำกัด เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงกัน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท สอง พอ ดี จำกัด จดทะเบียนวันที่ 9 มีนาคม 2554 ทุน 3 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 337/101 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีนางกัญภร สกุลนนทสิริ (ชื่อเดิม นางดลพร ขำกิ่ง เป็นภรรยาของ พ.ท.ธนากร ไชยมะโน) พ.ท.ธนากร ไชยมะโน และนางรำไพพรรณ ปนัดเศรษณี เป็นผู้ก่อการจัดตั้งบริษัท ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2555 นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 300 บาท จากทั้งหมด 10,000 หุ้น
บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 127/38 หมู่ที่ 2 ซอยติวานนท์ 48 ถนนติวานนท์ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 7,000 หุ้น และเป็นกรรมการ จาก 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด ได้รับว่าจ้างกรมการค้าภายใน ประชาสัมพันธ์การรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 1,420,000.00 บาท เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2555
และยังพบว่า บริษัท ทรี แองเจิ้ล จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงได้รับว่าจ้างจากกรมการค้าภายใน ประชาสัมพันธ์โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี2555/56 (สปอต Mobile Unit,สื่อวิทยุ) จำนวน 4,830,000 บาท เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2555
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ขอตั้งข้อสงสัยถึงความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาต่อการเปิดเขตการค้าข้าวพิเศษ ของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งที่การส่งออกข้าวของไทยเองประสบกับความยากลำบาก มีข้าวล้นสต็อกอยู่ในโกดังไม่ต่ำกว่า 17 ล้านตัน เหตุใดกระทรวงพาณิชย์ของไทยจึงมีความคิดทีจะนำข้าวจากประเทศกัมพูชาเข้ามาแปรสภาพในประเทศไทยเพื่อการส่งออก การดำเนินการลักษณะนี้จะทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการที่ข้าวคุณภาพต่ำจากเขมรไหลทะลักเข้ามายังตลาดชาวนาไทยโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากรัฐมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตการค้าข้าวพิเศษ อยากถามว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะป้องกันการไหลทะลักเข้ามาของข้าวคุณภาพต่ำอย่างไร การดำเนินการลักษณะนี้อาจจะเป็นการจงใจของรัฐบาลที่จะหาทางระบายข้าวคุณภาพต่ำในโรงสีของรัฐบาล หรือโกดังของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นข้าวเขมรเพื่อส่งออกในราคาถูกต่อไปหรือไม่ มองว่ารัฐพยายามหาทางระบายข้าวในวิธีต่างๆ ซึ่งช่วงนี้มีเหตุการณ์ไฟไหม้โกดังข้าวบ่อยครั้ง เป็นวิธีหนึ่งในการกำจัดข้าว และนำข้าวจากกัมพูชาเข้าทดแทน
“ไม่เห็นความจำเป็นที่รัฐบาลจะไปกระทำการเปิดเขตการค้าข้าวพิเศษกับกัมพูชา เพราะปัญหาของข้าวไทยก็ยังหาทางแก้ปัญหาไม่ได้เลย จึงอยากให้ทบทวนการดำเนินการดังกล่าว หรือหากจะดำเนินการต่อก็อยากให้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ได้ตอบคำถามทั้ง 3 ข้อก่อนว่า ทำไปแล้วไทยจะได้อะไร และจะป้องกันผลเสียหายจากการสวมสิทธิ์ข้าวเขมร หรือแม้แต่เอาข้าวไทยไปสวมเป็นข้าวเขมรเพื่อส่งออกตรงนี้รัฐบาลจะป้องกันอย่างไร”
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค" ถึงกรณีปัญหาโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล มีใจความว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์แถลงผลสอบการระบายข้าวแบบจีทูจี และยืนยันว่าบริษัทจีเอสเอสจีเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศจีนจริง ผมถือว่ากระทรวงพาณิชย์สอบผิดประเด็น เพราะเราไม่ได้ติดใจว่าจีเอสเอสจีจะเป็นรัฐวิสาหกิจจริงหรือไม่ แต่ประเด็นสำคัญคือมีการขายข้าวแบบจีทูจีจริงหรือไม่ เพราะถ้าเป็นการระบายแบบจีทูจี เป็นการระบายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล จะต้องมีองค์ประกอบ
1.ต้องมีสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียด ชนิด ปริมาณ ราคาซื้อขายของข้าว ดังนั้นขอให้นำสัญญาดังกล่าวนั้นมาแสดงต่อสื่อมวลชน
2.การชำระสินค้าต้องเป็นเงินจากรัฐบาลจีน แนวปฏิบัติที่ผ่านมารูปแบบการชำระเงินก็มักจะเป็นการเปิด LC หรือ Letter of Credit และช่วงเดือนตุลาคม 2555 นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ก็เคยแถลงข่าวว่าได้รับ LC เรียบร้อยแล้ว ผมจึงขอให้นำเอกสารสัญญาดังกล่าวนั้นมาแสดงด้วย แต่ถ้าเป็นการชำระเงินในรูปแบบอื่น ก็ควรจะมีหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้มาดำเนินการ ผมขอถามว่าหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้มาดำเนินการชำระเงินแทนอยู่ไหน
เนื่องจากมีบริษัทจีเอสเอสจีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่รัฐบาลอ้างว่ามาดำเนินการแทนรัฐบาลจีน และอ้างว่าบริษัทนี้มอบอำนาจให้นายรัฐนิจ โสจิระกุล (นายปาล์ม) ดังนั้นเอกสารที่จะต้องมาแสดงพิ่มเติมคือ 1.หนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีน ที่มอบอำนาจให้จีเอสเอสจี ดำเนินการแทนรัฐบาล 2.ควรต้องมีหนังสือมอบอำนาจจาก จีเอสเอสจี ให้แก่นานรัฐนิจ มาดำเนินการแทนจีเอสเอสจี ในนามของรัฐบาลจีน
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีธุรกรรม 2 รูปแบบ คือมีจีเอสเอสจีเข้ามาร่วมด้วยและธุรกรรมที่นายรัฐนิจกระทำในนามบุคคล ดังนั้นกระทรวงจะต้องเอาหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนที่มอบอำนาจให้นายรัฐนิจ กระทำในนามรัฐบาลจีนมาโชว์ด้วย
“ผมคิดว่าไม่ใช่มาพูดลอยๆและเบี่ยงประเด็นไปเรื่องเป็นรัฐวิสาหกิจจีนจริงและอ้างว่าต้องเป็ความลับ” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 26 มี.ค.นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ ครม.ขอความเห็นชอบ การจัดทำข้อตกลง
ว่าด้วยการแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลบังกลาเทศ
ตอนหนึ่งระบุว่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ มีการแก้ไขเนื้อหาในบันทึกความเข้าใจ ฯ เรื่องระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของบันทึกความเข้าใจ ฯ จากเดิม 2555 – 2556 เป็นปี 2555 – 2559 ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลบังกลาเทศจะมีการเจรจาตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับรัฐบาลไทยปริมาณไม่เกิน 1,000,000 ตันต่อปี นับตั้งแต่ปี 2555 -2559 โดยมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตข้าวของแต่ละประเทศ และระดับราคาซื้อขายในตลาดโลก.
1.บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด 3 ครั้ง ครั้ง 30,566,475 บาท
2.บริษัท สอง พอ ดี จำกัด 6 ครั้ง 58,119,000 บาท
ทั้งนี้ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด และบริษัท สองพอดี จำกัด เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงกัน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท สอง พอ ดี จำกัด จดทะเบียนวันที่ 9 มีนาคม 2554 ทุน 3 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 337/101 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีนางกัญภร สกุลนนทสิริ (ชื่อเดิม นางดลพร ขำกิ่ง เป็นภรรยาของ พ.ท.ธนากร ไชยมะโน) พ.ท.ธนากร ไชยมะโน และนางรำไพพรรณ ปนัดเศรษณี เป็นผู้ก่อการจัดตั้งบริษัท ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2555 นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 300 บาท จากทั้งหมด 10,000 หุ้น
บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 127/38 หมู่ที่ 2 ซอยติวานนท์ 48 ถนนติวานนท์ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 7,000 หุ้น และเป็นกรรมการ จาก 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด ได้รับว่าจ้างกรมการค้าภายใน ประชาสัมพันธ์การรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 1,420,000.00 บาท เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2555
และยังพบว่า บริษัท ทรี แองเจิ้ล จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงได้รับว่าจ้างจากกรมการค้าภายใน ประชาสัมพันธ์โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี2555/56 (สปอต Mobile Unit,สื่อวิทยุ) จำนวน 4,830,000 บาท เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2555
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ขอตั้งข้อสงสัยถึงความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาต่อการเปิดเขตการค้าข้าวพิเศษ ของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งที่การส่งออกข้าวของไทยเองประสบกับความยากลำบาก มีข้าวล้นสต็อกอยู่ในโกดังไม่ต่ำกว่า 17 ล้านตัน เหตุใดกระทรวงพาณิชย์ของไทยจึงมีความคิดทีจะนำข้าวจากประเทศกัมพูชาเข้ามาแปรสภาพในประเทศไทยเพื่อการส่งออก การดำเนินการลักษณะนี้จะทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการที่ข้าวคุณภาพต่ำจากเขมรไหลทะลักเข้ามายังตลาดชาวนาไทยโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากรัฐมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตการค้าข้าวพิเศษ อยากถามว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะป้องกันการไหลทะลักเข้ามาของข้าวคุณภาพต่ำอย่างไร การดำเนินการลักษณะนี้อาจจะเป็นการจงใจของรัฐบาลที่จะหาทางระบายข้าวคุณภาพต่ำในโรงสีของรัฐบาล หรือโกดังของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นข้าวเขมรเพื่อส่งออกในราคาถูกต่อไปหรือไม่ มองว่ารัฐพยายามหาทางระบายข้าวในวิธีต่างๆ ซึ่งช่วงนี้มีเหตุการณ์ไฟไหม้โกดังข้าวบ่อยครั้ง เป็นวิธีหนึ่งในการกำจัดข้าว และนำข้าวจากกัมพูชาเข้าทดแทน
“ไม่เห็นความจำเป็นที่รัฐบาลจะไปกระทำการเปิดเขตการค้าข้าวพิเศษกับกัมพูชา เพราะปัญหาของข้าวไทยก็ยังหาทางแก้ปัญหาไม่ได้เลย จึงอยากให้ทบทวนการดำเนินการดังกล่าว หรือหากจะดำเนินการต่อก็อยากให้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ได้ตอบคำถามทั้ง 3 ข้อก่อนว่า ทำไปแล้วไทยจะได้อะไร และจะป้องกันผลเสียหายจากการสวมสิทธิ์ข้าวเขมร หรือแม้แต่เอาข้าวไทยไปสวมเป็นข้าวเขมรเพื่อส่งออกตรงนี้รัฐบาลจะป้องกันอย่างไร”
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค" ถึงกรณีปัญหาโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล มีใจความว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์แถลงผลสอบการระบายข้าวแบบจีทูจี และยืนยันว่าบริษัทจีเอสเอสจีเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศจีนจริง ผมถือว่ากระทรวงพาณิชย์สอบผิดประเด็น เพราะเราไม่ได้ติดใจว่าจีเอสเอสจีจะเป็นรัฐวิสาหกิจจริงหรือไม่ แต่ประเด็นสำคัญคือมีการขายข้าวแบบจีทูจีจริงหรือไม่ เพราะถ้าเป็นการระบายแบบจีทูจี เป็นการระบายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล จะต้องมีองค์ประกอบ
1.ต้องมีสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียด ชนิด ปริมาณ ราคาซื้อขายของข้าว ดังนั้นขอให้นำสัญญาดังกล่าวนั้นมาแสดงต่อสื่อมวลชน
2.การชำระสินค้าต้องเป็นเงินจากรัฐบาลจีน แนวปฏิบัติที่ผ่านมารูปแบบการชำระเงินก็มักจะเป็นการเปิด LC หรือ Letter of Credit และช่วงเดือนตุลาคม 2555 นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ก็เคยแถลงข่าวว่าได้รับ LC เรียบร้อยแล้ว ผมจึงขอให้นำเอกสารสัญญาดังกล่าวนั้นมาแสดงด้วย แต่ถ้าเป็นการชำระเงินในรูปแบบอื่น ก็ควรจะมีหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้มาดำเนินการ ผมขอถามว่าหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้มาดำเนินการชำระเงินแทนอยู่ไหน
เนื่องจากมีบริษัทจีเอสเอสจีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่รัฐบาลอ้างว่ามาดำเนินการแทนรัฐบาลจีน และอ้างว่าบริษัทนี้มอบอำนาจให้นายรัฐนิจ โสจิระกุล (นายปาล์ม) ดังนั้นเอกสารที่จะต้องมาแสดงพิ่มเติมคือ 1.หนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีน ที่มอบอำนาจให้จีเอสเอสจี ดำเนินการแทนรัฐบาล 2.ควรต้องมีหนังสือมอบอำนาจจาก จีเอสเอสจี ให้แก่นานรัฐนิจ มาดำเนินการแทนจีเอสเอสจี ในนามของรัฐบาลจีน
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีธุรกรรม 2 รูปแบบ คือมีจีเอสเอสจีเข้ามาร่วมด้วยและธุรกรรมที่นายรัฐนิจกระทำในนามบุคคล ดังนั้นกระทรวงจะต้องเอาหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนที่มอบอำนาจให้นายรัฐนิจ กระทำในนามรัฐบาลจีนมาโชว์ด้วย
“ผมคิดว่าไม่ใช่มาพูดลอยๆและเบี่ยงประเด็นไปเรื่องเป็นรัฐวิสาหกิจจีนจริงและอ้างว่าต้องเป็ความลับ” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 26 มี.ค.นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ ครม.ขอความเห็นชอบ การจัดทำข้อตกลง
ว่าด้วยการแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลบังกลาเทศ
ตอนหนึ่งระบุว่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ มีการแก้ไขเนื้อหาในบันทึกความเข้าใจ ฯ เรื่องระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของบันทึกความเข้าใจ ฯ จากเดิม 2555 – 2556 เป็นปี 2555 – 2559 ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลบังกลาเทศจะมีการเจรจาตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับรัฐบาลไทยปริมาณไม่เกิน 1,000,000 ตันต่อปี นับตั้งแต่ปี 2555 -2559 โดยมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตข้าวของแต่ละประเทศ และระดับราคาซื้อขายในตลาดโลก.