พนักงาน รฟม.แต่งดำยื่นบอร์ดปรับโครงสร้างเงินเดือน เผยวิศวกรแห่ลาออกไม่แก้ปัญหาหวั่นกระทบรถไฟฟ้า 10 สายแนjนอน ด้าน สนข.เสนอเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็น 2 ช่วง หลัง ส.ส.เพื่อไทยร้องขยายไปสุวินทวงศ์แทนมีนบุรี
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 55 พนักงาน รฟม.ได้พร้อมใจกันแต่งชุดดำเข้ายื่นหนังสือต่อนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เพื่อขอให้พิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานใหม่เนื่องจากโครงสร้างปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้มีพนักงานเริ่มลาออกโดยเฉพาะฝ่ายวิศวกรและเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานเพราะด้านเอนจิเนียมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย และในปี 56 จะเริ่มก่อสร้างเพิ่มอีก 3 สาย
ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟม.กล่าวว่า รฟม.มีพนักงานทั้งหมดเกือบ700 คน ช่วงที่ผ่านมามีพนักงานลาออกไปแล้ว 30 คนถือเป็นสัดส่วนที่สูง และเป็นฝ่ายวิศวะประมาณ 10 คนเพราะไม่สามารถรับภาวะเงินเดือนที่ต่ำได้ สหภาพฯ เห็นว่าหากปล่อยให้ภาวะสมองไหลมากขึ้นต่อไปจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายของรัฐบาลแน่ โดยขณะนี้ฝ่ายวิศวะที่มีจะต้องดูแลสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว รวมกว่า 13 สัญญาแล้ว
จึงได้ยื่นขอให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกินอื่น แต่ปรากฏว่าบอร์ดจะเสนอเรื่องไปกระทรวงการคลัง โดยระบุว่าเป็นข้อบังคับตาม พ.ร.บ.รฟม. ในขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2547 และปี 2550 มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยไม่ต้องเสนอไปที่คลัง และ รฟม.เป็น 1 ใน 13 รัฐวิสาหกิจที่สามารถปรับค่าจ้างได้เองตามมติ ครม.ปี 2546 พนักงานจึงเรียกร้องให้บอร์ดทบทวนและจะแต่งชุดดำทุกวันพฤหัสบดีด้วยเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์จนกว่าจะได้ข้อยุติ
ไม่ปรับแบบสีชมพู เล็งเพิ่มเส้นทางไปสุวินทวงศ์แทน
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ส.ในพื้นที่ต้องการให้เปลี่ยนสถานีปลายทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตรวงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท จากมีนบุรีเป็นสุวินทวงศ์อีกประมาณ 3-4 กิโลเมตรนั้น สนข.ได้เตรียมเสนอเป็นแผนเพิ่มเติม โดยก่อสร้างแยกจากแนวเส้นทางเดิม โดยพิจารณาจุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กับสุวินทวงศ์มากที่สุด โดยกำหนดให้มีสถานีร่วมเพื่อให้ผู้โดยสารเปลี่ยนเส้นทางเหมือนสถานีสยามฯ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณไม่มากและเปิดให้บริการได้พร้อมกับสายสีชมพูที่เป็นแนวเส้นทางเดิม
“เส้นทางเดิมไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ต้องก่อสร้างเพิ่มอีกเส้นทางแยกออกไปแทนเพราะหากเปลี่ยนเส้นทางจะต้องศึกษาใหม่ทำให้โครงการล่าช้า เพราะขณะนี้โครงการพร้อมนำเสนอเพื่อขออนุมัติประกวดราคาแล้ว โดย สนข.จะเร่งศึกษาเส้นทางเพิ่มควบคู่ไปซึ่งคาดว่าจะเสร็จพร้อมกัน” นายจุฬากล่าว
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 55 พนักงาน รฟม.ได้พร้อมใจกันแต่งชุดดำเข้ายื่นหนังสือต่อนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เพื่อขอให้พิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานใหม่เนื่องจากโครงสร้างปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้มีพนักงานเริ่มลาออกโดยเฉพาะฝ่ายวิศวกรและเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานเพราะด้านเอนจิเนียมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย และในปี 56 จะเริ่มก่อสร้างเพิ่มอีก 3 สาย
ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟม.กล่าวว่า รฟม.มีพนักงานทั้งหมดเกือบ700 คน ช่วงที่ผ่านมามีพนักงานลาออกไปแล้ว 30 คนถือเป็นสัดส่วนที่สูง และเป็นฝ่ายวิศวะประมาณ 10 คนเพราะไม่สามารถรับภาวะเงินเดือนที่ต่ำได้ สหภาพฯ เห็นว่าหากปล่อยให้ภาวะสมองไหลมากขึ้นต่อไปจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายของรัฐบาลแน่ โดยขณะนี้ฝ่ายวิศวะที่มีจะต้องดูแลสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว รวมกว่า 13 สัญญาแล้ว
จึงได้ยื่นขอให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกินอื่น แต่ปรากฏว่าบอร์ดจะเสนอเรื่องไปกระทรวงการคลัง โดยระบุว่าเป็นข้อบังคับตาม พ.ร.บ.รฟม. ในขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2547 และปี 2550 มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยไม่ต้องเสนอไปที่คลัง และ รฟม.เป็น 1 ใน 13 รัฐวิสาหกิจที่สามารถปรับค่าจ้างได้เองตามมติ ครม.ปี 2546 พนักงานจึงเรียกร้องให้บอร์ดทบทวนและจะแต่งชุดดำทุกวันพฤหัสบดีด้วยเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์จนกว่าจะได้ข้อยุติ
ไม่ปรับแบบสีชมพู เล็งเพิ่มเส้นทางไปสุวินทวงศ์แทน
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ส.ในพื้นที่ต้องการให้เปลี่ยนสถานีปลายทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตรวงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท จากมีนบุรีเป็นสุวินทวงศ์อีกประมาณ 3-4 กิโลเมตรนั้น สนข.ได้เตรียมเสนอเป็นแผนเพิ่มเติม โดยก่อสร้างแยกจากแนวเส้นทางเดิม โดยพิจารณาจุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กับสุวินทวงศ์มากที่สุด โดยกำหนดให้มีสถานีร่วมเพื่อให้ผู้โดยสารเปลี่ยนเส้นทางเหมือนสถานีสยามฯ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณไม่มากและเปิดให้บริการได้พร้อมกับสายสีชมพูที่เป็นแนวเส้นทางเดิม
“เส้นทางเดิมไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ต้องก่อสร้างเพิ่มอีกเส้นทางแยกออกไปแทนเพราะหากเปลี่ยนเส้นทางจะต้องศึกษาใหม่ทำให้โครงการล่าช้า เพราะขณะนี้โครงการพร้อมนำเสนอเพื่อขออนุมัติประกวดราคาแล้ว โดย สนข.จะเร่งศึกษาเส้นทางเพิ่มควบคู่ไปซึ่งคาดว่าจะเสร็จพร้อมกัน” นายจุฬากล่าว