นายพงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์ อุปนายกฝ่ายกฎหมาย สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงข้อสังเกตสำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา 14 กิโลเมตรของรัฐบาล คือ กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ ในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งยังมีหลายหน่วยงานร่วมกันดูแล เช่น กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร และกรมเจ้าท่า เพราะหากไม่มีกฎหมายรองรับจะเกิดปัญหาในภายหลัง
นางสาวปฐมา หรุ่นรักวิทย์ สถาปนิก สมาชิกกลุ่ม Friends For the River กล่าวว่า โครงการนี้ยังขาดการมีส่วนร่วมกับประชาชนอย่างเห็นได้ชัด พร้อมระบุว่า แต่ละชุมชนมีบริบทต่างกัน ดังนั้น วิธีการเก็บข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงต้องสอดคล้องกับชุมชน ไม่ใช่การทำแบบสอบถามอย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่ได้
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งรับเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ จะไม่สามารถดำเนินการตามศึกษาผลกระทบได้แล้วเสร็จภายใน 7 เดือนตามที่กำหนด เนื่องจากโครงการใหญ่ขนาดนี้ มีความซับซ้อนมาก
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มองว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการนี้ คือคนทั้งประเทศไม่ใช่คนในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น รวมทั้งควรสร้างทางเลือกให้ประชาชน มากกว่า การบังคับให้ยอมรับเพียงแนวทางเดียว
ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนายังเสนอว่า หากภาครัฐดำเนินการก่อสร้างจริง ภาคประชาชนสามารถฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อให้สั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ แต่ต้องมีข้อมูลชัดเจนว่า โครงการนี้ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม พร้อมย้ำว่า รัฐบาลไม่ควรใช้มาตรา 44 ในการแก้ปัญหานี้ เพราะจะยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคม
โครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา จะก่อสร้างเป็นทางเดิน ทางจักรยาน และพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน ตั้งแต่สะพานพระปิ่นเกล้าถึงสะพานพระราม 7 รวมระยะทางสองฝั่งรวม 14 กิโลเมตร มูลค่าโครงการกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาจะต้องศึกษาผลกระทบด้านระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ผังเมือง วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทางไหลของน้ำ โดยจะต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ รวมถึงหาข้อมูลทั่วไป และต้องจัดทำ EIA ออกแบบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด พร้อมจัดทำร่างทีโออาร์ที่จะนำไปสู่การจัดจ้างบริษัทรับเหมา เพื่อก่อสร้างโครงการด้วย คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคมนี้
นางสาวปฐมา หรุ่นรักวิทย์ สถาปนิก สมาชิกกลุ่ม Friends For the River กล่าวว่า โครงการนี้ยังขาดการมีส่วนร่วมกับประชาชนอย่างเห็นได้ชัด พร้อมระบุว่า แต่ละชุมชนมีบริบทต่างกัน ดังนั้น วิธีการเก็บข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงต้องสอดคล้องกับชุมชน ไม่ใช่การทำแบบสอบถามอย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่ได้
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งรับเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ จะไม่สามารถดำเนินการตามศึกษาผลกระทบได้แล้วเสร็จภายใน 7 เดือนตามที่กำหนด เนื่องจากโครงการใหญ่ขนาดนี้ มีความซับซ้อนมาก
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มองว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการนี้ คือคนทั้งประเทศไม่ใช่คนในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น รวมทั้งควรสร้างทางเลือกให้ประชาชน มากกว่า การบังคับให้ยอมรับเพียงแนวทางเดียว
ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนายังเสนอว่า หากภาครัฐดำเนินการก่อสร้างจริง ภาคประชาชนสามารถฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อให้สั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ แต่ต้องมีข้อมูลชัดเจนว่า โครงการนี้ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม พร้อมย้ำว่า รัฐบาลไม่ควรใช้มาตรา 44 ในการแก้ปัญหานี้ เพราะจะยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคม
โครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา จะก่อสร้างเป็นทางเดิน ทางจักรยาน และพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน ตั้งแต่สะพานพระปิ่นเกล้าถึงสะพานพระราม 7 รวมระยะทางสองฝั่งรวม 14 กิโลเมตร มูลค่าโครงการกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาจะต้องศึกษาผลกระทบด้านระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ผังเมือง วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทางไหลของน้ำ โดยจะต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ รวมถึงหาข้อมูลทั่วไป และต้องจัดทำ EIA ออกแบบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด พร้อมจัดทำร่างทีโออาร์ที่จะนำไปสู่การจัดจ้างบริษัทรับเหมา เพื่อก่อสร้างโครงการด้วย คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคมนี้