อาเซียนชงผู้นำไฟเขียวเปิดเจรจา RCEP ปลาย พ.ย.นี้ เปิดตัวกลุ่มการค้าเสรีใหญ่ที่สุด และมีตลาดรองรับมากที่สุดในโลก ตั้งเป้าเริ่มเจรจาต้นปี 56 เสร็จปี 58 พร้อมๆ กับเปิด AEC เผยการเปิดเสรีด้านการค้าไม่น่ามีปัญหา แต่ด้านบริการและการลงทุน อาจติดขัดบ้าง โชว์ผลศึกษาไทยได้ประโยชน์เพียบ การค้าเพิ่มแน่
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกอาเซียนได้เตรียมที่จะเสนอให้ผู้นำอาเซียนพิจารณาประกาศการเจรจาความตกลงภูมิภาคหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (RCEP) ซึ่งประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจากับอาเซียนอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนวันที่ 15-20 พ.ย. 2555 ที่กัมพูชา โดยจะถือว่าเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีสมาชิกรวม 16 ประเทศ มีประชากรซึ่งเป็นตลาดรองรับมากที่สุดในโลก และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ไฮไลต์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนปีนี้ น่าจะเป็นเรื่องการเปิดเสรีอาเซียน+6 หรือที่กลายมาเป็น RCEP ในขณะนี้ ซึ่งคงไม่มีปัญหาในการประกาศเปิดการเจรจา เพราะที่ผ่านมา สมาชิกอาเซียนได้มีการหารือกันมาบ้างแล้ว หลังจากที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้มีมติเห็นชอบไว้เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รอแค่ผู้นำเคาะในขั้นสุดท้าย ทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้ทันที”
นายสมเกียรติกล่าวว่า การเจรจาน่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2556 และตามแผนมีกำหนดเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่อาเซียนได้เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งกรอบในการเจรจาจะครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกมิติการค้า ทั้งการเปิดเสรีด้านการค้า การค้าบริการ การลงทุน มาตรการทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดเสรีจะยึดกรอบจาก FTA ที่อาเซียนมีกับประเทศคู่เจรจาเป็นหลัก และการเปิดเสรีจะไม่น้อยกว่าข้อตกลงเดิมที่มีอยู่
สำหรับผลการหารือในการเปิดเสรีเบื้องต้น การเปิดเสรีด้านการค้าน่าจะทำได้เร็วสุด เพราะการเปิดเสรีในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจาส่วนใหญ่ มีการเปิดเสรีเกือบเต็ม 100% กันแทบจะทุกประเทศแล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการเจรจา แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งขณะนี้การเจรจาในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจาบางประเทศ ก็ยังไม่ค่อยจะมีความคืบหน้า แต่เชื่อว่าเมื่อผู้นำมีนโยบายออกมาแล้ว ทุกอย่างก็น่าจะเร็วขึ้น
นายสมเกียรติกล่าวว่า การค้าขายของไทยกับกลุ่ม RCEP ปัจจุบันมีประมาณ 2.55 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 56% ของยอดรวมการค้าไทย ซึ่งหากมีการเปิดเสรี จะยิ่งทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าไปยังประเทศในกลุ่มได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังมีผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมฯ โดยพบว่า การจัดทำข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 4.03% โดยสินค้าที่จะได้ประโยชน์ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก เป็นต้น
ส่วนประเด็นที่ว่าการเจรจา RCEP กระทรวงพาณิชย์ต้องเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนหรือไม่ ไม่ต้องเสนอรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบอีก เนื่องจากได้เสนอและได้รับความเห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทยภายใต้การเจรจาอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่มไว้แล้วเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2552 ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกอาเซียนได้เตรียมที่จะเสนอให้ผู้นำอาเซียนพิจารณาประกาศการเจรจาความตกลงภูมิภาคหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (RCEP) ซึ่งประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจากับอาเซียนอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนวันที่ 15-20 พ.ย. 2555 ที่กัมพูชา โดยจะถือว่าเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีสมาชิกรวม 16 ประเทศ มีประชากรซึ่งเป็นตลาดรองรับมากที่สุดในโลก และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ไฮไลต์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนปีนี้ น่าจะเป็นเรื่องการเปิดเสรีอาเซียน+6 หรือที่กลายมาเป็น RCEP ในขณะนี้ ซึ่งคงไม่มีปัญหาในการประกาศเปิดการเจรจา เพราะที่ผ่านมา สมาชิกอาเซียนได้มีการหารือกันมาบ้างแล้ว หลังจากที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้มีมติเห็นชอบไว้เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รอแค่ผู้นำเคาะในขั้นสุดท้าย ทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้ทันที”
นายสมเกียรติกล่าวว่า การเจรจาน่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2556 และตามแผนมีกำหนดเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่อาเซียนได้เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งกรอบในการเจรจาจะครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกมิติการค้า ทั้งการเปิดเสรีด้านการค้า การค้าบริการ การลงทุน มาตรการทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดเสรีจะยึดกรอบจาก FTA ที่อาเซียนมีกับประเทศคู่เจรจาเป็นหลัก และการเปิดเสรีจะไม่น้อยกว่าข้อตกลงเดิมที่มีอยู่
สำหรับผลการหารือในการเปิดเสรีเบื้องต้น การเปิดเสรีด้านการค้าน่าจะทำได้เร็วสุด เพราะการเปิดเสรีในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจาส่วนใหญ่ มีการเปิดเสรีเกือบเต็ม 100% กันแทบจะทุกประเทศแล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการเจรจา แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งขณะนี้การเจรจาในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจาบางประเทศ ก็ยังไม่ค่อยจะมีความคืบหน้า แต่เชื่อว่าเมื่อผู้นำมีนโยบายออกมาแล้ว ทุกอย่างก็น่าจะเร็วขึ้น
นายสมเกียรติกล่าวว่า การค้าขายของไทยกับกลุ่ม RCEP ปัจจุบันมีประมาณ 2.55 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 56% ของยอดรวมการค้าไทย ซึ่งหากมีการเปิดเสรี จะยิ่งทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าไปยังประเทศในกลุ่มได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังมีผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมฯ โดยพบว่า การจัดทำข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 4.03% โดยสินค้าที่จะได้ประโยชน์ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก เป็นต้น
ส่วนประเด็นที่ว่าการเจรจา RCEP กระทรวงพาณิชย์ต้องเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนหรือไม่ ไม่ต้องเสนอรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบอีก เนื่องจากได้เสนอและได้รับความเห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทยภายใต้การเจรจาอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่มไว้แล้วเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2552 ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ