ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 3 พฤษภาคม ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคณะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อมอบเสื้อที่ระลึกและข้อเรียกร้องเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยนายวันชัยระบุว่า วันที่ 3 พ.ค.เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงอยากให้ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ยังเป็นข้อจำกัดของสื่อมวลชน โดยเฉพาะประกาศ คสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เสรีภาพเท่าที่มีอยู่ ยังไม่พออีกหรือ ซึ่งนายวันชัยอธิบายว่า ไม่ใช่ว่าไม่พอ แต่เป็นการรณรงค์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชน ไม่ได้หมายถึงจะขอให้นายกฯ มอบเสรีภาพให้มากขึ้น แต่มีกฎหมายบางข้อที่อยากขอร้องให้นายกฯ ยกเลิก นายกฯจึงตอบกลับว่า "เราไปยุ่งอะไรกับพวกท่าน วันที่ระลึก ผมก็เข้าใจ และจะดูให้ แต่ถ้ายกเลิกบางข้อก็ต้องเพิ่มในบางข้อ ถึงอย่างไรขอให้ทุกคนมีความสุข ขอให้ทำเพื่อบ้านเมือง"
จากนั้น นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ได้กล่าวว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ทำให้นายกรัฐมนตรีถามกลับว่า “ใครพูด” จากนั้นผู้สื่อข่าวอาวุโสกล่าวว่า "ยุวดี" นายกฯ จึงกล่าวว่า “ระวังตัวด้วย” ซึ่งนางยุวดีกล่าวว่า “ไม่เป็นไรค่ะ ระวังอยู่แล้ว”
ทั้งนี้ทางนายกสมาคมฯ ได้เตรียมเอกสารแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" แต่ทีมงานนายกรัฐมนตรีขอไม่ให้ยื่นเอกสารแถลงการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างในการยื่นเอกสารถึงนายกรัฐมนตรี
สำหรับเสื้อที่มอบให้นายกฯ นั้น เป็นเสื้อยืดคอกลมสีดำล้วนทั้งตัว ด้านหน้าตรงหน้าอกมีสัญลักษณ์เครื่องหมายถูก และรูปนกพิราบตัวใหญ่สีเขียวบินนำหน้านกพิราบสีขาวตัวเล็กหลายตัวบนเครื่องหมายถูก ส่วนด้านหลังเสื้อเขียนข้อความว่า "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้สื่อทำงานด้วยความรับผิดชอบ
ภายหลังการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเรียกร้องของสมาคมนักข่าวฯ ว่า ก็พิจารณาดู วันนี้เสรีภาพยังไม่พอหรือ ผู้สื่อข่าวถามกลับว่า ไม่ได้เรียกร้องเพิ่ม นายกฯ กล่าวตอบว่า ให้ยกเลิกคำสั่งเหรอ ผู้สื่อข่าวกล่าวว่า ไม่ได้ให้ยกเลิก แต่อยากให้ช่วยเป็นหลักประกันในเรื่องพื้นที่การแสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่า วันนี้วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก อยากให้พูดว่ามีความพอใจในการทำงานของสื่อมวลชนในเรื่องอะไรบ้าง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ตนก็ต้องอดทน ถือว่าสื่อคือผู้ที่จะต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนโดยร่วม โดยที่ไม่มีการบิดเบือน และเข้าใจในบริบทการทำงาน เข้าใจในข้อกฎหมาย เข้าใจวิธีการปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา แต่ถ้าทุกคนยังทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม และทำข่าวเหมือนเดิม ประเทศชาติก็ไม่หลุดพ้นความขัดแย้ง แล้วมาบอกว่าตนไปโทษท่าน
"ผมก็พยายามทำให้เดินได้ ท่านก็มาบอกว่าตนมาทำให้หยุดชะงัก เพราะฝ่ายนู้น ท่านก็ขยายความไป ผมว่ามันไม่ใช่ วิธีการที่ทำงานอย่างสมบูรณ์ ถามว่าผมพอใจไหม อย่างน้อยผมก็ไม่ไปทะเลาะกับท่าน ผมก็ไม่ได้รังเกียจท่าน ถ้ารังเกียจ ผมไม่ยืนคุยกับท่านนานๆ เมื่อยขาเปล่าๆ ปากก็เมื่อยด้วย"
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ ต้องการสื่อแบบไหนในวันนี้ นายกฯ กล่าวว่า ต้องการสื่อที่ไม่ใช่แบบนี้ ที่พูดจาบิดเบือน ที่ไปเอาสิ่งที่คนทำความผิดมาพูด คนที่ทำผิดคดีความในศาลไม่ควรจะได้พูด หนีคดีด้วยไม่ควรพูด ไม่ควรขยายความให้เขา เท่านั้นเอง เข้าใจหรือไม่ ไม่เข้าใจ คลุมเครือ ไม่รู้จะคลุมเครืออะไรหนักหนา ถ้าเปิดโลกให้กว้าง มองให้ทะลุ มันเปิดได้หมด ตนไม่ได้หมายความให้ทุกคนเขียนข่าวให้ตน เอาใจตน ไม่ต้องการ ต้องการให้ท่านเขียนข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง การวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ต้องสุจริต มีข้อมูล ไม่ใช่ตื่นมาก็วิพากษ์วิจารณ์ไปเรื่อย ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ปัญหาภาคใต้ก็เขียนเลอะเทอะไปหมด นั้นแหละจะเสียแผ่นดินเพราะเขียนแบบนี้ เคยสำนึกไหม
“ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ ที่ไม่เข้าบริบทการแก้ปัญหา มองข้างเดียว มองสิทธิมนุษยชน แล้วละเมิดทหาร ตำรวจ ประชาชน พวกเขาตายไปเท่าไหร่ คิดถึงเขาไหม เขาตายเพื่อปกป้องคนที่บริสุทธิ์ คนใต้ คนอะไร คิดถึงบ้างไหม เขาไม่รักชีวิตเขาเหรอ คือขยายได้ แต่อย่าขยายเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องที่ควรขยาย เรื่องใดก็ตามที่มีผลกระทบต่อประเทศชาติ ท่านก็มาถามซะหน่อยว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร ไม่เห็นเคยถามอะไรผมเลย ถามแต่สิ่งที่ทำไปแล้วมันคลุมเครือ หรือไปฟังอีกพวกที่พูดมาหลายปีแล้วจนเกษียณ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการจัดงานวันเสรีภาพสื่อมวลโลก โดยนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายสุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกันอ่านแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยมีสโลแกนว่า "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" เรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 4 ข้อ ได้แก่
1.ขอให้รัฐบาล คสช.เร่งยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อฯ ทั้งประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557, ฉบับที่ 103/2557 และฉบับที่ 3/2558 ข้อ 5 โดยเร็ว กลับไปใช้กฎหมายปกติ 2.ขอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่จะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปสื่อ ได้คำนึงถึงกรอบที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ทำไว้ ส่วนการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน อันอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สนช.จึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบ 3.ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ประกอบธุรกิจสื่อมวลชนทุกแขนงตระหนักถึงการให้ความสำคัญในการทำหน้าที่เสนอข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รวมทั้งควรสนับสนุนให้เกิดระบบและกลไกกำกับดูแลกันเอง 4. ขอให้ประชาชนคิดก่อนแชร์ ก่อนโพสต์ภาพข่าวหรือข่าวสารใดๆ โดยยึดหลักความจริง ถูกต้อง หากไม่ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง อาจเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายมีโทษรุนแรง
จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง "เสรีภาพสื่อ...ประชาชนได้อะไร?" จัดขึ้นเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ, นางสุวรรณี ศรีสูงเนิน ผู้แทนกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ, น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และนายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
นายนิวัฒน์กล่าวว่า สื่อกับเสรีภาพเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดความคิดเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ประชาธิปไตย ถ้าสื่อไม่มีเสรีภาพก็เป็นเหมือนลูกจ้าง ไม่ใช่สื่อ ในปัจจุบันมีโครงการขนาดใหญ่เข้าไปกระทบต่อคนท้องถิ่น ถ้าไม่มีสื่อที่จะบอกความเดือดร้อนของประชาชนสาธารณะจะรับรู้ได้อย่างไร โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นสำคัญมาก เพราะอยู่ในพื้นที่รู้เห็นความเป็นมามากมาย แต่ถ้าโดนกระทำปิดกั้นมากก็จะไม่สามารถนำเสนอได้
ขณะที่นางสุวรรณีกล่าวว่า ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กำลังมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประชาชนออกมาต่อต้าน แต่ไม่มีสื่อเข้าไปรายงานออกมาให้ได้รับรู้ พอจะทอดผ้าป่า ต่อสู้คัดค้นทหารก็บอกว่าทำไม่ได้ การปกป้องบ้านของเรา เราปกป้องได้แค่ไหน ให้สื่อออกไปดูชาวบ้านด้วยว่าไม่มีเสรีภาพเลย อยากให้ คสช.ดูด้วยว่าชาวบ้านเดือดร้อนจริงๆ ทั้งเรื่องเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ส่วนนายไชยณรงค์กล่าวว่า ปัญหาคนชายขอบชนบทมักไม่ถูกพูดถึงในสื่อ หลังการรัฐประหาร คนเดือดร้อนที่สุดคือคนชนบท คนกรุงเทพฯ อาจมีความสุขที่ไม่มีความขัดแย้ง แต่ชนบทเกือบทั่วทุกหัวระแหงลำบากมาก อยู่ภายใต้ความหวาดกลัว การจัดสรรความมั่งคั่งของรัฐเอื้อประโยชน์ให้นายทุนมากกว่าคนจน มีการแย่งชิงทรัพยากรจากคนจนให้ทุนสะสมทุนได้มากขึ้น สื่อไม่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติแบบนี้ การรายงานข่าวด้านเดียวเป็นเรื่องอันตราย เพราะบางเรื่องเป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายมีอำนาจ ชาวบ้านถูกปิดล้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร คนที่จะช่วยได้คือสื่อมวลชน อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องโดดเดี่ยว สื่อต้องทำประเด็นเหล่านี้ให้เป็นประเด็นสาธารณะ จึงขอให้มีพื้นที่สำหรับเสียงของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมให้มากขึ้น
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เสรีภาพเท่าที่มีอยู่ ยังไม่พออีกหรือ ซึ่งนายวันชัยอธิบายว่า ไม่ใช่ว่าไม่พอ แต่เป็นการรณรงค์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชน ไม่ได้หมายถึงจะขอให้นายกฯ มอบเสรีภาพให้มากขึ้น แต่มีกฎหมายบางข้อที่อยากขอร้องให้นายกฯ ยกเลิก นายกฯจึงตอบกลับว่า "เราไปยุ่งอะไรกับพวกท่าน วันที่ระลึก ผมก็เข้าใจ และจะดูให้ แต่ถ้ายกเลิกบางข้อก็ต้องเพิ่มในบางข้อ ถึงอย่างไรขอให้ทุกคนมีความสุข ขอให้ทำเพื่อบ้านเมือง"
จากนั้น นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ได้กล่าวว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ทำให้นายกรัฐมนตรีถามกลับว่า “ใครพูด” จากนั้นผู้สื่อข่าวอาวุโสกล่าวว่า "ยุวดี" นายกฯ จึงกล่าวว่า “ระวังตัวด้วย” ซึ่งนางยุวดีกล่าวว่า “ไม่เป็นไรค่ะ ระวังอยู่แล้ว”
ทั้งนี้ทางนายกสมาคมฯ ได้เตรียมเอกสารแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" แต่ทีมงานนายกรัฐมนตรีขอไม่ให้ยื่นเอกสารแถลงการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างในการยื่นเอกสารถึงนายกรัฐมนตรี
สำหรับเสื้อที่มอบให้นายกฯ นั้น เป็นเสื้อยืดคอกลมสีดำล้วนทั้งตัว ด้านหน้าตรงหน้าอกมีสัญลักษณ์เครื่องหมายถูก และรูปนกพิราบตัวใหญ่สีเขียวบินนำหน้านกพิราบสีขาวตัวเล็กหลายตัวบนเครื่องหมายถูก ส่วนด้านหลังเสื้อเขียนข้อความว่า "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้สื่อทำงานด้วยความรับผิดชอบ
ภายหลังการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเรียกร้องของสมาคมนักข่าวฯ ว่า ก็พิจารณาดู วันนี้เสรีภาพยังไม่พอหรือ ผู้สื่อข่าวถามกลับว่า ไม่ได้เรียกร้องเพิ่ม นายกฯ กล่าวตอบว่า ให้ยกเลิกคำสั่งเหรอ ผู้สื่อข่าวกล่าวว่า ไม่ได้ให้ยกเลิก แต่อยากให้ช่วยเป็นหลักประกันในเรื่องพื้นที่การแสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่า วันนี้วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก อยากให้พูดว่ามีความพอใจในการทำงานของสื่อมวลชนในเรื่องอะไรบ้าง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ตนก็ต้องอดทน ถือว่าสื่อคือผู้ที่จะต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนโดยร่วม โดยที่ไม่มีการบิดเบือน และเข้าใจในบริบทการทำงาน เข้าใจในข้อกฎหมาย เข้าใจวิธีการปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา แต่ถ้าทุกคนยังทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม และทำข่าวเหมือนเดิม ประเทศชาติก็ไม่หลุดพ้นความขัดแย้ง แล้วมาบอกว่าตนไปโทษท่าน
"ผมก็พยายามทำให้เดินได้ ท่านก็มาบอกว่าตนมาทำให้หยุดชะงัก เพราะฝ่ายนู้น ท่านก็ขยายความไป ผมว่ามันไม่ใช่ วิธีการที่ทำงานอย่างสมบูรณ์ ถามว่าผมพอใจไหม อย่างน้อยผมก็ไม่ไปทะเลาะกับท่าน ผมก็ไม่ได้รังเกียจท่าน ถ้ารังเกียจ ผมไม่ยืนคุยกับท่านนานๆ เมื่อยขาเปล่าๆ ปากก็เมื่อยด้วย"
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ ต้องการสื่อแบบไหนในวันนี้ นายกฯ กล่าวว่า ต้องการสื่อที่ไม่ใช่แบบนี้ ที่พูดจาบิดเบือน ที่ไปเอาสิ่งที่คนทำความผิดมาพูด คนที่ทำผิดคดีความในศาลไม่ควรจะได้พูด หนีคดีด้วยไม่ควรพูด ไม่ควรขยายความให้เขา เท่านั้นเอง เข้าใจหรือไม่ ไม่เข้าใจ คลุมเครือ ไม่รู้จะคลุมเครืออะไรหนักหนา ถ้าเปิดโลกให้กว้าง มองให้ทะลุ มันเปิดได้หมด ตนไม่ได้หมายความให้ทุกคนเขียนข่าวให้ตน เอาใจตน ไม่ต้องการ ต้องการให้ท่านเขียนข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง การวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ต้องสุจริต มีข้อมูล ไม่ใช่ตื่นมาก็วิพากษ์วิจารณ์ไปเรื่อย ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ปัญหาภาคใต้ก็เขียนเลอะเทอะไปหมด นั้นแหละจะเสียแผ่นดินเพราะเขียนแบบนี้ เคยสำนึกไหม
“ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ ที่ไม่เข้าบริบทการแก้ปัญหา มองข้างเดียว มองสิทธิมนุษยชน แล้วละเมิดทหาร ตำรวจ ประชาชน พวกเขาตายไปเท่าไหร่ คิดถึงเขาไหม เขาตายเพื่อปกป้องคนที่บริสุทธิ์ คนใต้ คนอะไร คิดถึงบ้างไหม เขาไม่รักชีวิตเขาเหรอ คือขยายได้ แต่อย่าขยายเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องที่ควรขยาย เรื่องใดก็ตามที่มีผลกระทบต่อประเทศชาติ ท่านก็มาถามซะหน่อยว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร ไม่เห็นเคยถามอะไรผมเลย ถามแต่สิ่งที่ทำไปแล้วมันคลุมเครือ หรือไปฟังอีกพวกที่พูดมาหลายปีแล้วจนเกษียณ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการจัดงานวันเสรีภาพสื่อมวลโลก โดยนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายสุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกันอ่านแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยมีสโลแกนว่า "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" เรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 4 ข้อ ได้แก่
1.ขอให้รัฐบาล คสช.เร่งยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อฯ ทั้งประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557, ฉบับที่ 103/2557 และฉบับที่ 3/2558 ข้อ 5 โดยเร็ว กลับไปใช้กฎหมายปกติ 2.ขอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่จะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปสื่อ ได้คำนึงถึงกรอบที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ทำไว้ ส่วนการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน อันอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สนช.จึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบ 3.ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ประกอบธุรกิจสื่อมวลชนทุกแขนงตระหนักถึงการให้ความสำคัญในการทำหน้าที่เสนอข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รวมทั้งควรสนับสนุนให้เกิดระบบและกลไกกำกับดูแลกันเอง 4. ขอให้ประชาชนคิดก่อนแชร์ ก่อนโพสต์ภาพข่าวหรือข่าวสารใดๆ โดยยึดหลักความจริง ถูกต้อง หากไม่ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง อาจเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายมีโทษรุนแรง
จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง "เสรีภาพสื่อ...ประชาชนได้อะไร?" จัดขึ้นเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ, นางสุวรรณี ศรีสูงเนิน ผู้แทนกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ, น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และนายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
นายนิวัฒน์กล่าวว่า สื่อกับเสรีภาพเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดความคิดเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ประชาธิปไตย ถ้าสื่อไม่มีเสรีภาพก็เป็นเหมือนลูกจ้าง ไม่ใช่สื่อ ในปัจจุบันมีโครงการขนาดใหญ่เข้าไปกระทบต่อคนท้องถิ่น ถ้าไม่มีสื่อที่จะบอกความเดือดร้อนของประชาชนสาธารณะจะรับรู้ได้อย่างไร โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นสำคัญมาก เพราะอยู่ในพื้นที่รู้เห็นความเป็นมามากมาย แต่ถ้าโดนกระทำปิดกั้นมากก็จะไม่สามารถนำเสนอได้
ขณะที่นางสุวรรณีกล่าวว่า ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กำลังมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประชาชนออกมาต่อต้าน แต่ไม่มีสื่อเข้าไปรายงานออกมาให้ได้รับรู้ พอจะทอดผ้าป่า ต่อสู้คัดค้นทหารก็บอกว่าทำไม่ได้ การปกป้องบ้านของเรา เราปกป้องได้แค่ไหน ให้สื่อออกไปดูชาวบ้านด้วยว่าไม่มีเสรีภาพเลย อยากให้ คสช.ดูด้วยว่าชาวบ้านเดือดร้อนจริงๆ ทั้งเรื่องเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ส่วนนายไชยณรงค์กล่าวว่า ปัญหาคนชายขอบชนบทมักไม่ถูกพูดถึงในสื่อ หลังการรัฐประหาร คนเดือดร้อนที่สุดคือคนชนบท คนกรุงเทพฯ อาจมีความสุขที่ไม่มีความขัดแย้ง แต่ชนบทเกือบทั่วทุกหัวระแหงลำบากมาก อยู่ภายใต้ความหวาดกลัว การจัดสรรความมั่งคั่งของรัฐเอื้อประโยชน์ให้นายทุนมากกว่าคนจน มีการแย่งชิงทรัพยากรจากคนจนให้ทุนสะสมทุนได้มากขึ้น สื่อไม่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติแบบนี้ การรายงานข่าวด้านเดียวเป็นเรื่องอันตราย เพราะบางเรื่องเป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายมีอำนาจ ชาวบ้านถูกปิดล้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร คนที่จะช่วยได้คือสื่อมวลชน อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องโดดเดี่ยว สื่อต้องทำประเด็นเหล่านี้ให้เป็นประเด็นสาธารณะ จึงขอให้มีพื้นที่สำหรับเสียงของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมให้มากขึ้น