รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2559 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า สำนักงานเลขาท่านนายกรัฐมนตรีฯ ได้ติดต่อสอบถามความคืบหน้าของเกาะตาชัยหลังจากมีคำสั่งปิดการท่องเที่ยวบนเกาะ กรมอุทยานฯ ประสานผมให้ช่วยนำเสนอแผนประกอบการพิจารณา ผมดูจากแนวทางที่ท่านรัฐมนตรีสุรศักดิ์บอกไว้ รักษาให้เป็นสมบัติของชาติ และตามที่ท่านอธิบดีธัญญาเน้นย้ำ เขตสงวนสภาพธรรมชาติ เพราะฉะนั้น
1. เกาะตาชัยจะไม่หวนกลับไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนเนืองแน่น เกาะตาชัยไม่ใช่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และไม่เคยเป็นเขตท่องเที่ยวในแผนใดๆ
2. จะไม่มีการสร้างอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะเด็ดขาด
3. ในอนาคตหากมีการไปเกาะตาชัยจะไปในรูปแบบเรียนรู้ธรรมชาติเท่านั้น เช่น ค่ายเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ ที่มีกฎกติกาเป็นพิเศษ
4. การไปดูงานหรือไปศึกษาวิจัยใด ๆ ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานฯ เท่านั้น
5. ควรสนับสนุนหน่วยพิทักษ์บนเกาะตาชัยเป็นพิเศษ ทั้งเรือตรวจการณ์ เจ้าหน้าที่ เครื่องปั่นไฟ และอุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย
6. หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องการประมงผิดกฎหมาย แต่ท่านอธิบดีได้เน้นย้ำตรงนี้กับหัวหน้าอุทยานทุกท่านเป็นพิเศษ การตรวจการณ์รอบเกาะตาชัยอาจต้องทำอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
เมื่อกรอบแนวคิดชัดเจน มาถึงการแบ่ง “เขตในพื้นที่” ผมยึดตามแนวทางที่ท่านรัฐมนตรีและท่านอธิบดีแถลงไว้ ได้แก่ “รักษา” และ “ฟื้นฟู”
เมื่อนำทั้งสองคำ มาใช้กับพื้นที่เกาะตาชัย เราจะได้ 3 เขต ได้แก่
- เขตป่าชายหาดและชายหาด (Beach Forest & Sandy Beach)
- เขตปะการังด้านใน (Reef Flat)
- เขตแนวปะการังด้านนอก (Reef Edge & Reef Slope)
ผมลงแผนที่พอให้เห็นภาพว่า เราแบ่งเขตอย่างไร กิจกรรมในแต่ละเขตจะควบคู่กันไป ทั้งการฟื้นฟูสภาพให้กลับมาเป็นธรรมชาติ และการรักษาสภาพธรรมชาติให้ดำรงอยู่
รายละเอียดของกิจกรรมคงไม่สามารถอธิบายได้ในนี้ แต่บอกได้ว่ามีงานวิจัยหลายอย่างที่กำลังหาทางจัดการปัญหาปะการังฟอกขาว เช่น Super Coral – เพิ่มสาหร่ายให้ปะการัง ฯลฯ
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเล ยังมีการศึกษาเรื่องการฟื้นฟูปะการังมายาวนาน อาจนำงานต่างๆ ทำร่วมกับกรมอุทยานฯ ในพื้นที่เกาะตาชัยที่ไม่ควรลืมคืองานฟื้นฟู/รักษาป่าชายหาดและหาดทราย เราสามารถนำเกาะตาชัยมาเป็นสถานที่ต้นแบบ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องผลกระทบจากมนุษย์ อยากอธิบายเพิ่มว่า ป่าชายหาดเป็นระบบนิเวศป่าที่โดนคนถล่มมากที่สุด ปัจจุบันเราเหลือป่าชายหาดที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่พันไร่ สุดท้ายคือลำดับ 3 ขั้นตอน ที่แบ่งเป็นระยะวางแผน (ช่วงมรสุม) ระยะทำงาน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 59 เป็นต้นไป) และระยะติดตามผล (ควบคู่ไปกับระยะทำงานและมีการประเมินตามช่วงเวลา)
หากทำทุกอย่างได้ เกาะตาชัยจะกลายเป็นเขตสงวนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยทั้งด้านป่าไม้และทะเลที่ปราศจากผลกระทบจากมนุษย์ สำคัญสุดคือเป็นสถานที่เก็บไว้อวดลูกหลานและชาวโลกว่า #ระบบนิเวศเกาะในอันดามันที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ควรเป็นเช่นใด
แน่นอนว่ากรมอุทยานต้องพิจารณารายละเอียดของแผน สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น และวางแผนสอดคล้องกับการจัดการอุทยานหมู่เกาะสิมิลันที่เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าอุทยานท่านใหม่ แต่นำมาให้เพื่อนธรณ์อ่าน เพื่อยืนยันว่า “ปิด” มิใช่เพียงแค่ “ปิดไว้เฉยๆ” เราเคยมีบทเรียนจากอดีตมาแล้ว
คำถามว่า "จะเปิดเมื่อไหร่" จึงไม่มีคำตอบ เพราะหนนี้ไม่ใช่การ "ปิดเพื่อรอเปิดใหม่" แต่เป็นการ “คุ้มครองตาชัย” จากการใช้ของคนรุ่นเรา เพื่อเป็นมรดกธรรมชาติแก่คนรุ่นต่อไป นั่นแหละคือความหมายของ “เขตสงวนในอุทยานแห่งชาติ”
1. เกาะตาชัยจะไม่หวนกลับไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนเนืองแน่น เกาะตาชัยไม่ใช่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และไม่เคยเป็นเขตท่องเที่ยวในแผนใดๆ
2. จะไม่มีการสร้างอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะเด็ดขาด
3. ในอนาคตหากมีการไปเกาะตาชัยจะไปในรูปแบบเรียนรู้ธรรมชาติเท่านั้น เช่น ค่ายเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ ที่มีกฎกติกาเป็นพิเศษ
4. การไปดูงานหรือไปศึกษาวิจัยใด ๆ ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานฯ เท่านั้น
5. ควรสนับสนุนหน่วยพิทักษ์บนเกาะตาชัยเป็นพิเศษ ทั้งเรือตรวจการณ์ เจ้าหน้าที่ เครื่องปั่นไฟ และอุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย
6. หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องการประมงผิดกฎหมาย แต่ท่านอธิบดีได้เน้นย้ำตรงนี้กับหัวหน้าอุทยานทุกท่านเป็นพิเศษ การตรวจการณ์รอบเกาะตาชัยอาจต้องทำอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
เมื่อกรอบแนวคิดชัดเจน มาถึงการแบ่ง “เขตในพื้นที่” ผมยึดตามแนวทางที่ท่านรัฐมนตรีและท่านอธิบดีแถลงไว้ ได้แก่ “รักษา” และ “ฟื้นฟู”
เมื่อนำทั้งสองคำ มาใช้กับพื้นที่เกาะตาชัย เราจะได้ 3 เขต ได้แก่
- เขตป่าชายหาดและชายหาด (Beach Forest & Sandy Beach)
- เขตปะการังด้านใน (Reef Flat)
- เขตแนวปะการังด้านนอก (Reef Edge & Reef Slope)
ผมลงแผนที่พอให้เห็นภาพว่า เราแบ่งเขตอย่างไร กิจกรรมในแต่ละเขตจะควบคู่กันไป ทั้งการฟื้นฟูสภาพให้กลับมาเป็นธรรมชาติ และการรักษาสภาพธรรมชาติให้ดำรงอยู่
รายละเอียดของกิจกรรมคงไม่สามารถอธิบายได้ในนี้ แต่บอกได้ว่ามีงานวิจัยหลายอย่างที่กำลังหาทางจัดการปัญหาปะการังฟอกขาว เช่น Super Coral – เพิ่มสาหร่ายให้ปะการัง ฯลฯ
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเล ยังมีการศึกษาเรื่องการฟื้นฟูปะการังมายาวนาน อาจนำงานต่างๆ ทำร่วมกับกรมอุทยานฯ ในพื้นที่เกาะตาชัยที่ไม่ควรลืมคืองานฟื้นฟู/รักษาป่าชายหาดและหาดทราย เราสามารถนำเกาะตาชัยมาเป็นสถานที่ต้นแบบ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องผลกระทบจากมนุษย์ อยากอธิบายเพิ่มว่า ป่าชายหาดเป็นระบบนิเวศป่าที่โดนคนถล่มมากที่สุด ปัจจุบันเราเหลือป่าชายหาดที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่พันไร่ สุดท้ายคือลำดับ 3 ขั้นตอน ที่แบ่งเป็นระยะวางแผน (ช่วงมรสุม) ระยะทำงาน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 59 เป็นต้นไป) และระยะติดตามผล (ควบคู่ไปกับระยะทำงานและมีการประเมินตามช่วงเวลา)
หากทำทุกอย่างได้ เกาะตาชัยจะกลายเป็นเขตสงวนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยทั้งด้านป่าไม้และทะเลที่ปราศจากผลกระทบจากมนุษย์ สำคัญสุดคือเป็นสถานที่เก็บไว้อวดลูกหลานและชาวโลกว่า #ระบบนิเวศเกาะในอันดามันที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ควรเป็นเช่นใด
แน่นอนว่ากรมอุทยานต้องพิจารณารายละเอียดของแผน สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น และวางแผนสอดคล้องกับการจัดการอุทยานหมู่เกาะสิมิลันที่เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าอุทยานท่านใหม่ แต่นำมาให้เพื่อนธรณ์อ่าน เพื่อยืนยันว่า “ปิด” มิใช่เพียงแค่ “ปิดไว้เฉยๆ” เราเคยมีบทเรียนจากอดีตมาแล้ว
คำถามว่า "จะเปิดเมื่อไหร่" จึงไม่มีคำตอบ เพราะหนนี้ไม่ใช่การ "ปิดเพื่อรอเปิดใหม่" แต่เป็นการ “คุ้มครองตาชัย” จากการใช้ของคนรุ่นเรา เพื่อเป็นมรดกธรรมชาติแก่คนรุ่นต่อไป นั่นแหละคือความหมายของ “เขตสงวนในอุทยานแห่งชาติ”