รฟม.เผยเซ็นทรัลเสนอขอเชื่อมพื้นที่เข้าสถานี รถไฟฟ้าสีม่วงและน้ำเงินรวม 5 จุด. ส่วนบิ๊กซี่สนใจใช้ที่จอดรถผุดซุปเปอร์มาร์เก็ต(เอ็กเพรส) "ยงสิทธิ์"ชี้ต้องเร่งวางแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง เน้นเปิดพื้นที่ใหม่เจรจาเจ้าของร่วมพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจให้รฟม.ต่อเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าเข้าไปในกับพื้นที่เช่น กลุ่มเซ็นทรัล เสนอขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับพื้นที่ของตัวเองรวม 5 จุด โดยอยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 2 จุด และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) 3 จุด ซึ่งบางจุดยังเป็นพื้นที่ว่างที่คาดว่าทางเซ็นทรัลจะมีการพัฒนาในอนาคต โดยจะเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีพระราม9 ของรถไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมกับเซ็นทรัลพระราม9 ทำให้ห้างมีคนเข้าไปใช้บริการจาก 2 หมื่นคนต่อวันเป็น 4 หมื่นคนต่อวัน นอกจากนี้ทางบิ๊กซี่ ยังแสดงความสนใจพื้นที่ในส่วนจอดรถหลังสถานี (Park&Ride) เพื่อตั้งบิ๊กซี่เอ็กเพรส เป็นต้น
"หลังจากนี้ การประสานหรือเจรจากับเจ้าของอาคารหรือที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าจะต้องทำก่อนเพื่อให้สามารถวางแผนในการเตรียมพื้นที่และออกแบบเผื่อพื้นที่เชิงพาณิชย์ไว้ได้อย่างเหมาะสม ต้องปรับแนวคิดจากเดิมที่รถไฟฟ้าวิ่งหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ซึ่งเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ที่ดินมีราคาแพง มาเป็นการวิ่งหาที่ว่างหรือหนาแน่นน้อย เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าและมีสิ่งอำนวยความสะดวก คนจะมาหา ช่วยลดต้นทุนโครงการลงด้วย"นายยงสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารถไฟฟ้า 6 สายของรฟม.ได้ออกแบบไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่จะมีที่ยังสามารถวางแผนตามแนวคิดดังกล่าวได้ คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี-) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ยังมีพื้นที่บางจุดหนาแน่นน้อย
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนารฟม.อย่างยั่งยืน นอกจากการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแล้วจะต้องเพิ่มรายได้โดยเพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เพิ่มรายได้จากร้านค้า โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งรฟม.มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงจะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาใหม่
นอกจากนี้จะต้องลดต้นทุน,ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้สัมปทานPPP,โอนหนี้สินกว่าแสนล้านบาทในส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา ซึ่งไม่คืนทุนและค่าเสื่อมราคาเพื่อให้มีกำไร,จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ 5 เรื่อง คือ บริษัทพัฒนาธุรกิจ (เช่าพื้นที่,โฆษณา) บริษัทเดินรถ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาและบริษัทบริหารการเชื่อมต่อและที่จอดรถ
ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และโฆษณาประมาณ 135 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลมีรายได้ประมาณ100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเพราะการเริ่มต้นหารายได้เชิงพาณิชย์ช้า มาคิดภายหลัง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าถึง 200 กิโลเมตร ตามแผนงานที่กำหนด เพราะรถไฟฟ้าจะมีถึง 200 สถานี ส่งผลให้มีรายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสารประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจให้รฟม.ต่อเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าเข้าไปในกับพื้นที่เช่น กลุ่มเซ็นทรัล เสนอขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับพื้นที่ของตัวเองรวม 5 จุด โดยอยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 2 จุด และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) 3 จุด ซึ่งบางจุดยังเป็นพื้นที่ว่างที่คาดว่าทางเซ็นทรัลจะมีการพัฒนาในอนาคต โดยจะเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีพระราม9 ของรถไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมกับเซ็นทรัลพระราม9 ทำให้ห้างมีคนเข้าไปใช้บริการจาก 2 หมื่นคนต่อวันเป็น 4 หมื่นคนต่อวัน นอกจากนี้ทางบิ๊กซี่ ยังแสดงความสนใจพื้นที่ในส่วนจอดรถหลังสถานี (Park&Ride) เพื่อตั้งบิ๊กซี่เอ็กเพรส เป็นต้น
"หลังจากนี้ การประสานหรือเจรจากับเจ้าของอาคารหรือที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าจะต้องทำก่อนเพื่อให้สามารถวางแผนในการเตรียมพื้นที่และออกแบบเผื่อพื้นที่เชิงพาณิชย์ไว้ได้อย่างเหมาะสม ต้องปรับแนวคิดจากเดิมที่รถไฟฟ้าวิ่งหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ซึ่งเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ที่ดินมีราคาแพง มาเป็นการวิ่งหาที่ว่างหรือหนาแน่นน้อย เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าและมีสิ่งอำนวยความสะดวก คนจะมาหา ช่วยลดต้นทุนโครงการลงด้วย"นายยงสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารถไฟฟ้า 6 สายของรฟม.ได้ออกแบบไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่จะมีที่ยังสามารถวางแผนตามแนวคิดดังกล่าวได้ คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี-) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ยังมีพื้นที่บางจุดหนาแน่นน้อย
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนารฟม.อย่างยั่งยืน นอกจากการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแล้วจะต้องเพิ่มรายได้โดยเพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เพิ่มรายได้จากร้านค้า โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งรฟม.มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงจะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาใหม่
นอกจากนี้จะต้องลดต้นทุน,ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้สัมปทานPPP,โอนหนี้สินกว่าแสนล้านบาทในส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา ซึ่งไม่คืนทุนและค่าเสื่อมราคาเพื่อให้มีกำไร,จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ 5 เรื่อง คือ บริษัทพัฒนาธุรกิจ (เช่าพื้นที่,โฆษณา) บริษัทเดินรถ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาและบริษัทบริหารการเชื่อมต่อและที่จอดรถ
ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และโฆษณาประมาณ 135 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลมีรายได้ประมาณ100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเพราะการเริ่มต้นหารายได้เชิงพาณิชย์ช้า มาคิดภายหลัง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าถึง 200 กิโลเมตร ตามแผนงานที่กำหนด เพราะรถไฟฟ้าจะมีถึง 200 สถานี ส่งผลให้มีรายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสารประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี