เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบราซิลยืนยันในวันพฤหัสบดี(11ก.พ.) ว่าพบกรณีติดเชื้อซิกาผ่านการถ่ายเลือดจากผู้บริจาคที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่กำลังแพร่ระบาดทั่วทวีปอเมริกาอยู่ในตอนนี้
หน่วยงานสาธารณสุขของกัมปินาส เมืองอุตสาหกรรมใกล้รัฐเซาเปาลู เปิดเผยว่าชายคนหนึ่งที่มีบาดแผลถูกยิงกลายเป็นผู้ติดเชื้อซิกา หลังจากได้รับการถ่ายเลือดหลายครั้งในเดือนเมษายน 2015 พร้อมระบุด้วยเหตุนี้เองทำให้สรุปว่าหนึ่งในผู้บริจาคเลือดที่ใช้สำหรับการถ่ายเลือดแก่ชายคนนี้นั้นติดเชื้อไวรัสซิกา
ปกติแล้วซิกาติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อผ่านการถ่ายเลือดจึงก่อความกังวลเพิ่มเติมในความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ ส่งผลให้บางประเทศเริ่มเข้มงวดขั้นตอนการรับบริจาคเลือดแล้ว เพื่อป้องกันคลังเลือดมีเชื้อซิกา
จนถึงตอนนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อซิกาแล้วใน 30 ประเทศ นับตั้งมันปรากฎตัวในทวีปอเมริกาเมื่อปลายปีก่อนในบราซิล ดินแดนที่พบว่าไวรัสชนิดนี้เชื่อมโยงกับภาวะทารกมีศีรษะเล็กผิดปกติและมีพัฒนาการทางสมองไม่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกัมปินาส บอกว่าผู้บริจาคเลือดปนเปื้อนมีอาการป่วยหลังจากนั้น แต่ตอนนั้นเข้าใจว่าเป็นไข้เลือดออก ขณะที่ผลการตรวจเลือดอย่างสมบูรณ์ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาติดเชื้อไวรัสซิกา เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
ส่วนศูนย์เลือดของมหาวิทยาลัยกัมปินาส เผยว่ามีบุคคลที่ 2 ที่แสดงอาการขณะบริจาคเลือดในเดือนพฤษภาคมปีก่อน และผลตรวจหาไวรัสซิกาก็ออกมาเป็นบวกเช่นกัน แม้ว่าผู้ได้รับเลือดปนเปื้อนจากเลือดของเขาไปนั้น ไม่แสดงอาการของไวรัสใดๆ
กระทรวงสาธารณสุขบราซิลระบุว่าผู้รับเลือดติดเชื้อรายแรกเสียชีวิตจากบาดแผลและไม่ใช่เป็นเพราะซิกา พร้อมเผยว่าได้ออกคำสั่งกำชับไปยังเหล่าธนาคารเลือดว่าบุุคคลที่ติดเชื้อซิกาหรือไข้เลือดออกไม่ได้รับอนุญาตให้บริจาคเลือดในช่วงเวลา 30 วันหลังจากฟื้นไข้อย่างสมบูรณ์
หน่วยงานสาธารณสุขของกัมปินาส เมืองอุตสาหกรรมใกล้รัฐเซาเปาลู เปิดเผยว่าชายคนหนึ่งที่มีบาดแผลถูกยิงกลายเป็นผู้ติดเชื้อซิกา หลังจากได้รับการถ่ายเลือดหลายครั้งในเดือนเมษายน 2015 พร้อมระบุด้วยเหตุนี้เองทำให้สรุปว่าหนึ่งในผู้บริจาคเลือดที่ใช้สำหรับการถ่ายเลือดแก่ชายคนนี้นั้นติดเชื้อไวรัสซิกา
ปกติแล้วซิกาติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อผ่านการถ่ายเลือดจึงก่อความกังวลเพิ่มเติมในความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ ส่งผลให้บางประเทศเริ่มเข้มงวดขั้นตอนการรับบริจาคเลือดแล้ว เพื่อป้องกันคลังเลือดมีเชื้อซิกา
จนถึงตอนนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อซิกาแล้วใน 30 ประเทศ นับตั้งมันปรากฎตัวในทวีปอเมริกาเมื่อปลายปีก่อนในบราซิล ดินแดนที่พบว่าไวรัสชนิดนี้เชื่อมโยงกับภาวะทารกมีศีรษะเล็กผิดปกติและมีพัฒนาการทางสมองไม่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกัมปินาส บอกว่าผู้บริจาคเลือดปนเปื้อนมีอาการป่วยหลังจากนั้น แต่ตอนนั้นเข้าใจว่าเป็นไข้เลือดออก ขณะที่ผลการตรวจเลือดอย่างสมบูรณ์ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาติดเชื้อไวรัสซิกา เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
ส่วนศูนย์เลือดของมหาวิทยาลัยกัมปินาส เผยว่ามีบุคคลที่ 2 ที่แสดงอาการขณะบริจาคเลือดในเดือนพฤษภาคมปีก่อน และผลตรวจหาไวรัสซิกาก็ออกมาเป็นบวกเช่นกัน แม้ว่าผู้ได้รับเลือดปนเปื้อนจากเลือดของเขาไปนั้น ไม่แสดงอาการของไวรัสใดๆ
กระทรวงสาธารณสุขบราซิลระบุว่าผู้รับเลือดติดเชื้อรายแรกเสียชีวิตจากบาดแผลและไม่ใช่เป็นเพราะซิกา พร้อมเผยว่าได้ออกคำสั่งกำชับไปยังเหล่าธนาคารเลือดว่าบุุคคลที่ติดเชื้อซิกาหรือไข้เลือดออกไม่ได้รับอนุญาตให้บริจาคเลือดในช่วงเวลา 30 วันหลังจากฟื้นไข้อย่างสมบูรณ์