นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโส ด้านวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยเดือนมิถุนายน 2559 ว่า อยู่ที่ระดับ 53 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 55 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยความรุนแรงของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 38 มองว่าเพิ่มขึ้น คาดว่าประชาชนร้อยละ 30 คาดว่าปัญหาทุจริตปีหน้าจะเท่าเดิม สาเหตุการทุจริตอันดับแรกกฎหมายเปิดโอกาสให้สามารถใช้ดุลพินิจที่เอื้อต่อการทุจริต รองลงมาความไม่เข้มงวดบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ และกระบวนการทางการเมืองขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ยาก โดยรูปแบบการทุจริตบ่อยที่สุดคือ การให้สินบน ของกำนัล หรือรางวัลต่างๆ รองลงมาใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว และการใช้ตำแหน่งทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์พรรคพวก
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 94 เห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องใกล้ตัว และร้อยละ 89 มองว่าการที่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และร้อยละ 91เห็นว่าการให้สินน้ำใจ เงินพิเศษแก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องเสียหาย ความทนทานต่อการคอร์รัปชั่นของไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.41 ถือว่าต่ำที่สุดในการทำการสำรวจ 12 ครั้งในรอบ 6 ปี ประสิทธิภาพการต่อต้านคอร์รัปชั่นของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนใหญ่มองว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ส่วนความเชื่อมั่นต่อ ป.ป.ช.และองค์กรอื่นต่อต้านการทุจริต อยู่ที่ร้อยละ 5.12 โดยเชื่อมั่นต่อสมาคมและภาคธุรกิจต่างๆ เช่น หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย เป็นต้น อยู่ที่ร้อยละ 5.18 เชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการในการต่อต้านคอร์รัปชั่นอยู่ที่ร้อยละ 5.03 ความเชื่อมั่นต่อสื่อมวลชนในการต่อต้านคอร์รัปชั่น อยู่ที่ร้อยละ 5.26 ลดลงเมื่อเทียบกับการสำรวจก่อนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ต้องเร่งพิจารณา ประชาชนร้อยละ 85 ยินดีมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 94 เห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องใกล้ตัว และร้อยละ 89 มองว่าการที่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และร้อยละ 91เห็นว่าการให้สินน้ำใจ เงินพิเศษแก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องเสียหาย ความทนทานต่อการคอร์รัปชั่นของไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.41 ถือว่าต่ำที่สุดในการทำการสำรวจ 12 ครั้งในรอบ 6 ปี ประสิทธิภาพการต่อต้านคอร์รัปชั่นของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนใหญ่มองว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ส่วนความเชื่อมั่นต่อ ป.ป.ช.และองค์กรอื่นต่อต้านการทุจริต อยู่ที่ร้อยละ 5.12 โดยเชื่อมั่นต่อสมาคมและภาคธุรกิจต่างๆ เช่น หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย เป็นต้น อยู่ที่ร้อยละ 5.18 เชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการในการต่อต้านคอร์รัปชั่นอยู่ที่ร้อยละ 5.03 ความเชื่อมั่นต่อสื่อมวลชนในการต่อต้านคอร์รัปชั่น อยู่ที่ร้อยละ 5.26 ลดลงเมื่อเทียบกับการสำรวจก่อนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ต้องเร่งพิจารณา ประชาชนร้อยละ 85 ยินดีมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น