รถไฟความเร็วสูงเนื้อหอม “ชัชชาติ” เผยสเปนสนใจลงทุนระบบ นอกจากจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ระบุนายกฯ เยือนมาเลเซียเตรียมแผนก่อสร้างสะพาน 2 แห่งเชื่อม 2 ประเทศ ด้าน ร.ฟ.ท.ยื้อสรุปประมูลเดินรถสายสีแดง ที่ปรึกษาขอพิจารณาข้อมูลกรณีกรรมการทับซ้อนเข้าข่ายฮั้วประมูลหรือไม่อีก 1 สัปดาห์ “ประภัสร์” เผยล้มประมูลได้แต่ต้องยอมรับราคาที่เพิ่มขึ้นด้วย
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักลงทุนเอกชนผู้ผลิตรถไฟฟ้าจากหลายประเทศ ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส และล่าสุดผู้ประกอบการรถไฟความเร็วสูงจากสเปนให้ความสนใจเข้ามาร่วมในส่วนของระบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลจัดทำเป็นร่างพะราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 2 ล้านล้าบาท กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดนิทรรศการเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนและประชาชนในวันที่ 7-10 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ ส่วนการเดินทางไปประเทศมาเลเซียของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.พ.จะมีการหารือถึงการก่อสร้างสะพานถึง 2 แห่งในการเชื่อมโยงระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อเป็นการช่วยคมนาคมระหว่าง 2 ประเทศ
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคารถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ที่มีปัญหาการตีความกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกรรมการทับซ้อนกันว่า ล่าสุดที่ปรึกษาโครงการได้ขอเวลาพิจารณาอีก 1 สัปดาห์เพื่อความรอบคอบ และไม่สามารถเสนอข้อสรุปต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้
ทั้งนี้ ควรเดินหน้าการประกวดราคาสัญญาดังกล่าวต่อไป เพราะโครงการใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) จึงต้องยึดตามระเบียบการประกวดราคาของไจก้า ซึ่งไจก้าได้ยืนยันมาแล้วว่ากรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกรรมการทับซ้อนกันไม่ผิดระเบียบการประกวดราคาของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากกรรมการที่ทับซ้อนดังกล่าวเป็นเพียงกรรมการอิสระไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ซึ่งกระทรวงการคลังควรต้องออกมายอมรับว่าไม่ผิด และขั้นตอนเพิ่งผ่านการเปิดซองคุณสมบัติ ยังไม่เปิดซองเทคนิคกับราคา แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเขาจะฮั้วกัน
“อยากให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เพราะโครงการมีความล่าช้ากว่าแผนมา 2 ปีแล้ว และหากสุดท้ายบอร์ด ร.ฟ.ท.อาจมีมติให้ยกเลิกประกวดราคาสัญญา 3 และเปิดประกวดราคาใหม่ผมก็พร้อมยอมรับ เพียงแต่บอร์ดก็ต้องยอมรับด้วยว่าราคาก่อสร้างจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอีกมากเช่นกัน” นายประภัสร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เคยระบุว่าทาง ไจก้าแจ้งว่า ร.ฟ.ท.จะยกเลิกการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายประเทศญี่ปุ่น และไจก้ายืนยันว่ากรรมการที่ทับซ้อนกันคือกรรมการอิสระ มิใช่กรรมการบริหาร ดังนั้นจึงไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องถือตามหลักเกณฑ์ที่ไจก้ากำหนดเพราะเป็นเจ้าของเงินกู้ ขณะเดียวกัน ยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับด้วยว่าการประกวดราคาโครงการนี้ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์การประกวดราคาของสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะใช้เงินกู้ต่างประเทศ ดังนั้นหากไจก้ายืนยันว่าเป็นแค่กรรมการอิสระ คณะกรรมการประกวดราคาก็เห็นว่าไม่ผิดร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)
“จากที่กรรมการประกวดราคาดูแล้ว เป็นปัญหาเรื่องการตีความผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการที่ผู้ยื่นข้อเสนอใช้คำว่า outside directors เพราะยอมรับว่าคนไทยยังไม่ค่อยชินกับคำนี้ จึงไม่แน่ใจว่าเป็นกรรมการในลักษณะไหน ซึ่งทั้งไจก้าและผู้ยื่นข้อเสนอยืนยันว่าเป็นกรรมการอิสระในบริษัท ไม่ใช่กรรมการบริหารที่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ดังนั้นจะเป็นกรรมการซ้อนกัน 2 กลุ่ม ก็ไม่ใช่ปัญหา ไม่ถือว่าผิด TOR และเพื่อความรอบคอบได้ให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีปัญหายืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมาด้วย โดยรับรองว่าถ้าเกิดความเสียหายขึ้นจากกรณีนี้จะรับผิดชอบ” นายภากรณ์กล่าว
สำหรับเอกชนที่มีปัญหาการเป็นกรรมการทับซ้อนกันมี 2 กลุ่ม จากที่มายื่นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) และกลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักลงทุนเอกชนผู้ผลิตรถไฟฟ้าจากหลายประเทศ ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส และล่าสุดผู้ประกอบการรถไฟความเร็วสูงจากสเปนให้ความสนใจเข้ามาร่วมในส่วนของระบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลจัดทำเป็นร่างพะราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 2 ล้านล้าบาท กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดนิทรรศการเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนและประชาชนในวันที่ 7-10 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ ส่วนการเดินทางไปประเทศมาเลเซียของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.พ.จะมีการหารือถึงการก่อสร้างสะพานถึง 2 แห่งในการเชื่อมโยงระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อเป็นการช่วยคมนาคมระหว่าง 2 ประเทศ
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคารถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ที่มีปัญหาการตีความกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกรรมการทับซ้อนกันว่า ล่าสุดที่ปรึกษาโครงการได้ขอเวลาพิจารณาอีก 1 สัปดาห์เพื่อความรอบคอบ และไม่สามารถเสนอข้อสรุปต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้
ทั้งนี้ ควรเดินหน้าการประกวดราคาสัญญาดังกล่าวต่อไป เพราะโครงการใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) จึงต้องยึดตามระเบียบการประกวดราคาของไจก้า ซึ่งไจก้าได้ยืนยันมาแล้วว่ากรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกรรมการทับซ้อนกันไม่ผิดระเบียบการประกวดราคาของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากกรรมการที่ทับซ้อนดังกล่าวเป็นเพียงกรรมการอิสระไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ซึ่งกระทรวงการคลังควรต้องออกมายอมรับว่าไม่ผิด และขั้นตอนเพิ่งผ่านการเปิดซองคุณสมบัติ ยังไม่เปิดซองเทคนิคกับราคา แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเขาจะฮั้วกัน
“อยากให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เพราะโครงการมีความล่าช้ากว่าแผนมา 2 ปีแล้ว และหากสุดท้ายบอร์ด ร.ฟ.ท.อาจมีมติให้ยกเลิกประกวดราคาสัญญา 3 และเปิดประกวดราคาใหม่ผมก็พร้อมยอมรับ เพียงแต่บอร์ดก็ต้องยอมรับด้วยว่าราคาก่อสร้างจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอีกมากเช่นกัน” นายประภัสร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เคยระบุว่าทาง ไจก้าแจ้งว่า ร.ฟ.ท.จะยกเลิกการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายประเทศญี่ปุ่น และไจก้ายืนยันว่ากรรมการที่ทับซ้อนกันคือกรรมการอิสระ มิใช่กรรมการบริหาร ดังนั้นจึงไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องถือตามหลักเกณฑ์ที่ไจก้ากำหนดเพราะเป็นเจ้าของเงินกู้ ขณะเดียวกัน ยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับด้วยว่าการประกวดราคาโครงการนี้ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์การประกวดราคาของสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะใช้เงินกู้ต่างประเทศ ดังนั้นหากไจก้ายืนยันว่าเป็นแค่กรรมการอิสระ คณะกรรมการประกวดราคาก็เห็นว่าไม่ผิดร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)
“จากที่กรรมการประกวดราคาดูแล้ว เป็นปัญหาเรื่องการตีความผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการที่ผู้ยื่นข้อเสนอใช้คำว่า outside directors เพราะยอมรับว่าคนไทยยังไม่ค่อยชินกับคำนี้ จึงไม่แน่ใจว่าเป็นกรรมการในลักษณะไหน ซึ่งทั้งไจก้าและผู้ยื่นข้อเสนอยืนยันว่าเป็นกรรมการอิสระในบริษัท ไม่ใช่กรรมการบริหารที่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ดังนั้นจะเป็นกรรมการซ้อนกัน 2 กลุ่ม ก็ไม่ใช่ปัญหา ไม่ถือว่าผิด TOR และเพื่อความรอบคอบได้ให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีปัญหายืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมาด้วย โดยรับรองว่าถ้าเกิดความเสียหายขึ้นจากกรณีนี้จะรับผิดชอบ” นายภากรณ์กล่าว
สำหรับเอกชนที่มีปัญหาการเป็นกรรมการทับซ้อนกันมี 2 กลุ่ม จากที่มายื่นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) และกลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK