เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ช่วงก่อนการประชุมครม. นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อมอบเสื้อที่ระลึก และข้อเรียกร้องเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยนายวันชัย ระบุว่า วันที่ 3 พ.ค. เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงอยากให้ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ยังเป็นข้อจำกัดของสื่อมวลชน โดยเฉพาะคำสั่ง คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557
ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เสรีภาพเท่าที่มีอยู่ ยังไม่พออีกหรือ ซึ่งนายวันชัย อธิบายว่าไม่ใช่ว่าไม่พอ แต่เป็นการรณรงค์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชน ไม่ได้หมายถึงจะขอให้นายกฯมอบเสรีภาพให้มากขึ้น แต่มีกฎหมายบางข้อที่อยากขอร้องให้นายกฯ ยกเลิก พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบกลับไปว่า เราไปยุ่งอะไรกับพวกท่าน วันที่ระลึก ก็เข้าใจ และจะดูให้ แต่ถ้ายกเลิกบางข้อก็ต้องเพิ่มในบางข้อ ถึงอย่างไรก็ขอให้ทุกคนมีความสุข ขอให้ทำเพื่อบ้านเมือง
จากนั้นนางยุวดี ธัญศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส กล่าวว่า เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีหันกลับมา และถามว่าใครพูด จากนั้นผู้สื่อข่าวอาวุโส กล่าวว่า "ยุวดี" นายกรัฐมนตรี จึงกล่าวว่า ระวังตัวด้วย ซึ่งนางยุวดี กล่าวว่า ไม่เป็นไรค่ะ ระวังอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางนายกสมาคมนักข่าวฯ และคณะได้เตรียมเอกสารแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม 2559 "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" แต่ทีมงานนายกรัฐมนตรี ขอไม่ให้ยื่นแถลงการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องในการยื่นเอกสารถึงนายกฯ ขณะที่นายกฯ มีสีหน้าเรียบเฉย ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนอย่างเคย โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ในการพูดคุยกับคณะสื่อมวลชน
หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งว่า การทำงานของสื่อในวันนี้ ตนก็พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง แต่ก็ต้องอดทน ตนถือว่าสื่อคือผู้ที่จะต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนโดยร่วม โดยที่ไม่มีการบิดเบือน และเข้าใจในบริบทการทำงาน เข้าใจในข้อกฎหมาย เข้าใจวิธีการปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา แต่ถ้าทุกคนยังทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม และทำข่าวเหมือนเดิม ประเทศชาติก็ไม่หลุดพ้นความขัดแย้ง
"ผมต้องการสื่อที่ไม่ใช่แบบนี้ ที่พูดจาบิดเบือน ไปเอาสิ่งที่คนทำความผิดมาพูด คนที่ทำผิด มีคดีความในศาลไม่ควรจะได้พูด คนหนีคดีด้วยไม่ควรได้พูด ไม่ควรขยายความให้เขา เข้าใจหรือไม่ ผมไม่ได้หมายความ ให้ทุกคนเขียนข่าวให้ผม เอาใจผม ไม่ต้องการ ผมต้องการให้ท่านเขียนข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง การวิพากษ์ วิจารณ์อะไร ก็ต้องสุจริต มีข้อมูล ไม่ใช่ตื่นมาก็วิพากษ์ วิจารณ์ไปเรื่อยเปื่อย" นายกฯ กล่าว
ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เสรีภาพเท่าที่มีอยู่ ยังไม่พออีกหรือ ซึ่งนายวันชัย อธิบายว่าไม่ใช่ว่าไม่พอ แต่เป็นการรณรงค์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชน ไม่ได้หมายถึงจะขอให้นายกฯมอบเสรีภาพให้มากขึ้น แต่มีกฎหมายบางข้อที่อยากขอร้องให้นายกฯ ยกเลิก พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบกลับไปว่า เราไปยุ่งอะไรกับพวกท่าน วันที่ระลึก ก็เข้าใจ และจะดูให้ แต่ถ้ายกเลิกบางข้อก็ต้องเพิ่มในบางข้อ ถึงอย่างไรก็ขอให้ทุกคนมีความสุข ขอให้ทำเพื่อบ้านเมือง
จากนั้นนางยุวดี ธัญศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส กล่าวว่า เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีหันกลับมา และถามว่าใครพูด จากนั้นผู้สื่อข่าวอาวุโส กล่าวว่า "ยุวดี" นายกรัฐมนตรี จึงกล่าวว่า ระวังตัวด้วย ซึ่งนางยุวดี กล่าวว่า ไม่เป็นไรค่ะ ระวังอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางนายกสมาคมนักข่าวฯ และคณะได้เตรียมเอกสารแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม 2559 "ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ" แต่ทีมงานนายกรัฐมนตรี ขอไม่ให้ยื่นแถลงการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องในการยื่นเอกสารถึงนายกฯ ขณะที่นายกฯ มีสีหน้าเรียบเฉย ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนอย่างเคย โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ในการพูดคุยกับคณะสื่อมวลชน
หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งว่า การทำงานของสื่อในวันนี้ ตนก็พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง แต่ก็ต้องอดทน ตนถือว่าสื่อคือผู้ที่จะต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนโดยร่วม โดยที่ไม่มีการบิดเบือน และเข้าใจในบริบทการทำงาน เข้าใจในข้อกฎหมาย เข้าใจวิธีการปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา แต่ถ้าทุกคนยังทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม และทำข่าวเหมือนเดิม ประเทศชาติก็ไม่หลุดพ้นความขัดแย้ง
"ผมต้องการสื่อที่ไม่ใช่แบบนี้ ที่พูดจาบิดเบือน ไปเอาสิ่งที่คนทำความผิดมาพูด คนที่ทำผิด มีคดีความในศาลไม่ควรจะได้พูด คนหนีคดีด้วยไม่ควรได้พูด ไม่ควรขยายความให้เขา เข้าใจหรือไม่ ผมไม่ได้หมายความ ให้ทุกคนเขียนข่าวให้ผม เอาใจผม ไม่ต้องการ ผมต้องการให้ท่านเขียนข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง การวิพากษ์ วิจารณ์อะไร ก็ต้องสุจริต มีข้อมูล ไม่ใช่ตื่นมาก็วิพากษ์ วิจารณ์ไปเรื่อยเปื่อย" นายกฯ กล่าว