พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุม กพช.มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกช ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-2566 โดยจะใช้การเปิดประมูลอย่างเสรี ซึ่งผู้ประกอบการรายเดิมอย่างบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ยังสามารถเข้าร่วมประมูลได้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่โปร่งใสมากที่สุด โดยเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ
ทั้งนี้จะเร่งแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. … ให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน เพื่อออกมารองรับและหาข้อสรุปว่าจะจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐโดยใช้รูปแบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) หรือระบบรับจ้างผลิต แต่ทั้งนี้มีการระบุว่าถ้าเป็นระบบจ้างผลิตจะทำได้ยาก เนื่องจากไม่คุ้มทุนเพราะการจ้างผลิตต้องทำในพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่แหล่งก๊าซในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นหลุมเล็กและกระจายตัวกัน จึงอยากให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตมากกว่า ซึ่งต้องรอผลสรุปอีกครั้ง
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทาง ข้อดีและข้อเสีย คือ 1.การเจรจาให้รายเดิมด้วยการต่ออายุสัมปทาน ข้อดีคือจะทำให้การผลิตของแหล่งก๊าซมีความต่อเนื่องไปในช่วงก่อนจะหมดสัมปทาน เพราะถ้าไม่ชัดเจนเขาก็จะชะลอการเจาะหลุมผลิตก๊าซเพิ่ม ข้อเสียคืออาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้รายเก่า ซึ่งหากเป็นรัฐบาลชุดนี้ยืนยันว่าจะทำอย่างโปร่งใส 2.เปิดประมูลให้มีการแข่งขันเสรี ข้อดีคือจะถูกมองว่าดำเนินการโปร่งใส แต่ข้อเสียคือความไม่ต่อเนื่องของก๊าซที่จะหายไปในช่วงก่อนที่จะหมดอายุสัมปทาน
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แหล่งผลิตก๊าซ 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วงแรกเลยถ้าไม่เจาะหลุมผลิตก๊าซเพิ่มเพราะไม่รู้ว่าจะชนะประมูลหรือไม่ และกว่ารายใหม่จะเข้ามาก็ต้องรอให้สิ้นสุดอายุสัมปทาน จะมีช่องว่างนี้อยู่คือก๊าซจะทยอยหายไปทั้งหมด 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2565 และหากไม่ดำเนินการใดๆ เลยจะทำให้ก๊าซหายไปรวม 3 ล้านล้าน ลบ.ฟุต แต่หากเป็นรายเดิมชนะเข้ามาปัญหานี้ก็จะไม่เกิด ดังนั้น กระทรวงพลังงานพยายามจะเลือกแนวทางที่ดีสุด แต่หากได้รายใหม่ความเสี่ยงเรื่องก๊าซก็จะเกิดขึ้น ซึ่งรัฐจะต้องจัดหาก๊าซเพิ่มขึ้นด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) หากแอลเอ็นจีราคาแพงค่าไฟก็จะแพงขึ้น ซึ่งประชาชนก็จะต้องรับความเสี่ยงไป
"จากการที่เปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าไฟที่สูงขึ้น ก็อยากที่จะให้ประชาชนทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เพราะการตัดสินใจของ กพช.มาจากเหตุผลที่ทุกฝ่ายเสนอเข้ามา แต่ถ้าจะกระทบต่อการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม ก็คงต้องอาศัยนโยบายดึงดูดการลงทุน หรือการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วย แต่ถ้าผู้ประกอบการรายเดิมสามารถประมูลได้ ก็จะทำให้เกิดความต่อเนื่องและไม่ทำให้เกิดผลกระทบเท่าไหร่" พล.อ.อนันตพรกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุม กพช.ยังมีมติเห็นชอบให้ บมจ.ปตท.ขยายสถานีรับจ่ายก๊าซแห่งที่ 1 ในพื้นที่มาบตาพุดเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านตันต่อปี จากเดิม 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งให้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 ทั้งนี้ยังเห็นชอบให้จัดทำแผนเพื่อก่อสร้างสถานีรับจ่ายก๊าซแห่งที่ 2 เพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยอง โดยให้มีการวางแผนที่จะสร้างทั้งในขนาด 5 ล้านตันต่อปี และ 7.5 ล้านตันต่อปี โดยกระทรวงจะต้องศึกษาถึงความต้องการใช้ในอนาคตอีกครั้ง สืบเนื่องจากถ้าได้ผู้ประกอบการรายใหม่มารับสัมปทานแหล่งปิโตรฯ ก็จะให้สร้างในขนาด 7.5 ล้านตัน เนื่องจากต้องการที่จะเพิ่มพื้นที่ในการสำรองก๊าซมาใช้
รวมถึงได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ศึกษาเรื่องการจัดสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีแบบลอยน้ำ (FSRU) ขนาด 5 ล้านตันบริเวณอ่าวไทยตอนบน เพื่อจ่ายก๊าซเข้าสู่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ-ใต้โดยตรง และกลับมาเสนอแผนต่อ กพช.ในอีก 3 เดือนครึ่งข้างหน้าว่าการดำเนินการจะคุ้มทุนหรือไม่
ทั้งนี้จะเร่งแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. … ให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน เพื่อออกมารองรับและหาข้อสรุปว่าจะจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐโดยใช้รูปแบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) หรือระบบรับจ้างผลิต แต่ทั้งนี้มีการระบุว่าถ้าเป็นระบบจ้างผลิตจะทำได้ยาก เนื่องจากไม่คุ้มทุนเพราะการจ้างผลิตต้องทำในพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่แหล่งก๊าซในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นหลุมเล็กและกระจายตัวกัน จึงอยากให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตมากกว่า ซึ่งต้องรอผลสรุปอีกครั้ง
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทาง ข้อดีและข้อเสีย คือ 1.การเจรจาให้รายเดิมด้วยการต่ออายุสัมปทาน ข้อดีคือจะทำให้การผลิตของแหล่งก๊าซมีความต่อเนื่องไปในช่วงก่อนจะหมดสัมปทาน เพราะถ้าไม่ชัดเจนเขาก็จะชะลอการเจาะหลุมผลิตก๊าซเพิ่ม ข้อเสียคืออาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้รายเก่า ซึ่งหากเป็นรัฐบาลชุดนี้ยืนยันว่าจะทำอย่างโปร่งใส 2.เปิดประมูลให้มีการแข่งขันเสรี ข้อดีคือจะถูกมองว่าดำเนินการโปร่งใส แต่ข้อเสียคือความไม่ต่อเนื่องของก๊าซที่จะหายไปในช่วงก่อนที่จะหมดอายุสัมปทาน
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แหล่งผลิตก๊าซ 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วงแรกเลยถ้าไม่เจาะหลุมผลิตก๊าซเพิ่มเพราะไม่รู้ว่าจะชนะประมูลหรือไม่ และกว่ารายใหม่จะเข้ามาก็ต้องรอให้สิ้นสุดอายุสัมปทาน จะมีช่องว่างนี้อยู่คือก๊าซจะทยอยหายไปทั้งหมด 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2565 และหากไม่ดำเนินการใดๆ เลยจะทำให้ก๊าซหายไปรวม 3 ล้านล้าน ลบ.ฟุต แต่หากเป็นรายเดิมชนะเข้ามาปัญหานี้ก็จะไม่เกิด ดังนั้น กระทรวงพลังงานพยายามจะเลือกแนวทางที่ดีสุด แต่หากได้รายใหม่ความเสี่ยงเรื่องก๊าซก็จะเกิดขึ้น ซึ่งรัฐจะต้องจัดหาก๊าซเพิ่มขึ้นด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) หากแอลเอ็นจีราคาแพงค่าไฟก็จะแพงขึ้น ซึ่งประชาชนก็จะต้องรับความเสี่ยงไป
"จากการที่เปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าไฟที่สูงขึ้น ก็อยากที่จะให้ประชาชนทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เพราะการตัดสินใจของ กพช.มาจากเหตุผลที่ทุกฝ่ายเสนอเข้ามา แต่ถ้าจะกระทบต่อการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม ก็คงต้องอาศัยนโยบายดึงดูดการลงทุน หรือการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วย แต่ถ้าผู้ประกอบการรายเดิมสามารถประมูลได้ ก็จะทำให้เกิดความต่อเนื่องและไม่ทำให้เกิดผลกระทบเท่าไหร่" พล.อ.อนันตพรกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุม กพช.ยังมีมติเห็นชอบให้ บมจ.ปตท.ขยายสถานีรับจ่ายก๊าซแห่งที่ 1 ในพื้นที่มาบตาพุดเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านตันต่อปี จากเดิม 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งให้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 ทั้งนี้ยังเห็นชอบให้จัดทำแผนเพื่อก่อสร้างสถานีรับจ่ายก๊าซแห่งที่ 2 เพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยอง โดยให้มีการวางแผนที่จะสร้างทั้งในขนาด 5 ล้านตันต่อปี และ 7.5 ล้านตันต่อปี โดยกระทรวงจะต้องศึกษาถึงความต้องการใช้ในอนาคตอีกครั้ง สืบเนื่องจากถ้าได้ผู้ประกอบการรายใหม่มารับสัมปทานแหล่งปิโตรฯ ก็จะให้สร้างในขนาด 7.5 ล้านตัน เนื่องจากต้องการที่จะเพิ่มพื้นที่ในการสำรองก๊าซมาใช้
รวมถึงได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ศึกษาเรื่องการจัดสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีแบบลอยน้ำ (FSRU) ขนาด 5 ล้านตันบริเวณอ่าวไทยตอนบน เพื่อจ่ายก๊าซเข้าสู่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ-ใต้โดยตรง และกลับมาเสนอแผนต่อ กพช.ในอีก 3 เดือนครึ่งข้างหน้าว่าการดำเนินการจะคุ้มทุนหรือไม่