กระบี่ - ตื่น! พบปะการังโขด ฟอกขาว สำรวจพบในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ คาดครั้งนี้รุนแรง จ่อชงกรมอุทยานฯ ปิดพื้นที่ทำกิจกรรมทุกชนิดในพื้นที่สำรวจพบปะการังฟอกขาว ขณะที่เกาะไก่ เกิดแล้วกว่า 80%
วันนี้ (18 พ.ค.) นายทิฆัมพร ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่ทางทะเลอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี สำรวจปะการังในบริเวณอ่าวปิเละ อ่าวโละซามะ เกาะยูง ด้านทิศตะวันออก อ่าวลิง เกาะไผ่ เกาะไก่ หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่
จาการสำรวจพบว่า เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นวงกว้างกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ โดยปะการังฟอกขาวที่พบ ประกอบด้วย ปะการังเขากวาง ปะการังวงแหวน ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังดอกเห็ด ปะการังดอกกะหล่ำ และปะการังโขด พบปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวมากที่บริเวณเกาะไก่ ซึ่งมีประมาณ 80% ของพื้นที่ สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 31-35 องศา จากปกติจะอยู่ที่ 28-30 องศา
สิ่งที่น่าเป็นห่วง และคาดว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้น่าจะรุนแรงกว่าปี 2553 ก็คือ การพบปะการังโขดฟอกขาว เนื่องจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกเมื่อปี 2553 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดแล้ว แต่ครั้งนั้นไม่พบว่าปะการังโขด มีการฟอกขาวแต่อย่างใด และไม่เคยมีบันทึกการฟอกขาวในปะการังโขด แต่ปีนี้พบมีการฟอกขาวของปะการังโขดเป็นจำนวนมาก จึงถือว่าค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤตของปัญหาปะการังฟอกขาว โดยสาเหตุเนื่องมาจากในปีนี้อากาศร้อนยาวนานกว่าปกติ แต่ก็ขอให้เข้าใจว่า การที่ปะการังฟอกขาวไม่ได้หมายความว่าปะการังตาย เพียงแต่อ่อนแอเท่านั้น หรือมีอาการโคม่า และหากว่าอากาศยังร้อนต่อไปก็อาจจะส่งให้ปะการรังอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนตายในที่สุด
ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เปิดเผยอีกว่า เรื่องของธรรมชาติเราอาจจะควบคุมไม่ได้ แต่เราก็จะช่วยกันได้ในเรื่องของการปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการรบกวนจากการทำกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการเหยียบย่ำ เรือวิ่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ปะการังมีโอกาสปรับตัวฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ และเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้ ปะการังเขากวาง ที่มีการฟอกขาวเป็นจำนวนมาก ในปี 53 มีการปรับตัวดีขึ้น เกิดการฟอกขาวน้อยลง ซึ่งจะเสนอให้ทางกรมอุทยานฯ พิจารณาในการจัดการปิดพื้นที่ต่อไป
วันนี้ (18 พ.ค.) นายทิฆัมพร ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่ทางทะเลอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี สำรวจปะการังในบริเวณอ่าวปิเละ อ่าวโละซามะ เกาะยูง ด้านทิศตะวันออก อ่าวลิง เกาะไผ่ เกาะไก่ หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่
จาการสำรวจพบว่า เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นวงกว้างกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ โดยปะการังฟอกขาวที่พบ ประกอบด้วย ปะการังเขากวาง ปะการังวงแหวน ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังดอกเห็ด ปะการังดอกกะหล่ำ และปะการังโขด พบปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวมากที่บริเวณเกาะไก่ ซึ่งมีประมาณ 80% ของพื้นที่ สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 31-35 องศา จากปกติจะอยู่ที่ 28-30 องศา
สิ่งที่น่าเป็นห่วง และคาดว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้น่าจะรุนแรงกว่าปี 2553 ก็คือ การพบปะการังโขดฟอกขาว เนื่องจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกเมื่อปี 2553 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดแล้ว แต่ครั้งนั้นไม่พบว่าปะการังโขด มีการฟอกขาวแต่อย่างใด และไม่เคยมีบันทึกการฟอกขาวในปะการังโขด แต่ปีนี้พบมีการฟอกขาวของปะการังโขดเป็นจำนวนมาก จึงถือว่าค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤตของปัญหาปะการังฟอกขาว โดยสาเหตุเนื่องมาจากในปีนี้อากาศร้อนยาวนานกว่าปกติ แต่ก็ขอให้เข้าใจว่า การที่ปะการังฟอกขาวไม่ได้หมายความว่าปะการังตาย เพียงแต่อ่อนแอเท่านั้น หรือมีอาการโคม่า และหากว่าอากาศยังร้อนต่อไปก็อาจจะส่งให้ปะการรังอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนตายในที่สุด
ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เปิดเผยอีกว่า เรื่องของธรรมชาติเราอาจจะควบคุมไม่ได้ แต่เราก็จะช่วยกันได้ในเรื่องของการปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการรบกวนจากการทำกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการเหยียบย่ำ เรือวิ่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ปะการังมีโอกาสปรับตัวฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ และเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้ ปะการังเขากวาง ที่มีการฟอกขาวเป็นจำนวนมาก ในปี 53 มีการปรับตัวดีขึ้น เกิดการฟอกขาวน้อยลง ซึ่งจะเสนอให้ทางกรมอุทยานฯ พิจารณาในการจัดการปิดพื้นที่ต่อไป