ผู้นำอาเซียนเตรียมประชุมสุดยอดวันที่ 16-20 พ.ย.นี้ เตรียมหารือเดินหน้า AEC พร้อมประกาศทำเขตการค้าเสรีอาเซียน+6 ประเทศ
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 21 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน
การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมสุดยอดครั้งที่สองของปีนี้ ซึ่งเป็นการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนและการหารือกับผู้นำของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สหรัฐอเมริกา ประเทศ +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ +8 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย) รวมทั้งผู้นำองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น UN, WTO, ADB, IMF และ World Bank และสภาที่ปรึกษาธุรกิจของอาเซียน (ABAC)
โดยก่อนหน้าการประชุมสุดยอดอาเซียนจะมีการประชุมเตรียมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการไปสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดลำดับความสำคัญของมาตรการที่ต้องให้ความสำคัญภายในปี 2015 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ให้แนวทางในเอกสารวาระพนมเปญว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Phnom Penh Agenda) ความคืบหน้าการพิจารณารับฮ่องกงเข้าเป็นภาคีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการติดตามความคืบหน้าการเจรจาการค้าบริการและการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-อินเดีย
สำหรับการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจมีกำหนดจะลงนามความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และพิธีสารภายใต้กรอบอาเซียน-จีน 2 ฉบับ คือ พิธีสารฉบับที่ 3 เพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-จีน และพิธีสารเพื่อผนวกข้อบทอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าสินค้า
นอกจากนี้ ผู้นำเซียนและผู้นำประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะประกาศเปิดการเจรจาการจัดทำความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือเรียกว่า “RCEP”) ซึ่งถือเป็นความตกลงที่มีผลกระทบสูง (high impact) ต่อเอเชียและแปซิฟิก ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่รวมกัน 3,358 ล้านคน และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย RCEP เป็นความตกลงที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่ 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ ให้เป็นความตกลงการค้าเสรีร่วมกันฉบับเดียว โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ครอบคลุมทุกมิติการค้า (สินค้า บริการ ลงทุน มาตรการการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ) หากการเจรจาประสบความสำเร็จ RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเจรจาได้ในต้นปี 2556 และมีเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2558 อันเป็นปีที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสที่ไทยจะจัดการประชุมและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า อาทิ การประชุมความร่วมมือข้าว 5 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) รวมทั้งจะมีการหารือระหว่างไทยกับ EABC (EU-ASEAN Business Council) ด้วย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยการจัดงานแสดงสินค้าไทยและจับคู่ทางธุรกิจ อันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการของไทยในกัมพูชา ทั้งนี้ ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยมูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 20.21 ของการค้าไทยกับทั่วโลก ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 21 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน
การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมสุดยอดครั้งที่สองของปีนี้ ซึ่งเป็นการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนและการหารือกับผู้นำของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สหรัฐอเมริกา ประเทศ +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ +8 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย) รวมทั้งผู้นำองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น UN, WTO, ADB, IMF และ World Bank และสภาที่ปรึกษาธุรกิจของอาเซียน (ABAC)
โดยก่อนหน้าการประชุมสุดยอดอาเซียนจะมีการประชุมเตรียมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการไปสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดลำดับความสำคัญของมาตรการที่ต้องให้ความสำคัญภายในปี 2015 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ให้แนวทางในเอกสารวาระพนมเปญว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Phnom Penh Agenda) ความคืบหน้าการพิจารณารับฮ่องกงเข้าเป็นภาคีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการติดตามความคืบหน้าการเจรจาการค้าบริการและการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-อินเดีย
สำหรับการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจมีกำหนดจะลงนามความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และพิธีสารภายใต้กรอบอาเซียน-จีน 2 ฉบับ คือ พิธีสารฉบับที่ 3 เพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-จีน และพิธีสารเพื่อผนวกข้อบทอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าสินค้า
นอกจากนี้ ผู้นำเซียนและผู้นำประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะประกาศเปิดการเจรจาการจัดทำความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือเรียกว่า “RCEP”) ซึ่งถือเป็นความตกลงที่มีผลกระทบสูง (high impact) ต่อเอเชียและแปซิฟิก ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่รวมกัน 3,358 ล้านคน และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย RCEP เป็นความตกลงที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่ 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ ให้เป็นความตกลงการค้าเสรีร่วมกันฉบับเดียว โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ครอบคลุมทุกมิติการค้า (สินค้า บริการ ลงทุน มาตรการการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ) หากการเจรจาประสบความสำเร็จ RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเจรจาได้ในต้นปี 2556 และมีเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2558 อันเป็นปีที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสที่ไทยจะจัดการประชุมและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า อาทิ การประชุมความร่วมมือข้าว 5 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) รวมทั้งจะมีการหารือระหว่างไทยกับ EABC (EU-ASEAN Business Council) ด้วย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยการจัดงานแสดงสินค้าไทยและจับคู่ทางธุรกิจ อันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการของไทยในกัมพูชา ทั้งนี้ ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยมูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 20.21 ของการค้าไทยกับทั่วโลก ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย