ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้สูงขึ้นในขณะที่คาดว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินทั่วโลกจะส่งผลบวกต่อราคาสินทรัพย์ทุกประเภท
รอยเตอร์สำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่น 10 รายระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค. โดยผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนปรับลดสัดส่วนการถือครองเงินสดลง และยังคงลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่นายกรัฐมตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นผลักดันมาตรการกอบกู้เศรษฐกิจอย่างแข็งกร้าว
ผู้จัดการกองทุนคนหนึ่งกล่าวว่า "ผลกระทบจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในญี่ปุ่น, สหรัฐ และยุโรปจะบดบังภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐและยุโรป และมูลค่าหุ้นจะยังคงปรับขึ้นต่อไป"
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 14,563.80 ในวันจันทร์ที่ 25 มี.ค. ส่วนดัชนี S&P 500 ยังคงอยู่ใกล้กับสถิติสูงสุด ถึงแม้นักลงทุนกังวลกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อไซปรัส เพราะมาตรการดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อผู้ฝากเงิน
ผลสำรวจพบว่า ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นลงทุนในหุ้นราว 41.3% ของพอร์ทลงทุนในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน และปรับขึ้นจาก 40.5% ในเดือนก.พ.
สัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้อยู่ที่ 52.3% ในเดือนมี.ค.โดยปรับขึ้นจาก 51.7% ในเดือนก.พ. ส่วนสัดส่วนการถือครองเงินสดดิ่งลงสู่จุดต่ำสุดรอบ 17 เดือนที่ 3.0% ในเดือน มี.ค. จาก 4.3% ในเดือนก.พ.
สัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทรงตัวที่ 1.9% ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำตัวเลขนี้ในปี 2010 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นเพิ่มความระมัดระวังอย่างเห็นได้ชัดต่อการลงทุนในตราสารหนี้บางประเภท โดยปรับลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ญี่ปุ่นลงสู่ 37.0% ของพอร์ทลงทุนในตราสารหนี้ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2011 และปรับลงจาก 39.7% ในเดือนก.พ. ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนมี.ค.
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ระดับใกล้ 0.5% ในวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะปรับ เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีเข้าซื้อ JGB เพิ่มเติม และขยายมาตรการเข้าซื้อให้ครอบคลุมไปถึง JGB ที่มีกำหนดไถ่ถอนยาวนานกว่าเดิมด้วย
ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้อเมริกาเหนือขึ้นสู่ 29.8% ของพอร์ทลงทุนในตราสารหนี้ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 15 เดือน และปรับขึ้นจาก 29.4% ในเดือนก.พ.
อัตราผลตอบแทน JGB ร่วงลงมาแล้วอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ต้นปีนี้โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า บีโอเจจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าสเปรด (ส่วนต่าง) ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภท 10 ปีกับ JGB พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า1.40% ในช่วงต้นเดือนนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2011
ค่าสเปรดดังกล่าวทะยานขึ้นจากระดับต่ำกว่า 1.00 % ในช่วงต้นปีนี้และส่งผลให้พันธบัตรสหรัฐมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนบางรายกล่าวว่า ราคา JGB มีแนวโน้มที่จะได้รับแรงหนุนในช่วงนี้ เนื่องจากบีโอเจมีแนวโน้มที่จะประกาศเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมอีก หลังจากที่บีโอเจได้วางแผนไปแล้วว่า บีโอเจจะเข้าซื้อ
JGB ในปริมาณที่สูงกว่า 40 ล้านล้านเยน (4.25 แสนล้านดอลลาร์) ในปีนี
นายยุอิชิ โคดามะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเมอิจิ ยาสุดะ ไลฟ์กล่าวว่า "เราคาดว่า บีโอเจจะขยายขนาดโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ให้สูงขึ้นอีก 20 ล้านล้านเยน และจะขยายการเข้าซื้อนี้ให้ครอบคลุมไปถึงพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีด้วย โดยบีโอเจจะประกาศเรื่องนี้ออกมาในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งแรกของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะผู้ว่าการบีโอเจในวันที่ 3-4 เม.ย."
นายโคดามะกล่าวว่า "สำหรับในช่วงนี้นั้น นักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาวะตึงตัวในสมดุลด้านอุปสงค์-อุปทานในตลาด และมีแนวโน้มว่าอัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีอาจปรับเข้าสู่ 0.5%"
ภายในพอร์ทลงทุนหุ้นนั้น ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นยูโรโซนขึ้นสู่ 12.2% ในเดือนมี.ค.ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 1 ปีโดยปรับขึ้นจาก 10.6% ในเดือนก.พ. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนลดความกังวลเรื่องวิกฤติหนี้ยูโรโซนลง
นักลงทุนปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐ/แคนาดาลงสู่สถิติต่ำสุดที่30.2% ในเดือนมี.ค. จาก 30.8% ในเดือนก.พ. และคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นไว้ที่ 34.6%
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
รอยเตอร์สำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่น 10 รายระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค. โดยผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนปรับลดสัดส่วนการถือครองเงินสดลง และยังคงลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่นายกรัฐมตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นผลักดันมาตรการกอบกู้เศรษฐกิจอย่างแข็งกร้าว
ผู้จัดการกองทุนคนหนึ่งกล่าวว่า "ผลกระทบจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในญี่ปุ่น, สหรัฐ และยุโรปจะบดบังภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐและยุโรป และมูลค่าหุ้นจะยังคงปรับขึ้นต่อไป"
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 14,563.80 ในวันจันทร์ที่ 25 มี.ค. ส่วนดัชนี S&P 500 ยังคงอยู่ใกล้กับสถิติสูงสุด ถึงแม้นักลงทุนกังวลกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อไซปรัส เพราะมาตรการดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อผู้ฝากเงิน
ผลสำรวจพบว่า ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นลงทุนในหุ้นราว 41.3% ของพอร์ทลงทุนในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน และปรับขึ้นจาก 40.5% ในเดือนก.พ.
สัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้อยู่ที่ 52.3% ในเดือนมี.ค.โดยปรับขึ้นจาก 51.7% ในเดือนก.พ. ส่วนสัดส่วนการถือครองเงินสดดิ่งลงสู่จุดต่ำสุดรอบ 17 เดือนที่ 3.0% ในเดือน มี.ค. จาก 4.3% ในเดือนก.พ.
สัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทรงตัวที่ 1.9% ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำตัวเลขนี้ในปี 2010 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นเพิ่มความระมัดระวังอย่างเห็นได้ชัดต่อการลงทุนในตราสารหนี้บางประเภท โดยปรับลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ญี่ปุ่นลงสู่ 37.0% ของพอร์ทลงทุนในตราสารหนี้ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2011 และปรับลงจาก 39.7% ในเดือนก.พ. ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนมี.ค.
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ระดับใกล้ 0.5% ในวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะปรับ เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีเข้าซื้อ JGB เพิ่มเติม และขยายมาตรการเข้าซื้อให้ครอบคลุมไปถึง JGB ที่มีกำหนดไถ่ถอนยาวนานกว่าเดิมด้วย
ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้อเมริกาเหนือขึ้นสู่ 29.8% ของพอร์ทลงทุนในตราสารหนี้ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 15 เดือน และปรับขึ้นจาก 29.4% ในเดือนก.พ.
อัตราผลตอบแทน JGB ร่วงลงมาแล้วอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ต้นปีนี้โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า บีโอเจจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าสเปรด (ส่วนต่าง) ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภท 10 ปีกับ JGB พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า1.40% ในช่วงต้นเดือนนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2011
ค่าสเปรดดังกล่าวทะยานขึ้นจากระดับต่ำกว่า 1.00 % ในช่วงต้นปีนี้และส่งผลให้พันธบัตรสหรัฐมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนบางรายกล่าวว่า ราคา JGB มีแนวโน้มที่จะได้รับแรงหนุนในช่วงนี้ เนื่องจากบีโอเจมีแนวโน้มที่จะประกาศเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมอีก หลังจากที่บีโอเจได้วางแผนไปแล้วว่า บีโอเจจะเข้าซื้อ
JGB ในปริมาณที่สูงกว่า 40 ล้านล้านเยน (4.25 แสนล้านดอลลาร์) ในปีนี
นายยุอิชิ โคดามะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเมอิจิ ยาสุดะ ไลฟ์กล่าวว่า "เราคาดว่า บีโอเจจะขยายขนาดโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ให้สูงขึ้นอีก 20 ล้านล้านเยน และจะขยายการเข้าซื้อนี้ให้ครอบคลุมไปถึงพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีด้วย โดยบีโอเจจะประกาศเรื่องนี้ออกมาในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งแรกของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะผู้ว่าการบีโอเจในวันที่ 3-4 เม.ย."
นายโคดามะกล่าวว่า "สำหรับในช่วงนี้นั้น นักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาวะตึงตัวในสมดุลด้านอุปสงค์-อุปทานในตลาด และมีแนวโน้มว่าอัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีอาจปรับเข้าสู่ 0.5%"
ภายในพอร์ทลงทุนหุ้นนั้น ผู้จัดการกองทุนญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นยูโรโซนขึ้นสู่ 12.2% ในเดือนมี.ค.ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 1 ปีโดยปรับขึ้นจาก 10.6% ในเดือนก.พ. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนลดความกังวลเรื่องวิกฤติหนี้ยูโรโซนลง
นักลงทุนปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐ/แคนาดาลงสู่สถิติต่ำสุดที่30.2% ในเดือนมี.ค. จาก 30.8% ในเดือนก.พ. และคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นไว้ที่ 34.6%
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak