รฟม.ลงนามสัญญาวางรางรถไฟฟ้าสีม่วง บมจ.อิตาเลี่ยนฯ ยอมลดค่าก่อสร้างเหลือ 3,585 ล. ขณะที่เล็งใช้วิธีพิเศษเรียก ช.การช่างเสนอราคาเดินรถและทำระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อเชื่อมช่วงเตาปูน-บางซื่อ 1 สถานี ส่วนงานจ้าง BMCL เดินรถสีม่วงบางใหญ่-บางซื่อ คาดชง ครม.เร็วๆ นี้ ภาพรวมก่อสร้างล่ากว่าแผน โดยงานคืบหน้า 50.05% เลื่อนเปิดให้บริการเป็นปลายปี 58 เผยปี 56 จ่อเปิดประมูลรถไฟฟ้าอีก 3 สาย วงเงินกว่า 2.3 แสนล้าน
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 6 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับ บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ในวงเงิน 3,585 ล้านบาท ลดลงจากราคาที่ บมจ.อิตาเลี่ยนไทยฯ เสนอมาที่ 4,142 ล้านบาท และต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ที่ 3,638 ล้านบาท โดยเป็นการก่อสร้างระบบรางตลอดสาย ระยะทางประมาณ 23 กม. รวมระบบรางจากสถานีบางซื่อถึงสถานีเตาปูน และภายในศูนย์ซ่อมบำรุงที่คลองบางไผ่ด้วย
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีความก้าวหน้ารวมร้อยละ 50.05 ล่าช้าจากแผนงานไปจากผลกระทบน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 จากการประเมินคาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดสายพร้อมเปิดให้บริการได้ช่วงปลายปี 2558 จากแผนแรกตั้งเป้าเปิดบริการปลายปี 2557 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้งานล่าช้าส่วนหนึ่งมาจากขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มงานในส่วนของสัญญาที่ 4 เป็นสัญญางานระบบและเดินรถที่ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือBMCL ชนะการประกวดราคา ยังอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติราคางานที่มีการต่อรองลดลงอยู่ที่ประมาณ 84,000 ล้านบาท จากที่บีเอ็มซีแอลเสนอมาในราคา 93,475 ล้านบาท ประกอบด้วยงานติดตั้งระบบ ซื้อรถไฟฟ้า เดินรถไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยต้องมีรถไฟฟ้าให้บริการ 21 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้
ทั้งนี้ โครงการนี้แบ่งสัญญาการประมูลเป็น 6 สัญญา สัญญา 1-2 เป็นการก่อสร้างทางวิ่งและสถานีจากเตาปูนถึงคลองบางไผ่ สัญญาที่ 3 เป็นการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่คลองบางไผ่ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1-3 ซึ่งเริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2552
สำหรับสัญญาที่ 5 ซึ่งเป็นงานเดินรถส่วนเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน กับสถานีเตาปูนของสายสีม่วง ระยะทางประมาณ 1 กม.นั้น ขณะนี้ รฟม.จะใช้วิธีพิเศษเรียก บมจ.ช.การช่างมาเจรจาเสนอราคาเพราะเป็นระยะทางเพียง 1 กม. ไม่มีเอกชนรายอื่นมายื่นข้อเสนอ โดยจะตกลงราคากับรายที่เปิดเดินรถเส้นทางต่อเชื่อมจะเหมาะสมที่สุด ขณะนี้ยังไม่ตั้งราคากลางตรงนี้ไว้ โดยจะรอให้ ช.การช่างเสนอราคาเข้ามา คาดว่าจะไม่มีปัญหาและเสร็จทันสัญญาอื่นๆ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายได้ โดย รฟม.จะพยายามให้ผู้โดยสารสามารถเดินรถผ่านทั้ง 2 ระบบได้โดยไม่ต้องเสียเวลาลงต่อขบวนรถ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 รฟม.ได้เตรียมเปิดประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงินกว่า 2.3 แสนล้านบาท ประกอบด้วย สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 36,382 ล้านบาท และสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 54,000 ล้านบาท โดยจะเสนอ ครม. ภายในปีนี้ และเปิดประกวดราคาช่วงต้นปี 2556 ส่วนสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ วงเงิน 143,043 ล้านบาท จะเสนอ ครม.ต้นปี 2556 และเปิดประกวดราคาปลายปี 2556
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 6 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับ บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ในวงเงิน 3,585 ล้านบาท ลดลงจากราคาที่ บมจ.อิตาเลี่ยนไทยฯ เสนอมาที่ 4,142 ล้านบาท และต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ที่ 3,638 ล้านบาท โดยเป็นการก่อสร้างระบบรางตลอดสาย ระยะทางประมาณ 23 กม. รวมระบบรางจากสถานีบางซื่อถึงสถานีเตาปูน และภายในศูนย์ซ่อมบำรุงที่คลองบางไผ่ด้วย
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีความก้าวหน้ารวมร้อยละ 50.05 ล่าช้าจากแผนงานไปจากผลกระทบน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 จากการประเมินคาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดสายพร้อมเปิดให้บริการได้ช่วงปลายปี 2558 จากแผนแรกตั้งเป้าเปิดบริการปลายปี 2557 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้งานล่าช้าส่วนหนึ่งมาจากขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มงานในส่วนของสัญญาที่ 4 เป็นสัญญางานระบบและเดินรถที่ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือBMCL ชนะการประกวดราคา ยังอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติราคางานที่มีการต่อรองลดลงอยู่ที่ประมาณ 84,000 ล้านบาท จากที่บีเอ็มซีแอลเสนอมาในราคา 93,475 ล้านบาท ประกอบด้วยงานติดตั้งระบบ ซื้อรถไฟฟ้า เดินรถไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยต้องมีรถไฟฟ้าให้บริการ 21 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้
ทั้งนี้ โครงการนี้แบ่งสัญญาการประมูลเป็น 6 สัญญา สัญญา 1-2 เป็นการก่อสร้างทางวิ่งและสถานีจากเตาปูนถึงคลองบางไผ่ สัญญาที่ 3 เป็นการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่คลองบางไผ่ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1-3 ซึ่งเริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2552
สำหรับสัญญาที่ 5 ซึ่งเป็นงานเดินรถส่วนเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน กับสถานีเตาปูนของสายสีม่วง ระยะทางประมาณ 1 กม.นั้น ขณะนี้ รฟม.จะใช้วิธีพิเศษเรียก บมจ.ช.การช่างมาเจรจาเสนอราคาเพราะเป็นระยะทางเพียง 1 กม. ไม่มีเอกชนรายอื่นมายื่นข้อเสนอ โดยจะตกลงราคากับรายที่เปิดเดินรถเส้นทางต่อเชื่อมจะเหมาะสมที่สุด ขณะนี้ยังไม่ตั้งราคากลางตรงนี้ไว้ โดยจะรอให้ ช.การช่างเสนอราคาเข้ามา คาดว่าจะไม่มีปัญหาและเสร็จทันสัญญาอื่นๆ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายได้ โดย รฟม.จะพยายามให้ผู้โดยสารสามารถเดินรถผ่านทั้ง 2 ระบบได้โดยไม่ต้องเสียเวลาลงต่อขบวนรถ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 รฟม.ได้เตรียมเปิดประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงินกว่า 2.3 แสนล้านบาท ประกอบด้วย สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 36,382 ล้านบาท และสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 54,000 ล้านบาท โดยจะเสนอ ครม. ภายในปีนี้ และเปิดประกวดราคาช่วงต้นปี 2556 ส่วนสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ วงเงิน 143,043 ล้านบาท จะเสนอ ครม.ต้นปี 2556 และเปิดประกวดราคาปลายปี 2556