คำรณวิทย์สั่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนสหภาพฯ ประท้วงให้ “วิโรจน์” ลาออกจาก ผอ.กทท. ด้านสหภาพฯ กทท.ยืนคำเดิม “วิโรจน์” ต้องออก หากไม่ออกจะประชุมขับไล่ต่อเนื่อง
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (สร.กทท.) เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการ กทท. และให้ปลดออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีการประชุมกิจการสัมพันธ์วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ โดยคณะอนุกรรมการฯ ประกอบไปด้วยตัวแทนจากผู้บริหาร และกรรมการบอร์ด และสหภาพฯ กทท. โดยการพิจารณานั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบของ กทท.
ด้านนายจเร หมีดนุ ประธานสหภาพ สร.กทท. กล่าวว่า ข้อร้องเรียนของสหภาพฯ มีประมาณ 6-7 ข้อ โดยเรื่องหลักคือต้องการให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เช่น การพยายามจะต่อสู้เพื่อให้ศาลกลับคำตัดสินกรณีการจ่ายค่าล่วงเวลา (โอที) ตามกฎหมายให้พนักงานที่ฟ้องร้อง กทท.จำนวน 1,200 คน หลังจากก่อนหน้านี้ศาลได้พิจารณาจนถึงที่สุดแล้วว่าให้ กทท.จ่ายค่าโอทีตามที่กฎหมายกำหนดกับพนักงานรวม 37 คน คนละกว่า 1 ล้านบาท
“ก่อนหน้านี้มีพนักงานบางส่วนได้ฟ้องร้อง กทท.เพื่อให้จ่ายค่าโอทีตามที่กฎหมายกำหนด คือ อาจจะเป็นเท่าครึ่ง หรือสามเท่า เป็นต้น และศาลได้ตัดสินให้พนักงานชนะแล้ว และ กทท.ก็จ่ายให้พนักงานทั้งหมดไปแล้ว ต่อมาภายหลังมีพนักงานไปฟ้องร้องเพื่อขอค่าล่วงเวลาเพิ่มเติมอีก แต่ทางผู้บริหารไม่ยอมที่จะเจรจากับพนักงานในเรื่องดังกล่าว แต่กลับจะต่อสู้เพื่อให้ศาลกลับคำตัดสินใหม่ จึงทำให้พนักงานไม่พอใจในเรื่องนี้” นายจเรกล่าว
ทั้งนี้ ยืนยันว่าพนักงานต้องการจะเจรจาเรื่องดังกล่าวกับฝ่ายบริหารมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการเจรจา จนมาถึงสมัยเรือตรี วิโรจน์ ซึ่งพยายามจะกลั่นแกล้งพนักงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ถอนฟ้องในเรื่องดังกล่าว
และนอกจากเหตุผลดังกล่าวที่ส่งผลให้สหภาพฯ ตัดสินใจเรียกร้องให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ยังมีปัญหาการลดเวลาโอทีของพนักงานให้น้อยลง ขณะเดียวกันยังมีการตั้งกรรมการสอบพนักงานที่ยื่นฟ้องร้องเพื่อให้ถอนฟ้อง ใครไม่ยอมถอนฟ้องก็โดนกลั่นแกล้ง และยังมีปัญหาลูกของพนักงานที่ยื่นฟ้องบางคนสอบผ่าน และมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนเพื่อเตรียมจะเรียกเข้าทำงานใน กทท.แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่ถูก กทท.เรียกตัว แต่ข้ามไปเรียกคนที่ได้คะแนนน้อยกว่าให้เข้าไปทำงานแทน เนื่องจากไม่ยอมถอนฟ้อง จึงส่งผลให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และมีการร้องเรียนเข้ามายังสหภาพฯ อย่างต่อเนื่อง
ส่วนพนักงานที่ต้องการจะเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (Early Retire) เนื่องจากทำงานมานานมีอายุประมาณ 57-58 ปีแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เพราะถูกตั้งกรรมการสอบ เนื่องจากฟ้องร้อง กทท. โดยในช่วงเช้าของวันที่ 1 กุมภาพันธ์จะมีการประชุมกิจการสัมพันธ์ และนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาด้วย หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจะเข้าพบนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแล กทท.ให้รับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันที่จะให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม
“ตอนนี้คงถอยไม่ได้ ยังไงก็จะกดดันให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่ง หากยังไม่ลาออก ตอนนี้สหภาพฯ อยู่ระหว่างเปิดประชุมสามัญประจำปี ก็จะมีการประชุมต่อเนื่องเพื่อกดดันเหมือนวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา”
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (สร.กทท.) เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการ กทท. และให้ปลดออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีการประชุมกิจการสัมพันธ์วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ โดยคณะอนุกรรมการฯ ประกอบไปด้วยตัวแทนจากผู้บริหาร และกรรมการบอร์ด และสหภาพฯ กทท. โดยการพิจารณานั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบของ กทท.
ด้านนายจเร หมีดนุ ประธานสหภาพ สร.กทท. กล่าวว่า ข้อร้องเรียนของสหภาพฯ มีประมาณ 6-7 ข้อ โดยเรื่องหลักคือต้องการให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เช่น การพยายามจะต่อสู้เพื่อให้ศาลกลับคำตัดสินกรณีการจ่ายค่าล่วงเวลา (โอที) ตามกฎหมายให้พนักงานที่ฟ้องร้อง กทท.จำนวน 1,200 คน หลังจากก่อนหน้านี้ศาลได้พิจารณาจนถึงที่สุดแล้วว่าให้ กทท.จ่ายค่าโอทีตามที่กฎหมายกำหนดกับพนักงานรวม 37 คน คนละกว่า 1 ล้านบาท
“ก่อนหน้านี้มีพนักงานบางส่วนได้ฟ้องร้อง กทท.เพื่อให้จ่ายค่าโอทีตามที่กฎหมายกำหนด คือ อาจจะเป็นเท่าครึ่ง หรือสามเท่า เป็นต้น และศาลได้ตัดสินให้พนักงานชนะแล้ว และ กทท.ก็จ่ายให้พนักงานทั้งหมดไปแล้ว ต่อมาภายหลังมีพนักงานไปฟ้องร้องเพื่อขอค่าล่วงเวลาเพิ่มเติมอีก แต่ทางผู้บริหารไม่ยอมที่จะเจรจากับพนักงานในเรื่องดังกล่าว แต่กลับจะต่อสู้เพื่อให้ศาลกลับคำตัดสินใหม่ จึงทำให้พนักงานไม่พอใจในเรื่องนี้” นายจเรกล่าว
ทั้งนี้ ยืนยันว่าพนักงานต้องการจะเจรจาเรื่องดังกล่าวกับฝ่ายบริหารมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการเจรจา จนมาถึงสมัยเรือตรี วิโรจน์ ซึ่งพยายามจะกลั่นแกล้งพนักงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ถอนฟ้องในเรื่องดังกล่าว
และนอกจากเหตุผลดังกล่าวที่ส่งผลให้สหภาพฯ ตัดสินใจเรียกร้องให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ยังมีปัญหาการลดเวลาโอทีของพนักงานให้น้อยลง ขณะเดียวกันยังมีการตั้งกรรมการสอบพนักงานที่ยื่นฟ้องร้องเพื่อให้ถอนฟ้อง ใครไม่ยอมถอนฟ้องก็โดนกลั่นแกล้ง และยังมีปัญหาลูกของพนักงานที่ยื่นฟ้องบางคนสอบผ่าน และมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนเพื่อเตรียมจะเรียกเข้าทำงานใน กทท.แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่ถูก กทท.เรียกตัว แต่ข้ามไปเรียกคนที่ได้คะแนนน้อยกว่าให้เข้าไปทำงานแทน เนื่องจากไม่ยอมถอนฟ้อง จึงส่งผลให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และมีการร้องเรียนเข้ามายังสหภาพฯ อย่างต่อเนื่อง
ส่วนพนักงานที่ต้องการจะเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (Early Retire) เนื่องจากทำงานมานานมีอายุประมาณ 57-58 ปีแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เพราะถูกตั้งกรรมการสอบ เนื่องจากฟ้องร้อง กทท. โดยในช่วงเช้าของวันที่ 1 กุมภาพันธ์จะมีการประชุมกิจการสัมพันธ์ และนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาด้วย หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจะเข้าพบนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแล กทท.ให้รับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันที่จะให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม
“ตอนนี้คงถอยไม่ได้ ยังไงก็จะกดดันให้เรือตรี วิโรจน์ ลาออกจากตำแหน่ง หากยังไม่ลาออก ตอนนี้สหภาพฯ อยู่ระหว่างเปิดประชุมสามัญประจำปี ก็จะมีการประชุมต่อเนื่องเพื่อกดดันเหมือนวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา”