ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เผยอุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินจุดวิกฤตแล้วที่ 33 องศาเซลเซียส เตรียมปิดอีก “อ่าวมาหยา” จ.กระบี่ รับมือปะการังฟอกขาว หลังพบเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในหลายพื้นที่ แต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง
วันนี้ (13 พ.ค.) ที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถจังหวัดภูเก็ต ต.สาคู อ.ถลาง พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการปิดเกาะท่องเที่ยวทางทะเลอันดามัน และอ่าวไทย เพื่อรับมือสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ภายหลังเป็นประธานเปิดสถาบันประชารัฐพิทักษ์ทะเล และการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะพนักงานพิทักษ์ป่า ว่า ถ้ามีการปิดเกาะก็จะสามารถป้องกันไม่ให้คนเข้าไปรบกวนแหล่งปะการังได้ อย่างน้อยๆ การถูกทำลายก็จะชะลอลง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวมีหน้าที่รักษาทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าของแผ่นดินที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาไว้ พวกเราคงไม่ต้องการเงินจำนวนมากแล้วให้ทรัพยากรถูกทำลาย ก็ต้องให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน ส่วนกรณีผู้ประกอบการปล่อยให้นักท่องเที่ยวจับสัตว์น้ำมาเล่นนั้น อย่างแรกก็ต้องสร้างความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เป็นมาตรการที่สอง
ขณะที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางทะเลปัจจุบันมีภาวะที่เสี่ยงที่สุดอย่างแรก เรื่องปะการังฟอกขาว ซึ่งตอนนี้อุณหภูมิน้ำทะเลของประเทศสูงเกินจุดวิกฤต ปกติอยู่ที่ 30.5 องศาเซลเซียส แต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส เริ่มมีรายงานปะการังฟอกขาวตามพื้นที่ต่างๆ หลายจุดแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงจนถึงขีดสุด แต่เรามีความเป็นห่วงว่าอีก 7-10 วันข้างหน้า อาจจะเกิดภาวะปะการังฟอกขาวมากขึ้นกว่านี้ ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสมบูรณ์ของทะเล และการท่องเที่ยว
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เรียกได้ว่าเ ราเตรียมการในการรับมือปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เพราะครั้งแรกที่เกิดปะการังฟอกขาว เมื่อปี 53 ฟอกขาวจนเกือบหมดแล้วเราจึงปิดเกาะ แต่ครั้งนี้เราปิดเกาะตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เกาะยูง หมู่เกาะพีพี ซึ่งปิดไปแล้ว และจะปิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น เพื่อรักษาแหล่งพ่อแม่พันธุ์ปะการัง ต่อมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก็จะเสนอปิดอ่าวมาหยา จ.กระบี่ และอีกหลายจุดที่จะพิจารณาเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์ในการดูแลรักษาไว้
นอกจากนี้ สิ่งที่เราเป็นกังวลที่สุดในเรื่องนี้คือ น้ำเสีย เพราะว่าน้ำเสียเป็นตัวการสำคัญ ว่า เมื่อปะการังฟอกขาวแล้วจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับน้ำเสีย ซึ่งตนได้นำเรียนเรื่องนี้กับรัฐมนตรีฯ ในเรื่องของน้ำเสีย ยกตัวอย่างเช่น ที่หมู่เกาะพีพี มีโรงงานบำบัดน้ำเสียแต่ไม่พอเพียงต่อจำนวนน้ำ สามารถบำบัดน้ำเสียได้แค่ 16% จากน้ำเสียทั้งหมดบนหมู่เกาะพีพี ถ้าจะยกระดับโรงบำบัดน้ำเสียก็ต้องใช้งบประมาณเพี่มมากขึ้น ขณะที่ท้องถิ่นพอจะหาเงินมาในการทำให้มันทำงานต่อไปได้ แต่การลงทุนก้อนแรกต้องขอจากรัฐ
อีกเรื่องที่ได้นำเรียนต่อท่านรัฐมนตรีฯ คือ การเสียค่าปรับ จากที่ปรับ 500 บาท ซึ่งถูกเกินไป ก็อยากให้มีการพิจารณาอัตราการเสียค่าปรับให้มากกว่านี้หลายเท่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข็ดหลาบ อย่างไรก็ตาม หวังว่าสถาบันประชารัฐพิทักษ์ทะเลจะอบรมเรื่องเหล่านี้ เพราะปัญหาที่เราพบคือ นักท่องเที่ยว กับผลกระทบจากการท่องเที่ยว ต้องเรียนรู้ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดูแลทะเลอย่างเดียว อาจจะเป็นพื้นที่ เช่น หมู่เกาะพีพี เอานายกฯ รองนายก อบต.ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อุทยาน มาอบรมแลกเปลี่ยนกัน ตอนนี้เสนอไปแล้ว อยากให้เริ่มต้นที่หมู่เกาะพีพี เพราะเรามี “พีพีโมเดล” อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คงต้องขอวิงวอนทางภาครัฐ ทำทั้งเรื่องของการปิดเกาะ เช่น เกาะยูง หมู่เกาะพีพี และอาจจะมีพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม แต่ในขณะเดียวกัน คงต้องรบกวนทั้งชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และอื่นๆ เพื่อเป็นประชารัฐในการช่วยร่วมมือกันในการลดการทิ้งขยะของเสียลงทะเล อย่าให้อาหารปลา อย่าจับสัตว์น้ำมาเล่น หรืออื่นๆ เพราะปะการังฟอกขาวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็จริง แต่การที่ปะการังจะฟื้นตัวอยู่ที่การช่วยเหลือของพวกเราทุกคน
วันนี้ (13 พ.ค.) ที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถจังหวัดภูเก็ต ต.สาคู อ.ถลาง พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการปิดเกาะท่องเที่ยวทางทะเลอันดามัน และอ่าวไทย เพื่อรับมือสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ภายหลังเป็นประธานเปิดสถาบันประชารัฐพิทักษ์ทะเล และการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะพนักงานพิทักษ์ป่า ว่า ถ้ามีการปิดเกาะก็จะสามารถป้องกันไม่ให้คนเข้าไปรบกวนแหล่งปะการังได้ อย่างน้อยๆ การถูกทำลายก็จะชะลอลง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวมีหน้าที่รักษาทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าของแผ่นดินที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาไว้ พวกเราคงไม่ต้องการเงินจำนวนมากแล้วให้ทรัพยากรถูกทำลาย ก็ต้องให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน ส่วนกรณีผู้ประกอบการปล่อยให้นักท่องเที่ยวจับสัตว์น้ำมาเล่นนั้น อย่างแรกก็ต้องสร้างความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เป็นมาตรการที่สอง
ขณะที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางทะเลปัจจุบันมีภาวะที่เสี่ยงที่สุดอย่างแรก เรื่องปะการังฟอกขาว ซึ่งตอนนี้อุณหภูมิน้ำทะเลของประเทศสูงเกินจุดวิกฤต ปกติอยู่ที่ 30.5 องศาเซลเซียส แต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส เริ่มมีรายงานปะการังฟอกขาวตามพื้นที่ต่างๆ หลายจุดแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงจนถึงขีดสุด แต่เรามีความเป็นห่วงว่าอีก 7-10 วันข้างหน้า อาจจะเกิดภาวะปะการังฟอกขาวมากขึ้นกว่านี้ ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสมบูรณ์ของทะเล และการท่องเที่ยว
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เรียกได้ว่าเ ราเตรียมการในการรับมือปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เพราะครั้งแรกที่เกิดปะการังฟอกขาว เมื่อปี 53 ฟอกขาวจนเกือบหมดแล้วเราจึงปิดเกาะ แต่ครั้งนี้เราปิดเกาะตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เกาะยูง หมู่เกาะพีพี ซึ่งปิดไปแล้ว และจะปิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น เพื่อรักษาแหล่งพ่อแม่พันธุ์ปะการัง ต่อมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก็จะเสนอปิดอ่าวมาหยา จ.กระบี่ และอีกหลายจุดที่จะพิจารณาเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์ในการดูแลรักษาไว้
นอกจากนี้ สิ่งที่เราเป็นกังวลที่สุดในเรื่องนี้คือ น้ำเสีย เพราะว่าน้ำเสียเป็นตัวการสำคัญ ว่า เมื่อปะการังฟอกขาวแล้วจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับน้ำเสีย ซึ่งตนได้นำเรียนเรื่องนี้กับรัฐมนตรีฯ ในเรื่องของน้ำเสีย ยกตัวอย่างเช่น ที่หมู่เกาะพีพี มีโรงงานบำบัดน้ำเสียแต่ไม่พอเพียงต่อจำนวนน้ำ สามารถบำบัดน้ำเสียได้แค่ 16% จากน้ำเสียทั้งหมดบนหมู่เกาะพีพี ถ้าจะยกระดับโรงบำบัดน้ำเสียก็ต้องใช้งบประมาณเพี่มมากขึ้น ขณะที่ท้องถิ่นพอจะหาเงินมาในการทำให้มันทำงานต่อไปได้ แต่การลงทุนก้อนแรกต้องขอจากรัฐ
อีกเรื่องที่ได้นำเรียนต่อท่านรัฐมนตรีฯ คือ การเสียค่าปรับ จากที่ปรับ 500 บาท ซึ่งถูกเกินไป ก็อยากให้มีการพิจารณาอัตราการเสียค่าปรับให้มากกว่านี้หลายเท่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข็ดหลาบ อย่างไรก็ตาม หวังว่าสถาบันประชารัฐพิทักษ์ทะเลจะอบรมเรื่องเหล่านี้ เพราะปัญหาที่เราพบคือ นักท่องเที่ยว กับผลกระทบจากการท่องเที่ยว ต้องเรียนรู้ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดูแลทะเลอย่างเดียว อาจจะเป็นพื้นที่ เช่น หมู่เกาะพีพี เอานายกฯ รองนายก อบต.ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อุทยาน มาอบรมแลกเปลี่ยนกัน ตอนนี้เสนอไปแล้ว อยากให้เริ่มต้นที่หมู่เกาะพีพี เพราะเรามี “พีพีโมเดล” อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คงต้องขอวิงวอนทางภาครัฐ ทำทั้งเรื่องของการปิดเกาะ เช่น เกาะยูง หมู่เกาะพีพี และอาจจะมีพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม แต่ในขณะเดียวกัน คงต้องรบกวนทั้งชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และอื่นๆ เพื่อเป็นประชารัฐในการช่วยร่วมมือกันในการลดการทิ้งขยะของเสียลงทะเล อย่าให้อาหารปลา อย่าจับสัตว์น้ำมาเล่น หรืออื่นๆ เพราะปะการังฟอกขาวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็จริง แต่การที่ปะการังจะฟื้นตัวอยู่ที่การช่วยเหลือของพวกเราทุกคน