บริษัทลิปเปอร์ในเครือธอมสัน รอยเตอร์รายงานว่า กองทุนในสหรัฐที่ลงทุนในหุ้นมียอดเงินลงทุนไหลเข้าเพียง 1.9 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันพุธที่ 20 มี.ค. ขณะที่ความกังวลเรื่องภาระหนี้ของไซปรัสส่งผลกระทบต่อความต้องการลงทุนในหุ้นต่างชาติ
ทั้งนี้ ลิปเปอร์จัดทำรายงานรายสัปดาห์โดยรวบรวมข้อมูลมาจากกองทุน ETF และกองทุนรวมที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ โดยตัวเลขของETF มักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ในขณะที่ตัวเลขของกองทุนรวมมักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย
การชะลอการลงทุนในสัปดาห์ล่าสุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากนักลงทุนทุ่มเงิน 1.126 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่กองทุนหุ้นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค. เพื่อฉวยประโยชน์จากการที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกนานติดต่อกัน 9 วัน
มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่กองทุนที่ลงทุนในหุ้นนอกสหรัฐเพียง297 ล้านดอลลาร์เท่านั้นในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากที่มีเงินไหลเข้าสู่กองทุนกลุ่มนี้สูงถึง 2.54 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค. โดยปริมาณเงินที่ลดลงนี้มีสาเหตุมาจากการที่ไซปรัสซึ่งเป็น 1 ใน 17 ประเทศสมาชิกยูโรโซน มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้
นายเจฟฟ์ เทิร์นฮอย หัวหน้าฝ่ายวิจัยทวีปอเมริกาของลิปเปอร์กล่าวว่า ข่าวเรื่องไซปรัสในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความต้องการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างชาติ
กองทุน ETF ที่ลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ได้รับความเสียหายมากเป็นพิเศษ โดยมีเงินลงทุนไหลออกจากกองทุนกลุ่มนี้1.36 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินไหลเข้า 854 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงจากสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ีผ่านมา แต่กองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐก็ดึงดูดเงินลงทุนได้ 1.58 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากความต้องการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสหรัฐ กองทุนรวมหุ้นสหรัฐดึงดูดเงินลงทุนได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี กองทุน ETF หุ้นสหรัฐมีเงินลงทุนไหลออก 10.3 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินไหลเข้า 7.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.
ดัชนีดาวโจนส์ปรับขึ้น 0.4 % ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่20 มี.ค. ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.27 % โดยความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติไซปรัสส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนั้น
ความวิตกเรื่องไซปรัสทำให้นักลงทุนมีเหตุผลที่จะลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัย โดยกองทุนตราสารหนี้ที่ต้องเสียภาษีมีเงินไหลเข้า 5.2 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินไหลเข้า1.23 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
กองทุนหุ้นกู้เอกชนเกรดน่าลงทุนมีเงินไหลเข้า 2.35 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2012ในขณะที่นักลงทุนต้องการซื้อตราสารหนี้คุณภาพสูง
ปริมาณเงินไหลเข้านี้ครอบคลุมปริมาณเงิน 1.55 พันล้านดอลลาร์ที่ไหลเข้าสู่กองทุนสินเชื่อเอกชน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่โดยกองทุนประเภทนี้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ "อัตราดอกเบี้ยลอยตัว"ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสกัดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมักปรับตัวสูงขึ้น
กองทุนจังค์บอนด์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงสูงมีเงินไหลเข้าเพียง 200.9 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด โดยกองทุนกลุ่มนี้มียอดเงินไหลเข้าเพียง 2 สัปดาห์ในช่วง 7 สัปดาห์ที่ผ่านมา
กองทุนตลาดเงินมีเงินไหลออก 2.554 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด ในขณะที่นักลงทุนสถาบันถอนเงินลงทุนออกไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนรายย่อยนำเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์เข้ามาลงทุนในกองทุนตลาดเงิน โดยกองทุนตลาดเงินเป็นกองทุนประเภทที่มีความเสี่ยงต่ำและลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้น
ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มี.ค.นั้น ยูโรโซนระบุว่าจะจัดหาสินเชื่อ 1 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ให้แก่ไซปรัส แต่ไซปรัสจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีเงินฝากธนาคารในอัตรา6.75-9.9 %
รัฐสภาไซปรัสปฏิเสธมาตรการภาษีนี้ในเวลาต่อมา และส่งผลให้ไซปรัสมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการประกาศว่าอีซีบีมีภาระผูกพันในการจัดหาสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในไซปรัสภายใต้ข้อจำกัดบางประการ
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ ลิปเปอร์จัดทำรายงานรายสัปดาห์โดยรวบรวมข้อมูลมาจากกองทุน ETF และกองทุนรวมที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ โดยตัวเลขของETF มักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ในขณะที่ตัวเลขของกองทุนรวมมักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย
การชะลอการลงทุนในสัปดาห์ล่าสุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากนักลงทุนทุ่มเงิน 1.126 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่กองทุนหุ้นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค. เพื่อฉวยประโยชน์จากการที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกนานติดต่อกัน 9 วัน
มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่กองทุนที่ลงทุนในหุ้นนอกสหรัฐเพียง297 ล้านดอลลาร์เท่านั้นในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากที่มีเงินไหลเข้าสู่กองทุนกลุ่มนี้สูงถึง 2.54 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค. โดยปริมาณเงินที่ลดลงนี้มีสาเหตุมาจากการที่ไซปรัสซึ่งเป็น 1 ใน 17 ประเทศสมาชิกยูโรโซน มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้
นายเจฟฟ์ เทิร์นฮอย หัวหน้าฝ่ายวิจัยทวีปอเมริกาของลิปเปอร์กล่าวว่า ข่าวเรื่องไซปรัสในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความต้องการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างชาติ
กองทุน ETF ที่ลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ได้รับความเสียหายมากเป็นพิเศษ โดยมีเงินลงทุนไหลออกจากกองทุนกลุ่มนี้1.36 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินไหลเข้า 854 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงจากสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ีผ่านมา แต่กองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐก็ดึงดูดเงินลงทุนได้ 1.58 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากความต้องการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสหรัฐ กองทุนรวมหุ้นสหรัฐดึงดูดเงินลงทุนได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี กองทุน ETF หุ้นสหรัฐมีเงินลงทุนไหลออก 10.3 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินไหลเข้า 7.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.
ดัชนีดาวโจนส์ปรับขึ้น 0.4 % ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่20 มี.ค. ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.27 % โดยความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติไซปรัสส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนั้น
ความวิตกเรื่องไซปรัสทำให้นักลงทุนมีเหตุผลที่จะลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัย โดยกองทุนตราสารหนี้ที่ต้องเสียภาษีมีเงินไหลเข้า 5.2 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินไหลเข้า1.23 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
กองทุนหุ้นกู้เอกชนเกรดน่าลงทุนมีเงินไหลเข้า 2.35 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2012ในขณะที่นักลงทุนต้องการซื้อตราสารหนี้คุณภาพสูง
ปริมาณเงินไหลเข้านี้ครอบคลุมปริมาณเงิน 1.55 พันล้านดอลลาร์ที่ไหลเข้าสู่กองทุนสินเชื่อเอกชน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่โดยกองทุนประเภทนี้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ "อัตราดอกเบี้ยลอยตัว"ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสกัดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมักปรับตัวสูงขึ้น
กองทุนจังค์บอนด์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงสูงมีเงินไหลเข้าเพียง 200.9 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด โดยกองทุนกลุ่มนี้มียอดเงินไหลเข้าเพียง 2 สัปดาห์ในช่วง 7 สัปดาห์ที่ผ่านมา
กองทุนตลาดเงินมีเงินไหลออก 2.554 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด ในขณะที่นักลงทุนสถาบันถอนเงินลงทุนออกไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนรายย่อยนำเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์เข้ามาลงทุนในกองทุนตลาดเงิน โดยกองทุนตลาดเงินเป็นกองทุนประเภทที่มีความเสี่ยงต่ำและลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้น
ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มี.ค.นั้น ยูโรโซนระบุว่าจะจัดหาสินเชื่อ 1 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ให้แก่ไซปรัส แต่ไซปรัสจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีเงินฝากธนาคารในอัตรา6.75-9.9 %
รัฐสภาไซปรัสปฏิเสธมาตรการภาษีนี้ในเวลาต่อมา และส่งผลให้ไซปรัสมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการประกาศว่าอีซีบีมีภาระผูกพันในการจัดหาสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในไซปรัสภายใต้ข้อจำกัดบางประการ
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak