xs
xsm
sm
md
lg

รฟม.ปัดออกแบบสถานีสีส้มเอื้อเอกชน ยันไม่มีทางเลือกเทคนิคบีบยึดตามแผนแม่บท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รฟม.แจงออกแบบรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแผนแม่บทที่มีมากว่า 10 ปี ไม่ได้ดูว่าเป็นที่ดินของใคร ยันเทคนิคบีบ ทางโค้งและต้องเลี่ยงอุโมงค์ระบายน้ำ กทม. เวนคืนนตามความจำเป็นเพื่อจัดพื้นที่รองรับรถสาธารณะและรถส่วนตัวเพื่อการจอดรับส่ง ไม่ให้กระทบผิวถนน ลดปัญหาจราจร มั่นใจเจรจาได้ข้อยุติ เหตุจ่ายค่าเวนคืนบวกค่าเสียโอกาสสูงกว่าราคาตลาด 30% พร้อมจัดหาที่ค้าขายเยียวยาที่ดีกว่าเดิม  

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีประชาชนคัดค้านการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 35 กิโลเมตร มูลค่า 1.78 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้มีปัญหาใหญ่ 2 จุด คือ สถานีราชปรารถ และบริเวณชุมชนประชาสงเคราะห์ 21 ที่ชาวบ้านระบุว่าเวนคืนเกินความจำเป็นนั้น รฟม.ยืนยันว่าการออกแบบยึดตามแผนแม่บทที่มีมา 10 ปีแล้ว ไม่สนใจว่าเป็นที่ของใครไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ใคร

ทั้งนี้ สถานีสายสีส้มจะมีรูปแบบทางเข้าออกที่มีพื้นที่รองรับสำหรับให้รถส่วนตัว รถสาธารณะสามารเข้าไปจอดรับส่งผู้โดยสารโดยไม่กระทบผิวจราจร จึงต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่มโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ไร่ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการก่อนที่จะออก พ.ร.ฎ.เวนคืน เพื่อสำรวจและให้ประชาชนมีส่วนร่วมก่อนที่จะประกาศจริง เพื่อเจรจากับผู้ถูกเวนคืนล่วงหน้า

โดยสถานีราชปรารภต้องเวนคืนฝั่งตรงข้ามโรงแรมอินทรา อาคารพาณิชย์ประมาณ รวม 80 หลังคาเรือน ระยะทาง 250 เมตร ซึ่งชาวบ้านเห็นว่ามากเกินความจำเป็นนั้น เป็นการเวนคินพื้นที่ตามเทคนิคการก่อสร้างเพราะเป็นทางโค้งและไม่ให้กระทบกับอุโมงค์ระบายน้ำของ กทม. และต้องขยับตำแหน่งสถานีให้มีระยะใกล้กับสถานีราชปรารภของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อของผู้โดยสาร

"ถนนราชปรารภกว้าง 18 เมตรขณะที่สถานีใต้ดินกว้าง 28 เมตร จึงต้องกินเข้าไปพื้นที่ด้านข้าง ซึ่งแนวโค้งเพื่อลดมุมหักศอกของทางเลี้ยวช่วงหัวมุมถนนและต้องสร้างคร่อมท่อระบายน้ำของหทม.ทำให้ต่องเบี่ยงเส้นทาง เวนคืนตึกแถวตั้งแต่ซอย 2 ติดกับวอเตอร์เกต รวม 80 หลัง นอกจากนี้ต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบเปิดหน้าดินแล้วกลบ (Cut &Cover) เพื่อบีบอุโมงค์ที่อยู่ระดับเดียวกันให้ชิดกัน เพราะไม่สามารถวางอุโมงค์ซ้อนกันได้ โดยจะเปิดหน้าดินระยะทาง 1.7 กม. และจะซอยสัญญารับเหมาหลายรายก่อสร้างพร้อมกันเพื่อเร่งก่อสร้างให้เร็วขึ้น" นายยงสิทธิ์กล่าว

ส่วนชุมชนประชาสงเคราะห์ 21 ต้องใช้วิธีเปิดหน้าดิน (Cut & Cover) ลึกประมาณ 8 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกับอุโมงค์ของสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมที่ออกแบบไว้รอเชื่อมอยู่ก่อนแล้วเป็นการออกแบบตามแนวเส้นทางในแผนแม่บท ทั้งนี้เพื่อเข้าสู่ศูนย์ซ่อมพระราม 9 ระยะทางช่วงนี้ประมาณ 2.5 กิโลเมตร โดยจะมีการเวนคืนประมาณ 210 ราย อย่างไรก็ตาม การปรับแบบทำได้ยาก แต่ยังมีเวลาเจรจาเพราะเป็นทั้ง 2 ช่วงอยู่ในเฟส 2 (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) ของการก่อสร้าง โดย หลักการเจรจากับผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากจ่ายค่าเวนคืนสูงกว่าราคาตลาดประมาณ 30% โดยเพิ่มค่าเสียโอกาส ค่ารื้อย้ายต่างๆ แล้วจะเจรจาในส่วนของค่าเยียวยาให้กับผู้ประกอบอาชีพค้าขายบนทางเท้า และอาคารพาณิชย์ต่างๆ โดยารสร้างอาคารบนพื้นดินบริเวณสถานี (ตัวสถานีอยู่ใต้ดิน) และแบ่งเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่าโดยให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับสิทธิ์เลือกพื้นที่และเช่าในราคาต่ำ ซึ่งมั่นใจว่าผู้ถูกเวนคืนจะยินยอม เพราะเป็นทำเลค้าขายที่ดีกว่าเดิม 

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มเฟสแรก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 17 กิโลเมตร ตามแผนจะเสนอ ครม.ในเดือนมิถุนายน 56 ประกวดราคาว่าจ้างผู้รับเหมาเดือนพฤศจิกายน 57 เริ่มก่อสร้างเดือนตุลาคม 57 คัดเลือกผู้เดินรถเดือนธันวาคม 56 เปิดเดินรถเดือนมกราคม 62 ส่วนเฟส 2 (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) ระยะทาง 19 กิโลเมตร เสนอ ครม.เดือนมิถุนายน 56 จ้้างผู้รับเหมาเดือนเมษายน 57 เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 58
กำลังโหลดความคิดเห็น