นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 73.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.ที่ 72.5 ถือว่าเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มั่นใจต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องได้ หลังจากที่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ส่งผลให้ทั้งประชาชน นักธุรกิจ เอกชนต่างมั่นใจว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพมั่นคงดีขึ้น ทำให้นโยบายทางเศรษฐกิจเดินหน้าเนื่อง สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นทางการเมืองที่สูงถึง 99 ดีขึ้นต่อเนื่อง และสูงที่สุดในรอบ 19 เดือน ตั้งแต่ ก.พ.58 ที่ผ่านมา และยังมีมุมมองในอนาคตว่าดัชนีฯ การเมืองจะทะลุ 100 จุด หรือที่ 101 สูงสุดในรอบ 18 เดือน
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลาย ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อภาคเกษตรและภาคครัวเรือนต่างจังหวัดเริ่มดีขึ้น อีกทั้งประชาชนยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะเน้นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังนี้ โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นต่อเนื่อง เดือน ส.ค.อยู่ที่ 62.2 จากเดือนก่อนที่ 61.4 รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต 6 เดือนข้างหน้าก็ดีขึ้นเช่นเดียวกันจาก 74.1 มาอยู่ที่ 75.3 เพราะผู้บริโภคยังหวังว่ารัฐบาลจะเร่งการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และการส่งออกกับการท่องเที่ยวจะดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากดัชนีการซื้อรถยนต์คันใหม่ การซื้อบ้านหลังใหม่ การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การลงทุนทำธุรกิจ ล้วนเพิ่มขึ้นทุกรายการ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสังเกตว่า แม้ประชาชนเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น แต่ยังเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะภาคแรงงาน จากการส่งออกที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ ทำให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาว่า ในภาคการผลิตนั้น อาจจะไม่มีการทำงานล่วงเวลา (โอที) ลดการทำงานลง ไปจนถึงมีการปลดการจ้างงาน จึงกังวลว่าจะตกงานในอนาคต สะท้อนได้จากอัตราการจ้างงานที่ลดลงจาก 56.1 เหลือ 55.5 แต่ทั้งนี้หอการค้ามองว่า เป็นเพียงการจ้างงานที่ช้าลงเท่านั้น ไม่ใช่การว่างงาน เพราะการส่งออกที่น้อยลง และการปรับโครงสร้างทางการผลิต และยังไม่มีสัญญาณจากภาคเอกชนในการที่จะปลดคนงานแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลาย ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อภาคเกษตรและภาคครัวเรือนต่างจังหวัดเริ่มดีขึ้น อีกทั้งประชาชนยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะเน้นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังนี้ โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นต่อเนื่อง เดือน ส.ค.อยู่ที่ 62.2 จากเดือนก่อนที่ 61.4 รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต 6 เดือนข้างหน้าก็ดีขึ้นเช่นเดียวกันจาก 74.1 มาอยู่ที่ 75.3 เพราะผู้บริโภคยังหวังว่ารัฐบาลจะเร่งการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และการส่งออกกับการท่องเที่ยวจะดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากดัชนีการซื้อรถยนต์คันใหม่ การซื้อบ้านหลังใหม่ การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การลงทุนทำธุรกิจ ล้วนเพิ่มขึ้นทุกรายการ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสังเกตว่า แม้ประชาชนเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น แต่ยังเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะภาคแรงงาน จากการส่งออกที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ ทำให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาว่า ในภาคการผลิตนั้น อาจจะไม่มีการทำงานล่วงเวลา (โอที) ลดการทำงานลง ไปจนถึงมีการปลดการจ้างงาน จึงกังวลว่าจะตกงานในอนาคต สะท้อนได้จากอัตราการจ้างงานที่ลดลงจาก 56.1 เหลือ 55.5 แต่ทั้งนี้หอการค้ามองว่า เป็นเพียงการจ้างงานที่ช้าลงเท่านั้น ไม่ใช่การว่างงาน เพราะการส่งออกที่น้อยลง และการปรับโครงสร้างทางการผลิต และยังไม่มีสัญญาณจากภาคเอกชนในการที่จะปลดคนงานแต่อย่างใด