ในที่สุดรัฐบาลก็ยอมถอยโดย"กพช."มีมติให้เปิดประมูลทั่วไปในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมเอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 เว้นแต่หากเปิดแล้วไม่มีรายได้เสนอจึงจะหันกลับมาใช้วิธี ขีดเส้น 1 ปีจบพร้อมเร่งเข็นพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯภายใน3เดือนให้เป็นกม.รองรับการประมูลย้ำไม่ใช้ระบบรับจ้างผลิตแน่ ขู่ช่วงรอยต่อใครจะได้บริหารอาจทำให้ก๊าซฯขาดต้องนำเข้าแอลเอ็นจีแทนหากแพงประชาชนต้องยอมรับความเสี่ยง
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ( กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 30 พ.ค. ว่า ที่ประชุม กพช.ได้หารือประเด็นการบริหารแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2556-66 ถึง 1 ชั่วโมงกว่าและมีมติให้ดำเนินการประมูลเป็นการทั่วไปเพื่อความสบายใจทุกฝ่าย ซึ่งหากไม่มีใครยื่นประมูลจึงจะใช้แนวทางการเจรจากับรายเดิมที่ได้รับสัมปทานคือบ.เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตปิโตรเลียในแหล่งเอราวัณและบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)ในแหล่งบงกชแทน โดยกำหนดให้เสร็จภายใน 1 ปี
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทางข้อดีข้อเสีย คือ 1. การเจรจาให้รายเดิมด้วยการต่ออายุสัมปทาน ข้อดีคือจะทำให้การผลิตของแหล่งก๊าซฯมีความต่อเนื่องในช่วงก่อนจะหมดสัมปทานเพราะถ้าไม่ชัดเจนผู้ผลิตรายเดิมจะชะลอการเจาะหลุมผลิตก๊าซฯเพิ่ม ข้อเสียคืออาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้รายเก่าซึ่งหากเป็นรัฐบาลชุดนี้ยืนยันว่าจะทำอย่างโปร่งใส 2.เปิดประมูลให้มีการแข่งขันเสรี ข้อดีคือจะถูกมองว่าดำเนินการโปร่งใสแต่ข้อเสียคือความไม่ต่อเนื่องของก๊าซฯที่จะหายไปในช่วงก่อนที่จะหมดอายุสัมปทาน
"กระทรวงพลังงานก็พยายามจะเลือกแนวทางที่ดีสุดในเมื่อประชาชนบางกลุ่มร้องเรียน ทั้งนี้ช่วงที่ก๊าซฯหายและหากได้รายใหม่ความเสี่ยงเรื่องก๊าซฯซึ่งรัฐจะต้องจัดหาเพิ่มขึ้นด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)หากแอลเอ็นจีราคาแพงค่าไฟก็จะแพงขึ้นถึงตรงนั้นประชาชนก็จะต้องรับความเสี่ยงไป"รมว.พลังงานกล่าว
อย่างไรก็ตามแนวทางดำเนินการจะต้องรอให้พ.ร.บ.ปิโตรเลียมพ.ศ.....และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.... ประกาศเป็นกฏหมายก่อนซึ่งขั้นตอนขณะนี้รอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จากนั้นจะเสนอไปยังสภานิบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งรัฐกำลังจะเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน ส่วนจะมีการประกาศเปิดให้เอกชนยื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่หรือไม่คงจะต้องดูสถานการณ์ก่อนซึ่งภายใต้พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีรูปแบบดำเนินการคือ ระบบสัมปทาน แบ่งปันผลผลิต(PSC)และรับจ้างผลิต ซึ่งการเปิดประมูลในแหล่งเอราวัณและบงกชนั้นจะไม่ใช้แนวทางรับจ้างผลิตเพราะค่อนข้างยุ่งยาก
ไทยอาจต้องนำเข้าแอลเอ็นจีถึง40ล้านตัน
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า หลังจากนี้คงจะต้องไปหารือเพื่อร่างเงื่อนไขการเปิดประมูล(TOR) ซึงมีหลายประเด็นที่ต้องให้ชัดเจนเช่นภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯลฯ ขณะเดียวกันแหล่งก๊าซฯ ทั้ง 2 แหล่งมีกำลังผลิตรวมกัน 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นับจากรัฐบาลให้เปิดประมูลทางผู้ผลิตคงจะไม่ลงทุนเจาะหลุมเพิ่ม เพื่อรักษากำลังการผลิต ทางกระทรวงฯ ประเมินว่าปริมาณก๊าซฯ จะค่อยทยอยลดลงบางช่วงอาจหายไป 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหายไปทั้งหมดในปี 2565 โดยในช่วง 8 ปี นับแต่ปี 2561-2568 ก๊าซจะหายไปรวม 3 ล้านล้านลบ.ฟุต ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาทดแทนประมาณ 40 ล้านตัน กระทบค่าไฟฟ้าหรือเอฟที 85 สตางค์/หน่วย ต้องนำเข้าอีเทนมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีมาทดแทน รวมมูลค่านับแสนล้านบาท ขณะเดียวกันรายได้รัฐจากปิโตรเลียมจะหายไป 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 245,000 ล้านบาท
กพช.อนุมัติปตท.ลงทุนคลังLNG3.78หมื่นล.
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงานกล่าวว่ากพช. ยังอนุมัติให้บมจ.ปตท.ดำเนินโครงการขยายกำลังการแปรสภาพแอลเอ็นจีเพื่อรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ชะลอไปจากแผนโดยเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านตันรวมเป็น 11.5 ล้านตันต่อปี วงเงิน 1,000 ล้านบาทโดยกำหนดให้เสร็จปี 2562 นอกจากนี้ยังกำหนดให้ปตท.ลงทุนสร้างคลังแอลเอ็นจีแห่งใหม่ที่จ.ระยอง 5 ล้านตันต่อปีลงทุน 36,800 ล้านบาทให้เสร็จในปี 2565 แต่ทั้งนี้ได้ให้ศึกษาเพิ่มเติมว่าขนาดควรเพิ่มเป็น 7.5 ล้านตันประกอบด้วย
เคาะแนวทางSPP-Cogeneration
กพช. ยังได้พิจารณาแนวทางสนับสนุน SPP-Cogeneration ที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2560-2568 ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : SPP ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560-2561 (ต่ออายุสัญญา) ให้มีระยะเวลาสัญญา 3 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 60 MW และไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ราคารับซื้อไฟฟ้า (ณ ราคาก๊าซ 263 บาท/MMBTU) ในอัตรา 2.3753 บาท/kW
กลุ่มที่ 2 : SPP ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562-2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่)ให้มีระยะเวลาสัญญา 25 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 30 MWและไม่เกิน 30%ของกำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิรวมไอน้ำ (Net Generation) ไฟฟ้ารวมไอน้ำ และจะต้องไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ราคารับซื้อไฟฟ้า ในอัตรา 2.8186 บาท/kWh (ที่ราคาก๊าซธรรมชาติ 263 บาท/ล้านบีทียู) ทั้งนี้ โครงการ SPP-Cogeneration ที่ได้รับสิทธิการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ให้ดำเนินการก่อสร้างได้ในพื้นที่เดิม หรือพื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม
ปตท.ลุ้นปีนี้ใช้งบตามแผน5หมื่นล.
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในไตรมาส 1/2559 การใช้เงินลงทุนของปตท.ต่ำกว่าแผนงานที่กำหนดไว้จากโครงการก่อสร้างคลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal ) แห่งที่ 2 ที่ล่าช้า แต่เชื่อว่าการใช้งบลงทุนดีขึ้นในไตรมาส 2 นี้หลังมีความชัดเจน ทำให้ทั้งปี 2559 งบลงทุนยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 5 หมื่นล้านบาท
โครงการก่อสร้างคลัง LNG แห่งที่ 2 ได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของขนาดของคลังว่าจะเป็นขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี หรือ 5 ล้านตัน/ปี โดยที่ผ่านมาปตท.เสนอการก่อสร้างที่ขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี เนื่องจากใช้งบลงทุนเพิ่มเติมอีกว่า 1.3 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับการก่อสร้างขนาด 5 ล้านตัน/ปี โดยประเมินว่าความต้องการใช้ LNG จะเพิ่มขึ้นมากในอนาคต จากปีที่แล้วที่มีการนำเข้า LNG เพียง 3 ล้านตัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 5 ล้านตันในปีหน้า ซึ่งคลัง LNG แห่งแรก ระยะที่ 2 จะแล้วเสร็จ ทำให้มีขีดความสามารถรองรับ LNG เป็น 10 ล้านตัน/ปี
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ( กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 30 พ.ค. ว่า ที่ประชุม กพช.ได้หารือประเด็นการบริหารแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2556-66 ถึง 1 ชั่วโมงกว่าและมีมติให้ดำเนินการประมูลเป็นการทั่วไปเพื่อความสบายใจทุกฝ่าย ซึ่งหากไม่มีใครยื่นประมูลจึงจะใช้แนวทางการเจรจากับรายเดิมที่ได้รับสัมปทานคือบ.เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตปิโตรเลียในแหล่งเอราวัณและบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)ในแหล่งบงกชแทน โดยกำหนดให้เสร็จภายใน 1 ปี
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทางข้อดีข้อเสีย คือ 1. การเจรจาให้รายเดิมด้วยการต่ออายุสัมปทาน ข้อดีคือจะทำให้การผลิตของแหล่งก๊าซฯมีความต่อเนื่องในช่วงก่อนจะหมดสัมปทานเพราะถ้าไม่ชัดเจนผู้ผลิตรายเดิมจะชะลอการเจาะหลุมผลิตก๊าซฯเพิ่ม ข้อเสียคืออาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้รายเก่าซึ่งหากเป็นรัฐบาลชุดนี้ยืนยันว่าจะทำอย่างโปร่งใส 2.เปิดประมูลให้มีการแข่งขันเสรี ข้อดีคือจะถูกมองว่าดำเนินการโปร่งใสแต่ข้อเสียคือความไม่ต่อเนื่องของก๊าซฯที่จะหายไปในช่วงก่อนที่จะหมดอายุสัมปทาน
"กระทรวงพลังงานก็พยายามจะเลือกแนวทางที่ดีสุดในเมื่อประชาชนบางกลุ่มร้องเรียน ทั้งนี้ช่วงที่ก๊าซฯหายและหากได้รายใหม่ความเสี่ยงเรื่องก๊าซฯซึ่งรัฐจะต้องจัดหาเพิ่มขึ้นด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)หากแอลเอ็นจีราคาแพงค่าไฟก็จะแพงขึ้นถึงตรงนั้นประชาชนก็จะต้องรับความเสี่ยงไป"รมว.พลังงานกล่าว
อย่างไรก็ตามแนวทางดำเนินการจะต้องรอให้พ.ร.บ.ปิโตรเลียมพ.ศ.....และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.... ประกาศเป็นกฏหมายก่อนซึ่งขั้นตอนขณะนี้รอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จากนั้นจะเสนอไปยังสภานิบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งรัฐกำลังจะเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน ส่วนจะมีการประกาศเปิดให้เอกชนยื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่หรือไม่คงจะต้องดูสถานการณ์ก่อนซึ่งภายใต้พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีรูปแบบดำเนินการคือ ระบบสัมปทาน แบ่งปันผลผลิต(PSC)และรับจ้างผลิต ซึ่งการเปิดประมูลในแหล่งเอราวัณและบงกชนั้นจะไม่ใช้แนวทางรับจ้างผลิตเพราะค่อนข้างยุ่งยาก
ไทยอาจต้องนำเข้าแอลเอ็นจีถึง40ล้านตัน
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า หลังจากนี้คงจะต้องไปหารือเพื่อร่างเงื่อนไขการเปิดประมูล(TOR) ซึงมีหลายประเด็นที่ต้องให้ชัดเจนเช่นภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯลฯ ขณะเดียวกันแหล่งก๊าซฯ ทั้ง 2 แหล่งมีกำลังผลิตรวมกัน 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นับจากรัฐบาลให้เปิดประมูลทางผู้ผลิตคงจะไม่ลงทุนเจาะหลุมเพิ่ม เพื่อรักษากำลังการผลิต ทางกระทรวงฯ ประเมินว่าปริมาณก๊าซฯ จะค่อยทยอยลดลงบางช่วงอาจหายไป 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหายไปทั้งหมดในปี 2565 โดยในช่วง 8 ปี นับแต่ปี 2561-2568 ก๊าซจะหายไปรวม 3 ล้านล้านลบ.ฟุต ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาทดแทนประมาณ 40 ล้านตัน กระทบค่าไฟฟ้าหรือเอฟที 85 สตางค์/หน่วย ต้องนำเข้าอีเทนมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีมาทดแทน รวมมูลค่านับแสนล้านบาท ขณะเดียวกันรายได้รัฐจากปิโตรเลียมจะหายไป 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 245,000 ล้านบาท
กพช.อนุมัติปตท.ลงทุนคลังLNG3.78หมื่นล.
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงานกล่าวว่ากพช. ยังอนุมัติให้บมจ.ปตท.ดำเนินโครงการขยายกำลังการแปรสภาพแอลเอ็นจีเพื่อรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ชะลอไปจากแผนโดยเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านตันรวมเป็น 11.5 ล้านตันต่อปี วงเงิน 1,000 ล้านบาทโดยกำหนดให้เสร็จปี 2562 นอกจากนี้ยังกำหนดให้ปตท.ลงทุนสร้างคลังแอลเอ็นจีแห่งใหม่ที่จ.ระยอง 5 ล้านตันต่อปีลงทุน 36,800 ล้านบาทให้เสร็จในปี 2565 แต่ทั้งนี้ได้ให้ศึกษาเพิ่มเติมว่าขนาดควรเพิ่มเป็น 7.5 ล้านตันประกอบด้วย
เคาะแนวทางSPP-Cogeneration
กพช. ยังได้พิจารณาแนวทางสนับสนุน SPP-Cogeneration ที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2560-2568 ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : SPP ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560-2561 (ต่ออายุสัญญา) ให้มีระยะเวลาสัญญา 3 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 60 MW และไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ราคารับซื้อไฟฟ้า (ณ ราคาก๊าซ 263 บาท/MMBTU) ในอัตรา 2.3753 บาท/kW
กลุ่มที่ 2 : SPP ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562-2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่)ให้มีระยะเวลาสัญญา 25 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 30 MWและไม่เกิน 30%ของกำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิรวมไอน้ำ (Net Generation) ไฟฟ้ารวมไอน้ำ และจะต้องไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ราคารับซื้อไฟฟ้า ในอัตรา 2.8186 บาท/kWh (ที่ราคาก๊าซธรรมชาติ 263 บาท/ล้านบีทียู) ทั้งนี้ โครงการ SPP-Cogeneration ที่ได้รับสิทธิการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ให้ดำเนินการก่อสร้างได้ในพื้นที่เดิม หรือพื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม
ปตท.ลุ้นปีนี้ใช้งบตามแผน5หมื่นล.
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในไตรมาส 1/2559 การใช้เงินลงทุนของปตท.ต่ำกว่าแผนงานที่กำหนดไว้จากโครงการก่อสร้างคลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal ) แห่งที่ 2 ที่ล่าช้า แต่เชื่อว่าการใช้งบลงทุนดีขึ้นในไตรมาส 2 นี้หลังมีความชัดเจน ทำให้ทั้งปี 2559 งบลงทุนยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 5 หมื่นล้านบาท
โครงการก่อสร้างคลัง LNG แห่งที่ 2 ได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของขนาดของคลังว่าจะเป็นขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี หรือ 5 ล้านตัน/ปี โดยที่ผ่านมาปตท.เสนอการก่อสร้างที่ขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี เนื่องจากใช้งบลงทุนเพิ่มเติมอีกว่า 1.3 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับการก่อสร้างขนาด 5 ล้านตัน/ปี โดยประเมินว่าความต้องการใช้ LNG จะเพิ่มขึ้นมากในอนาคต จากปีที่แล้วที่มีการนำเข้า LNG เพียง 3 ล้านตัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 5 ล้านตันในปีหน้า ซึ่งคลัง LNG แห่งแรก ระยะที่ 2 จะแล้วเสร็จ ทำให้มีขีดความสามารถรองรับ LNG เป็น 10 ล้านตัน/ปี