นายพินิต เลิศอุดมธนา รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ตามที่กทม.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดหาที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปรากฎว่ามีเอกชนยื่นประมูลเพียงรายเดียวเท่านั้น ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ มีความจำเป็นต้องทำเรื่องเสนอยกเลิกประมูลดังกล่าว และได้ใช้แนวทางประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อเชิญชวนให้เป็นที่ปรึกษาแทน ทั้งนี้ล่าสุดได้ประสานไปยังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสนใจและมีศักยภาพและความพร้อม เนื่องจากมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติหลักการการว่าจ้าง ต่อไป คาดว่าในขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลา 2-3 เดือน จากนั้นจะได้ให้ สจล. ร่างรายละเอียดขอบเขตการทำงาน ระยะเวลา และงบประมาณ ซึ่งกทม.ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการว่าจ้างที่ปรึกษา 120 ล้านบาท ใช้ระยะเวลา 7 เดือน หากทาง สจล. ได้กำหนดรายละเอียดที่แตกต่างจากนี้ โดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขเวลา ต้องมาหารือร่วมกันอีกครั้ง
สำหรับกรณีที่มีนักศึกษาและบุคลากร สจล. บางส่วนออกมาคัดค้านแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับการศึกษาโครงการดังกล่าวนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างได้ จึงอยากให้ทุกความเห็นได้ร่วมกันเสนอเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด เพราะผลการศึกษายังไม่เป็นที่สรุป และคาดว่าทาง สจล. จะสามารถระดมความเห็นมาประกอบการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะก่อสร้างเป็นทางเดิน ทางจักรยาน และพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน ตั้งแต่สะพานพระปิ่นเกล้าถึงสะพานพระราม7 ระยะทางสองฝั่งรวม 14 กิโลเมตร งบประมาณทั้งโครงการ 14,000 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาต้องศึกษาผลกระทบด้านระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ผังเมือง วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทางไหลของน้ำ โดยจะต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ รวมถึงหาข้อมูลทั่วไป และต้องจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) อีกทั้งต้องออกแบบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด พร้อมจัดทำร่างทีโออาร์ที่นำไปสู่การจัดจ้างบริษัทรับเหมาเพื่อก่อสร้างโครงการด้วย
สำหรับกรณีที่มีนักศึกษาและบุคลากร สจล. บางส่วนออกมาคัดค้านแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับการศึกษาโครงการดังกล่าวนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างได้ จึงอยากให้ทุกความเห็นได้ร่วมกันเสนอเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด เพราะผลการศึกษายังไม่เป็นที่สรุป และคาดว่าทาง สจล. จะสามารถระดมความเห็นมาประกอบการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะก่อสร้างเป็นทางเดิน ทางจักรยาน และพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน ตั้งแต่สะพานพระปิ่นเกล้าถึงสะพานพระราม7 ระยะทางสองฝั่งรวม 14 กิโลเมตร งบประมาณทั้งโครงการ 14,000 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาต้องศึกษาผลกระทบด้านระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ผังเมือง วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทางไหลของน้ำ โดยจะต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ รวมถึงหาข้อมูลทั่วไป และต้องจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) อีกทั้งต้องออกแบบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด พร้อมจัดทำร่างทีโออาร์ที่นำไปสู่การจัดจ้างบริษัทรับเหมาเพื่อก่อสร้างโครงการด้วย