อาเซียนนัด 6 ประเทศคู่เจรจา หารือตั้งคณะเจรจาเพื่อวางกรอบและแนวทางการเปิดเสรี RCEP วันที่ 26-28 ก.พ.นี้ ลุยเจรจาทันที เน้นลดภาษีให้มากที่สุด เปิดเสรีให้มากที่สุด และเพิ่มประเด็นใหม่อย่างการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา คาดเจรจาจบภายในปี 58 ช่วงเดียวกับการเปิด AEC เผย RCEP จะเป็นตลาดที่ใหญ่มาก มีจีดีพีคิดเป็น 27% ของจีดีพีโลก
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26-28 ก.พ. 2556 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จะมีการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะเจรจาการค้าเสรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค หรือ RCEP Trade Negotiating Committee เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาความตกลงฯ รวมถึงการสรุปกรอบและแนวทางการเจรจาทั้งด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน
ทั้งนี้ RCEP จะเป็นความตกลงยุคใหม่ของอาเซียนที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่แล้ว 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และจะครอบคลุมทุกมิติในด้านการเข้าถึงตลาด
“อาเซียนตั้งเป้าที่จะลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน เช่น เรื่องนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา เข้าไปในความตกลงด้วย” นางพิรมลกล่าว
นางพิรมลกล่าวว่า ความตกลง RCEP เป็นข้อตกลงที่สำคัญของอาเซียนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก และจะเกิดผลประโยชน์ต่อไทยและอาเซียนอย่างมาก เนื่องจากตลาดจะใหญ่ขึ้นมาก ประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือคิดเป็น 49.3% ของประชากรทั้งโลก มี GPD รวมกันกว่า 17,100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 27% ของ GDP โลก ซึ่งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นับว่าเป็นทั้งคู่เจรจา คู่ค้าและตลาดส่งออกที่สำคัญของอาเซียน
นอกจากนี้ ในส่วนของประเทศไทย RCEP จะเป็นก้าวสำคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทยตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษา ขยายโอกาส และขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่สำคัญของประเทศ
ก่อนหน้านี้ ผู้นำอาเซียนได้ประกาศเจรจา RCEP ไว้เมื่อครั้งการประชุมผู้นำครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2555 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา โดยตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และที่ผ่านมา ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน และคณะทำงานทั้งด้านการค้าสินคน้า การค้าบริการ และการลงทุน ได้เริ่มมีการเจรจากันมาบ้างแล้ว
ความตกลง RCEP มีผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า การจัดทำข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 4.03% โดยสินค้าที่จะได้ประโยชน์ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก เป็นต้น
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26-28 ก.พ. 2556 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จะมีการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะเจรจาการค้าเสรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค หรือ RCEP Trade Negotiating Committee เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาความตกลงฯ รวมถึงการสรุปกรอบและแนวทางการเจรจาทั้งด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน
ทั้งนี้ RCEP จะเป็นความตกลงยุคใหม่ของอาเซียนที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่แล้ว 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และจะครอบคลุมทุกมิติในด้านการเข้าถึงตลาด
“อาเซียนตั้งเป้าที่จะลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน เช่น เรื่องนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา เข้าไปในความตกลงด้วย” นางพิรมลกล่าว
นางพิรมลกล่าวว่า ความตกลง RCEP เป็นข้อตกลงที่สำคัญของอาเซียนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก และจะเกิดผลประโยชน์ต่อไทยและอาเซียนอย่างมาก เนื่องจากตลาดจะใหญ่ขึ้นมาก ประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือคิดเป็น 49.3% ของประชากรทั้งโลก มี GPD รวมกันกว่า 17,100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 27% ของ GDP โลก ซึ่งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นับว่าเป็นทั้งคู่เจรจา คู่ค้าและตลาดส่งออกที่สำคัญของอาเซียน
นอกจากนี้ ในส่วนของประเทศไทย RCEP จะเป็นก้าวสำคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทยตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษา ขยายโอกาส และขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่สำคัญของประเทศ
ก่อนหน้านี้ ผู้นำอาเซียนได้ประกาศเจรจา RCEP ไว้เมื่อครั้งการประชุมผู้นำครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2555 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา โดยตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และที่ผ่านมา ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน และคณะทำงานทั้งด้านการค้าสินคน้า การค้าบริการ และการลงทุน ได้เริ่มมีการเจรจากันมาบ้างแล้ว
ความตกลง RCEP มีผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า การจัดทำข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 4.03% โดยสินค้าที่จะได้ประโยชน์ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก เป็นต้น