ตั้ง 14 ทีมเจรจา หาข้อมูลแต่ละกลุ่ม กำหนดท่าทีเจรจา FTA ไทย-อียู ก่อนบินถกนัดแรก พ.ค.นี้ ที่บรัสเซลส์
นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมท่าทีในการเจรจา FTA กับอียู โดยได้แต่งตั้งหัวหน้าทีมเจรจาจำนวน 14 คณะ ให้ไปหารือ เจรจา รับฟังความคิดเห็นจากแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับทราบถึงผลดี ผลเสีย ผลกระทบที่จะมีต่อภาคประชาชน ผู้บริโภค ผู้ผลิต รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการดูแลผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ทำข้อสรุปเป็นท่าทีในเรื่องต่างๆ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะเจรจาชุดใหญ่ ก่อนที่จะเดินทางไปเจรจากับอียูที่จะมีขึ้นครั้งแรกในช่วงเดือน พ.ค. 2556 ที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
สำหรับ 14 หัวข้อที่จะมีหัวหน้าทีมเจรจาเข้าไปดูแล ได้แก่ 1. กลุ่มเจรจาการเปิดตลาดสินค้า 2. กลุ่มเจรจากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 3. กลุ่มเจรจาความร่วมมือทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4. กลุ่มเจรจาอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) 5. กลุ่มเจรจามาตรการเยียวยาทางการค้า 6. กลุ่มเจรจามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) 7. กลุ่มเจรจาการค้าบริการ 8. กลุ่มเจรจาการลงทุน 9. กลุ่มเจรจาการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 10. กลุ่มเจรจาทรัพย์สินทางปัญญา 11. กลุ่มเจรจานโยบายแข่งขัน 12. กลุ่มเจรจากลไกการระงับข้อพิพาท 13. กลุ่มเจรจาการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 14. กลุ่มเจรจาความโปร่งใสและการบริหารจัดการความตกลง
ส่วนประเด็นอ่อนไหวที่มีหลายกลุ่มแสดงความกังวล ทั้งการเจรจาลดภาษีสินค้าเหล้าและบุหรี่ หรือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา ไม่น่าจะเป็นปัญหา เพราะหัวหน้าทีมเจรจาในกลุ่มนี้ก็ต้องไปหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ใครมีปัญหาหรือมีข้อเสนออะไรก็สามารถมาหารือในกลุ่มนี้ได้ เพราะรัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มก่อนที่จะไปกำหนดท่าทีเจรจาต่อไป
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การเจรจา FTA ไทย-อียู จะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดอียูได้ต่อเนื่อง แม้ไทยจะถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ลงก็ตาม และยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากอียูมาไทยได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางเข้าสู่ตลาดอาเซียนที่กำลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ทั้งนี้ การเจรจา FTA ไทย-อียู มีเป้าหมายที่จะเจรจาให้จบภายใน 2 ปี หรือปี 2558 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายมานูเอล บารอสโซ นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมาธิการยุโรป ที่ได้มีการประกาศเริ่มต้นการเจรจาเมื่อครั้งเดินทางไปเยือนอียูอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2556 ที่ผ่านมา หลังจากที่ไทยได้มีการเตรียมการเรื่องนี้มานานกว่า 3 ปี
นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมท่าทีในการเจรจา FTA กับอียู โดยได้แต่งตั้งหัวหน้าทีมเจรจาจำนวน 14 คณะ ให้ไปหารือ เจรจา รับฟังความคิดเห็นจากแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับทราบถึงผลดี ผลเสีย ผลกระทบที่จะมีต่อภาคประชาชน ผู้บริโภค ผู้ผลิต รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการดูแลผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ทำข้อสรุปเป็นท่าทีในเรื่องต่างๆ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะเจรจาชุดใหญ่ ก่อนที่จะเดินทางไปเจรจากับอียูที่จะมีขึ้นครั้งแรกในช่วงเดือน พ.ค. 2556 ที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
สำหรับ 14 หัวข้อที่จะมีหัวหน้าทีมเจรจาเข้าไปดูแล ได้แก่ 1. กลุ่มเจรจาการเปิดตลาดสินค้า 2. กลุ่มเจรจากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 3. กลุ่มเจรจาความร่วมมือทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4. กลุ่มเจรจาอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) 5. กลุ่มเจรจามาตรการเยียวยาทางการค้า 6. กลุ่มเจรจามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) 7. กลุ่มเจรจาการค้าบริการ 8. กลุ่มเจรจาการลงทุน 9. กลุ่มเจรจาการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 10. กลุ่มเจรจาทรัพย์สินทางปัญญา 11. กลุ่มเจรจานโยบายแข่งขัน 12. กลุ่มเจรจากลไกการระงับข้อพิพาท 13. กลุ่มเจรจาการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 14. กลุ่มเจรจาความโปร่งใสและการบริหารจัดการความตกลง
ส่วนประเด็นอ่อนไหวที่มีหลายกลุ่มแสดงความกังวล ทั้งการเจรจาลดภาษีสินค้าเหล้าและบุหรี่ หรือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา ไม่น่าจะเป็นปัญหา เพราะหัวหน้าทีมเจรจาในกลุ่มนี้ก็ต้องไปหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ใครมีปัญหาหรือมีข้อเสนออะไรก็สามารถมาหารือในกลุ่มนี้ได้ เพราะรัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มก่อนที่จะไปกำหนดท่าทีเจรจาต่อไป
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การเจรจา FTA ไทย-อียู จะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดอียูได้ต่อเนื่อง แม้ไทยจะถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ลงก็ตาม และยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากอียูมาไทยได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางเข้าสู่ตลาดอาเซียนที่กำลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ทั้งนี้ การเจรจา FTA ไทย-อียู มีเป้าหมายที่จะเจรจาให้จบภายใน 2 ปี หรือปี 2558 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายมานูเอล บารอสโซ นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมาธิการยุโรป ที่ได้มีการประกาศเริ่มต้นการเจรจาเมื่อครั้งเดินทางไปเยือนอียูอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2556 ที่ผ่านมา หลังจากที่ไทยได้มีการเตรียมการเรื่องนี้มานานกว่า 3 ปี