พิลึก! ราคาข้าวเปลือกดิ่ง ทั้งๆ ที่เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ผู้ส่งออกแจงเป็นเพราะมีการระบายสต๊อกรัฐออกมา และเวียดนามลดค่าด่อง ทำไทยข้าวไทยราคาแพงขึ้น เลยต้องหันมากดราคารับซื้อจากชาวนา จนเป็นเหตุให้ออกมาประท้วง วงการค้าข้าวแฉกลับ ที่ประท้วงเพราะมีนักการเมืองท้องถิ่นหนุนหลัง ชาวนาไม่เดือดร้อนจริง เพราะรัฐชดเชยอยู่แล้ว ด้านหอการค้าระบุชาวนา โรงสี ไม่รู้จักเออีซี หวั่นทำไทยเสียท่าเวียดนามยึดตลาดข้าวอาเซียน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกของไทยลดลงอย่างมาก โดยราคาล่าสุด จากการสำรวจของกรมการค้าภายใน ณ วันที่ 21 ก.พ.2554 ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูการผลิต 2553/54 อยู่ที่ตันละ 12,650-14,000 บาท ลดลงจากต้นฤดูกาลในเดือนพ.ย.2553 ที่ตันละ 13,400-15,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้าปี 2553/54 ตันละ 8,400-8,500 บาท ลดลงจาก 8,800-9,300 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีปี 2553/54 ตันละ 10,400-12,000 บาท ลดลงจากตันละ 12,000-14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวปี 2553/54 ตันละ 13,500-16,000 บาท ลดลงจากตันละ 14,000-16,350 บาท
นางสาวกอบสุข เอี่ยวสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ราคาข้าวส่งออกของไทยอ่อนตัวลง เพราะเวียดนามลดค่าเงินด่องลง ส่งผลให้ช่องว่างของราคาข้าวไทย และข้าวเวียดนามสูงขึ้นถึงตันละ 60-80 เหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจุบันราคาข้าวสารขาว 5% ของไทยตันละประมาณ 520 เหรียญสหรัฐฯ แต่ของเวียดนามประมาณ 460 เหรียญสหรัฐฯ ทำให้ผู้ซื้อไม่สนใจซื้อข้าวไทย ที่ราคาสูงกว่า ประกอบกับ สต๊อกข้าวของรัฐบาลที่ระบายให้กับผู้ส่งออก จนถึงขณะนี้ก็ยังทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงกดราคาข้าวในตลาด รวมถึงกรณีที่อินโดนีเซีย ลดการซื้อข้าวจากไทยลงเหลือประมาณ 300,000 ตัน จากก่อนหน้าที่จะซื้อจากไทยสูงถึง 800,000 ตัน เพราะไทยไม่สามารถส่งมอบข้าวให้ทันภายในเดือน มี.ค.นี้ และหันไปซื้อจากเวียดนาม ที่ราคาต่ำกว่าแทน ขณะเดียวกัน การขายข้าวนึ่งของไทยยังมีน้อย จึงทำให้ราคาในประเทศไม่ขยับมากนัก
“มองว่า ราคาข้าวในประเทศจะดีขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.นี้ หลังจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเริ่มมากขึ้น เพราะหลายประเทศหมดฤดูการเก็บเกี่ยว และสต๊อกในประเทศเริ่มหมดแล้ว จึงหันมานำเข้าเพิ่มขึ้น” นางสาวกอบสุข กล่าว
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล ประธานกลุ่มโรงสีจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การที่ชาวนาที่จ.พระนครศรีอยุธยาประท้วง เพราะราคาข้าวในประเทศลดลงอย่างหนัก แต่ราคาพืชเกษตรอื่นปรับตัวขึ้น เพราะนโยบายข้าวของรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ปล่อยให้ตลาดข้าวเป็นของผู้ซื้อ เมื่อราคาในตลาดโลกลดลง ก็ปล่อยให้ผู้ส่งออก และพ่อค้ามากดราคารับซื้อจากชาวนา จนขณะนี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าตกลงเหลือเพียงตันละ 7,800-8,000 บาท จากก่อนหน้าอยู่ที่ตันละเกือบ 10,000 บาท ทั้งที่เป็นปลายฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ผลผลิตในนาจึงเหลือน้อย ราคาควรจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ราคาก็ยังตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้ ว่า ราคาข้าวในประเทศไม่ได้ตกลงมากนัก และชาวนาไม่ได้เสียประโยชน์ เพราะมีโครงการประกันรายได้ดูแลอยู่ ถึงราคาลง ก็ยังได้รับการชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป โดยการประท้วงครั้งนี้ น่าจะมีนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เบื้องหลัง ส่วนการเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มเงินประกันรายได้ข้าวเปลือกเจ้าจากตันละ 10,000 บาท เป็น 14,000 บาทนั้น ไม่มีเหตุผลเหมาะสม เพราะเป็นราคาที่สูงเกินจริง หากรัฐบาลเพิ่มราคาให้จริง จะทำให้ข้าวไทยแข่งขันได้ยากมากในตลาดโลก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เวียดนามลดค่าเงินด่องซ้ำอีก
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการศึกษา ผลกระทบของเออีซี ต่อเศรษฐกิจข้าวไทย ว่า การสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของชาวนาไทย และโรงสี ต่อการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) พบชาวนาทั้ง 100% ยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจรายละเอียดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงสีส่วนใหญ่ประมาณ 86.67% ตอบว่ารู้จักเออีซี และมีผู้เข้าใจรายละเอียดของเออีซีเพียง 10% เท่านั้น
ทั้งนี้ หากมองในแง่การส่งออกข้าวของไทยในตลาดอาเซียนที่มีเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญ พบว่า เวียดนามจะได้ประโยชน์จากเออีซีมากว่าไทย เพราะเวียดนาม ครองตลาดข้าวในหลายประเทศ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นผลมาจากการที่ชาวนาและโรงสีเกือบทั้งหมดไม่รู้จักและไม่เข้าใจเออีซี ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้การใช้ประโยชน์ของไทยเป็นไปไม่เต็มที่ ดังนั้น ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือเออีซี ผ่านการให้ความรู้แก่ชาวนาและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า หากไม่เร่งดำเนินการอาจมีข้าวจากประเทศอาเซียนเข้ามาแข่งขันกับข้าวไทยมากขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกของไทยลดลงอย่างมาก โดยราคาล่าสุด จากการสำรวจของกรมการค้าภายใน ณ วันที่ 21 ก.พ.2554 ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูการผลิต 2553/54 อยู่ที่ตันละ 12,650-14,000 บาท ลดลงจากต้นฤดูกาลในเดือนพ.ย.2553 ที่ตันละ 13,400-15,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้าปี 2553/54 ตันละ 8,400-8,500 บาท ลดลงจาก 8,800-9,300 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีปี 2553/54 ตันละ 10,400-12,000 บาท ลดลงจากตันละ 12,000-14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวปี 2553/54 ตันละ 13,500-16,000 บาท ลดลงจากตันละ 14,000-16,350 บาท
นางสาวกอบสุข เอี่ยวสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ราคาข้าวส่งออกของไทยอ่อนตัวลง เพราะเวียดนามลดค่าเงินด่องลง ส่งผลให้ช่องว่างของราคาข้าวไทย และข้าวเวียดนามสูงขึ้นถึงตันละ 60-80 เหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจุบันราคาข้าวสารขาว 5% ของไทยตันละประมาณ 520 เหรียญสหรัฐฯ แต่ของเวียดนามประมาณ 460 เหรียญสหรัฐฯ ทำให้ผู้ซื้อไม่สนใจซื้อข้าวไทย ที่ราคาสูงกว่า ประกอบกับ สต๊อกข้าวของรัฐบาลที่ระบายให้กับผู้ส่งออก จนถึงขณะนี้ก็ยังทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงกดราคาข้าวในตลาด รวมถึงกรณีที่อินโดนีเซีย ลดการซื้อข้าวจากไทยลงเหลือประมาณ 300,000 ตัน จากก่อนหน้าที่จะซื้อจากไทยสูงถึง 800,000 ตัน เพราะไทยไม่สามารถส่งมอบข้าวให้ทันภายในเดือน มี.ค.นี้ และหันไปซื้อจากเวียดนาม ที่ราคาต่ำกว่าแทน ขณะเดียวกัน การขายข้าวนึ่งของไทยยังมีน้อย จึงทำให้ราคาในประเทศไม่ขยับมากนัก
“มองว่า ราคาข้าวในประเทศจะดีขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.นี้ หลังจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเริ่มมากขึ้น เพราะหลายประเทศหมดฤดูการเก็บเกี่ยว และสต๊อกในประเทศเริ่มหมดแล้ว จึงหันมานำเข้าเพิ่มขึ้น” นางสาวกอบสุข กล่าว
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล ประธานกลุ่มโรงสีจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การที่ชาวนาที่จ.พระนครศรีอยุธยาประท้วง เพราะราคาข้าวในประเทศลดลงอย่างหนัก แต่ราคาพืชเกษตรอื่นปรับตัวขึ้น เพราะนโยบายข้าวของรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ปล่อยให้ตลาดข้าวเป็นของผู้ซื้อ เมื่อราคาในตลาดโลกลดลง ก็ปล่อยให้ผู้ส่งออก และพ่อค้ามากดราคารับซื้อจากชาวนา จนขณะนี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าตกลงเหลือเพียงตันละ 7,800-8,000 บาท จากก่อนหน้าอยู่ที่ตันละเกือบ 10,000 บาท ทั้งที่เป็นปลายฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ผลผลิตในนาจึงเหลือน้อย ราคาควรจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ราคาก็ยังตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้ ว่า ราคาข้าวในประเทศไม่ได้ตกลงมากนัก และชาวนาไม่ได้เสียประโยชน์ เพราะมีโครงการประกันรายได้ดูแลอยู่ ถึงราคาลง ก็ยังได้รับการชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป โดยการประท้วงครั้งนี้ น่าจะมีนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เบื้องหลัง ส่วนการเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มเงินประกันรายได้ข้าวเปลือกเจ้าจากตันละ 10,000 บาท เป็น 14,000 บาทนั้น ไม่มีเหตุผลเหมาะสม เพราะเป็นราคาที่สูงเกินจริง หากรัฐบาลเพิ่มราคาให้จริง จะทำให้ข้าวไทยแข่งขันได้ยากมากในตลาดโลก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เวียดนามลดค่าเงินด่องซ้ำอีก
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการศึกษา ผลกระทบของเออีซี ต่อเศรษฐกิจข้าวไทย ว่า การสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของชาวนาไทย และโรงสี ต่อการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) พบชาวนาทั้ง 100% ยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจรายละเอียดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงสีส่วนใหญ่ประมาณ 86.67% ตอบว่ารู้จักเออีซี และมีผู้เข้าใจรายละเอียดของเออีซีเพียง 10% เท่านั้น
ทั้งนี้ หากมองในแง่การส่งออกข้าวของไทยในตลาดอาเซียนที่มีเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญ พบว่า เวียดนามจะได้ประโยชน์จากเออีซีมากว่าไทย เพราะเวียดนาม ครองตลาดข้าวในหลายประเทศ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นผลมาจากการที่ชาวนาและโรงสีเกือบทั้งหมดไม่รู้จักและไม่เข้าใจเออีซี ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้การใช้ประโยชน์ของไทยเป็นไปไม่เต็มที่ ดังนั้น ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือเออีซี ผ่านการให้ความรู้แก่ชาวนาและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า หากไม่เร่งดำเนินการอาจมีข้าวจากประเทศอาเซียนเข้ามาแข่งขันกับข้าวไทยมากขึ้น