ช.การช่างฮุบงานวางรางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) วงเงิน 2.4 พันล้าน ทิ้งห่างอิตาเลียนฯ และซิโน-ไทยขาดลอย รฟม.คาดเซ็นสัญญาและก่อสร้างต้นปี 56 ส่วนช่วงหมอชิต-คูคตต้องปรับราคาใหม่ เหตุขยายออกไปอีก 8 กม. คาดค่าก่อสร้างเพิ่มอีก 50%
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 2 (ระบบราง) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง แบริ่ง-สมุทราปราการ วงเงิน 2,406,666,819 บาท เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.คณะกรรมการฯ ได้เปิดซองข้อเสนอด้านราคา ผู้ยื่นข้อเสนอ 3 รายที่ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติและด้านเทคนิค ปรากฏว่า บมจ.ช.การช่างเสนอราคาต่ำสุด 2,465,006,800 บาท อันดับ 2 กิจการร่วมค้า STEC-AS เสนอ 2,625,785,000 บาท อันดับ 3 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคา 2,718,340,000 บาท
โดยจากนี้จะตรวจสอบความถูกต้องราคาว่าสอดคล้องกับเอกสารและเงื่อนไขหรือไม่เพื่อประเมินว่ารายใดเสนอราคาต่ำสุดอีกครั้ง และเจรจาต่อรองราคาให้อยู่ในกรอบราคากลาง โดยคาดว่าจะพิจารณาราคาเสร็จในเดือน ธ.ค.55 หรือไม่เกินเดือน ม.ค. 56 และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบได้ โดยคาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้รับเหมาได้และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนมีนาคม 56 ใช้เวลาก่อสร้าง 1,030 วัน
ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัญหาแรงงานไม่พออาจจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีหลายสายในช่วงนี้ จึงต้องเลือกบริษัทที่มีความสามารถและต้องติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด โดยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมสายสีม่วงเป็นส่วนที่ใช้แรงงานมากที่สุด
โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับตลอดสาย เริ่มต้นต่อจากแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามกแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง แยกเทพารักษ์ ปู่เจ้าสมิงพราย ตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด สิ้นสุดโครงการที่หน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 60
ส่วนสัญญา 1 (งานก่อสร้างทางยกระดับ) ซึ่ง บมจ.ช.การช่างเป็นผู้รับเหมา วงเงิน14,088.6 ล้านบาท มีความคืบหน้า 0.83% โดยอยู่ระหว่างการรื้อย้ายสาธารณูปโภค
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตรนั้น อยู่ระหว่างปรับกรอบวงเงินใหม่หลังจากที่มีการขยายเส้นทางจากสะพานใหม่-คูคต อีก 8 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าวงเงินจะเพิ่มอีก 40-50% เพราะมีปริมาณเนื้องานมากขึ้นจากการขยายเส้นทางและราคาเดิมคิดไว้ตั้งแต่ปี 49 จะต้องปรับเรื่องเงินเฟ้อ ค่าแรง 300 บาท โดยคาดว่าจะเสนอบอร์ดพิจารณาได้ในเดือน ธ.ค.นี้ก่อนเสนอ ครม.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงหมอชิต-สะพานใหม่จะปรับวงเงินเป็น 36,000 ล้านบาท ช่วงสะพานใหม่-คูคตวงเงินประมาณ 23,500 ล้านบาท
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 2 (ระบบราง) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง แบริ่ง-สมุทราปราการ วงเงิน 2,406,666,819 บาท เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.คณะกรรมการฯ ได้เปิดซองข้อเสนอด้านราคา ผู้ยื่นข้อเสนอ 3 รายที่ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติและด้านเทคนิค ปรากฏว่า บมจ.ช.การช่างเสนอราคาต่ำสุด 2,465,006,800 บาท อันดับ 2 กิจการร่วมค้า STEC-AS เสนอ 2,625,785,000 บาท อันดับ 3 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคา 2,718,340,000 บาท
โดยจากนี้จะตรวจสอบความถูกต้องราคาว่าสอดคล้องกับเอกสารและเงื่อนไขหรือไม่เพื่อประเมินว่ารายใดเสนอราคาต่ำสุดอีกครั้ง และเจรจาต่อรองราคาให้อยู่ในกรอบราคากลาง โดยคาดว่าจะพิจารณาราคาเสร็จในเดือน ธ.ค.55 หรือไม่เกินเดือน ม.ค. 56 และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบได้ โดยคาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้รับเหมาได้และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนมีนาคม 56 ใช้เวลาก่อสร้าง 1,030 วัน
ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัญหาแรงงานไม่พออาจจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีหลายสายในช่วงนี้ จึงต้องเลือกบริษัทที่มีความสามารถและต้องติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด โดยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมสายสีม่วงเป็นส่วนที่ใช้แรงงานมากที่สุด
โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับตลอดสาย เริ่มต้นต่อจากแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามกแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง แยกเทพารักษ์ ปู่เจ้าสมิงพราย ตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด สิ้นสุดโครงการที่หน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 60
ส่วนสัญญา 1 (งานก่อสร้างทางยกระดับ) ซึ่ง บมจ.ช.การช่างเป็นผู้รับเหมา วงเงิน14,088.6 ล้านบาท มีความคืบหน้า 0.83% โดยอยู่ระหว่างการรื้อย้ายสาธารณูปโภค
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตรนั้น อยู่ระหว่างปรับกรอบวงเงินใหม่หลังจากที่มีการขยายเส้นทางจากสะพานใหม่-คูคต อีก 8 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าวงเงินจะเพิ่มอีก 40-50% เพราะมีปริมาณเนื้องานมากขึ้นจากการขยายเส้นทางและราคาเดิมคิดไว้ตั้งแต่ปี 49 จะต้องปรับเรื่องเงินเฟ้อ ค่าแรง 300 บาท โดยคาดว่าจะเสนอบอร์ดพิจารณาได้ในเดือน ธ.ค.นี้ก่อนเสนอ ครม.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงหมอชิต-สะพานใหม่จะปรับวงเงินเป็น 36,000 ล้านบาท ช่วงสะพานใหม่-คูคตวงเงินประมาณ 23,500 ล้านบาท