เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก. ตอนที่ 3 (9 มกราคม 2556)
และเมื่อช่วงต้นปี 2013 ช่วงสัปดาห์แรกมีสัญญาณการปรับตัวขึ้นของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาอีกไม่นานนี้ และประกอบกับ ประธานของ FED ได้ออกมาประการว่าจะคงการใช้มาตรการ QE ถึงปลายปี 2013 และจะมีแนวโน้มการกลับมาของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เองจะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรประเภทระยะกลางและระยะยาวของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มขาดทุนจาก ราคาของตราสาร(Mark to Market) จะมีผลที่ตามมา 2 ประการด้วยกันคือ
1.การขาดทุนของผู้ถือกองทุนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาจากการ Mark to Market.
2.การลดมูลค่าลงของพันธบัตรสหรัฐอเมริกาที่ถือครองโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ(จะเป็นผลให้เงินสกุลที่มีทิศทางตรงข้ามกับเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและธนาคารกลางเข้าแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์เพิ่มขึ้น)
สิ่งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของนักลงทุนและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund) มาสู่ตลาด Emerging Bond. แต่ลักษณะการเข้ามาลงทุนเป็นแบบการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าการเข้ามาลงทุนจากผลตอบแทนในพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางของแต่ละประเทศนั้นมีแนวโน้มการรับมือด้วยการปรับพอร์ตโฟลิโอ ด้วยการลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มาเป็นถือครองสกุลเงินอื่นที่สำคัญ และมีการเข้าถือทองคำเพิ่มขึ้น
มีการตั้งคำถามว่าแนวโน้มราคาทองคำเป็นอย่างไร ลักษณะของการซื้อ-ขาย ,ลงทุน หรือ เก็งกำไรในทองคำนั้นมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ การซื้อ-ขายในทองคำ และการซื้อขายตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future)
ซึ่งผู้เล่นในตลาดทองคำมี 3 กลุ่มใหญ่คือ
1.นักลงทุนรายย่อย ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่มากในปัจจุบัน
2.ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
3. กองทุนต่างๆและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund)
ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้เล่นขนาดใหญ่จำนวนมากทำให้ไม่มีผู้ควบคุมตลาดได้อย่างแท้จริง แต่ขนาดของทองคำเมื่อเทียบกับตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future) มีขนาดต่างกัน 1:10-12 เท่า
ข้อมูลจากตลาด CME รายงานประจำสัปดาห์เมื่อ 3 เดือนก่อนแจ้งว่า นักลงทุนสถาบัน ( 8 ธนาคารใหญ่ของโลก ) ถือสถานะ Short ล่วงหน้าเป็นปริมาณ 58% ของสัญญา Gold Future ที่ซื้อขายในตลาด Comex ถ้าหากราคาทองคำปรับขึ้นจะทำให้ 8 ธนาคารนี้ขาดทุนมหาศาล จึงต้องกดราคาหรือเทขายออกมาเพื่อให้สามารถปิดสถานะ Short ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการปรับตัวลงของราคาทองคำครั้งนี้ทำให้สถานะ Short ของ 8 ธนาคารลดลงเหลือ 54% เป็นการปิดสถานะในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงเวลา 6เดือนที่ผ่านมา ทำให้มองได้ว่า ทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นรอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่สูงอีกครั้งหนึ่งในไม่ช้านี้ (ไม่ใช่ว่าราคาทองขึ้นเพราะ Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ วันต่อมา ราคาทองลงก็ออกมาบอกว่า Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ(ไม่ได้เขียนผิด)
T.Thammasak.
และเมื่อช่วงต้นปี 2013 ช่วงสัปดาห์แรกมีสัญญาณการปรับตัวขึ้นของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาอีกไม่นานนี้ และประกอบกับ ประธานของ FED ได้ออกมาประการว่าจะคงการใช้มาตรการ QE ถึงปลายปี 2013 และจะมีแนวโน้มการกลับมาของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เองจะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรประเภทระยะกลางและระยะยาวของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มขาดทุนจาก ราคาของตราสาร(Mark to Market) จะมีผลที่ตามมา 2 ประการด้วยกันคือ
1.การขาดทุนของผู้ถือกองทุนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาจากการ Mark to Market.
2.การลดมูลค่าลงของพันธบัตรสหรัฐอเมริกาที่ถือครองโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ(จะเป็นผลให้เงินสกุลที่มีทิศทางตรงข้ามกับเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและธนาคารกลางเข้าแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์เพิ่มขึ้น)
สิ่งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของนักลงทุนและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund) มาสู่ตลาด Emerging Bond. แต่ลักษณะการเข้ามาลงทุนเป็นแบบการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าการเข้ามาลงทุนจากผลตอบแทนในพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางของแต่ละประเทศนั้นมีแนวโน้มการรับมือด้วยการปรับพอร์ตโฟลิโอ ด้วยการลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มาเป็นถือครองสกุลเงินอื่นที่สำคัญ และมีการเข้าถือทองคำเพิ่มขึ้น
มีการตั้งคำถามว่าแนวโน้มราคาทองคำเป็นอย่างไร ลักษณะของการซื้อ-ขาย ,ลงทุน หรือ เก็งกำไรในทองคำนั้นมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ การซื้อ-ขายในทองคำ และการซื้อขายตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future)
ซึ่งผู้เล่นในตลาดทองคำมี 3 กลุ่มใหญ่คือ
1.นักลงทุนรายย่อย ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่มากในปัจจุบัน
2.ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
3. กองทุนต่างๆและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund)
ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้เล่นขนาดใหญ่จำนวนมากทำให้ไม่มีผู้ควบคุมตลาดได้อย่างแท้จริง แต่ขนาดของทองคำเมื่อเทียบกับตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future) มีขนาดต่างกัน 1:10-12 เท่า
ข้อมูลจากตลาด CME รายงานประจำสัปดาห์เมื่อ 3 เดือนก่อนแจ้งว่า นักลงทุนสถาบัน ( 8 ธนาคารใหญ่ของโลก ) ถือสถานะ Short ล่วงหน้าเป็นปริมาณ 58% ของสัญญา Gold Future ที่ซื้อขายในตลาด Comex ถ้าหากราคาทองคำปรับขึ้นจะทำให้ 8 ธนาคารนี้ขาดทุนมหาศาล จึงต้องกดราคาหรือเทขายออกมาเพื่อให้สามารถปิดสถานะ Short ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการปรับตัวลงของราคาทองคำครั้งนี้ทำให้สถานะ Short ของ 8 ธนาคารลดลงเหลือ 54% เป็นการปิดสถานะในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงเวลา 6เดือนที่ผ่านมา ทำให้มองได้ว่า ทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นรอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่สูงอีกครั้งหนึ่งในไม่ช้านี้ (ไม่ใช่ว่าราคาทองขึ้นเพราะ Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ วันต่อมา ราคาทองลงก็ออกมาบอกว่า Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ(ไม่ได้เขียนผิด)
T.Thammasak.