นายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสมาคมสถาปนิก กล่าวว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีกทม. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการประมูลหาบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นไปตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา มีกลุ่มบริษัทยื่นประมูลเพียงรายเดียว ส่งผลให้การประมูลดังกล่าวควรต้องเป็นโมฆะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายการข้อกำหนดการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา หรือ ทีโออาร์ ในโครงการจัดจ้างที่บริษัทที่ปรึกษาดังกล่าว มีความไม่เหมาะสมอย่างมาก ทำให้ไม่มีกลุ่มบริษัทใดๆ สามารถเสนอรับงานเป็นที่ปรึกษา ในโครงการได้ ดังนั้นสภาสถาปนิกและกลุ่มภาคีจึงเห็นว่ากทม. ควรมีการปรับแก้ทีโออาร์เพื่อความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ
สำหรับการกำหนดทีโออาร์เพื่อการออกแบบที่ถูกต้อง ควรมีผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการออกแบบในด้านงานสถาปัตยกรรมมีส่วนร่วมในการกำหนดทีโออาร์ โดยทีโออาร์ทั้งกทม.และรัฐบาลแสดงการกีดกันวิชาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากวิชาชีพวิศวกรรมในการเสนอแนะข้อมูลเป็นอย่างมาก
ดังนั้นสภาสถาปนิกจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ทีโออาร์ควรแบ่งแยกออกเป็น 2 ฉบับ โดยเป็นส่วนของการศึกษาจัดทำแผนแม่บท และส่วนของการสำรวจออกแบบโครงการ เพื่อให้สามารถระบุพื้นที่แม่บทที่มีความพร้อมดำเนินการได้ก่อนอย่างเหมาะสม ซึ่งที่ตั้งโครงการไม่ควรจำกัดในเพียงพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงพื้นที่ด้านในแผ่นดินที่เป็นพื้นที่เกี่ยวเนื่องด้วย อีกทั้งควรกำหนดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของการศึกษาโครงการอย่างชัดเจน
ด้านนายพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูถัมภ์กล่าวว่า โครงการทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะก่อสร้างระยะทางฝั่งละ 7 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รวมระยะทางสองฝั่งแม่น้ำ 14 กิโลเมตร ซึ่งตามแผนจะก่อสร้างเป็นโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ยื่นเข้าไปในแม่น้ำข้างละ 19.5 เมตร หรือประมาณขนาดถนนกว้าง 4 เลน โดยมีเสาตอม่อปักลงในลำน้ำ โดยใช้ประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 14,006 ล้านบาท หรืองบประมาณค่าก่อสร้าง 14 กิโลเมตร ระยะทางเมตรละประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการใช้งบประมาณจำนวนมากเกินความจำเป็น
ทั้งนี้สภาสถาปนิกและกลุ่มวิชาชีพมีความเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการสร้างพื้นที่สาธารณะแก่ประชาชน แต่การดำเนินโครงการควรเป็นไปด้วยความรอบคอบไม่ควรเร่งรีบในการทำงาน และลดตัดทอนขั้นตอนการทำงานที่สำคัญ
สำหรับการกำหนดทีโออาร์เพื่อการออกแบบที่ถูกต้อง ควรมีผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการออกแบบในด้านงานสถาปัตยกรรมมีส่วนร่วมในการกำหนดทีโออาร์ โดยทีโออาร์ทั้งกทม.และรัฐบาลแสดงการกีดกันวิชาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากวิชาชีพวิศวกรรมในการเสนอแนะข้อมูลเป็นอย่างมาก
ดังนั้นสภาสถาปนิกจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ทีโออาร์ควรแบ่งแยกออกเป็น 2 ฉบับ โดยเป็นส่วนของการศึกษาจัดทำแผนแม่บท และส่วนของการสำรวจออกแบบโครงการ เพื่อให้สามารถระบุพื้นที่แม่บทที่มีความพร้อมดำเนินการได้ก่อนอย่างเหมาะสม ซึ่งที่ตั้งโครงการไม่ควรจำกัดในเพียงพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงพื้นที่ด้านในแผ่นดินที่เป็นพื้นที่เกี่ยวเนื่องด้วย อีกทั้งควรกำหนดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของการศึกษาโครงการอย่างชัดเจน
ด้านนายพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูถัมภ์กล่าวว่า โครงการทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะก่อสร้างระยะทางฝั่งละ 7 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รวมระยะทางสองฝั่งแม่น้ำ 14 กิโลเมตร ซึ่งตามแผนจะก่อสร้างเป็นโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ยื่นเข้าไปในแม่น้ำข้างละ 19.5 เมตร หรือประมาณขนาดถนนกว้าง 4 เลน โดยมีเสาตอม่อปักลงในลำน้ำ โดยใช้ประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 14,006 ล้านบาท หรืองบประมาณค่าก่อสร้าง 14 กิโลเมตร ระยะทางเมตรละประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการใช้งบประมาณจำนวนมากเกินความจำเป็น
ทั้งนี้สภาสถาปนิกและกลุ่มวิชาชีพมีความเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการสร้างพื้นที่สาธารณะแก่ประชาชน แต่การดำเนินโครงการควรเป็นไปด้วยความรอบคอบไม่ควรเร่งรีบในการทำงาน และลดตัดทอนขั้นตอนการทำงานที่สำคัญ