วันนี้ (22 ม.ค.) คณะกรรมการบริหารการยางแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กยท. ได้ประชุมร่วมกับนางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเชาว์ ทรงอาวุธ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่า กยท. และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อวางแนวทางดำเนินการรับซื้อยาง 1 แสนตัน จากชาวสวนยาง วงเงิน 4,500 ล้านบาท ตามโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ
นายเลิศวิโรจน์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จะเริ่มดำเนินการรับซื้อยางจากเกษตรกรรายย่อยโดยตรงในวันที่ 25 มกราคมนี้ ทั่วประเทศ โดยเบื้องต้นตั้งจุดรับซื้อ 834 จุด เพื่อนำมาใช้ตามความต้องการของกระทรวงต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะขายยางได้ราคาสูงกว่าตลาด ยืนยันว่าการรับซื้อจะไม่มีเกษตรกรตัวปลอมแน่นอน เพราะมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรสวนยาง มีการทำประชาคมติดประกาศในหมู่บ้าน 15 วัน ในพื้นที่รู้หมด นอกจากนี้ คสช.ได้ส่งกำลังทหารมาร่วมดูแลด้วย
ด้านนายเชาว์ กล่าวว่า มาตรการใช้ยางภาครัฐปี 59 มีปริมาณ 7-8 หมื่นตัน ทำให้ตลาดตอบรับราคาดีต่อเนื่อง จนขณะนี้ราคายางปรับขึ้นทุกตัว ยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 38 บาท ส่วนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนกับ กยท. มี 1.2 ล้านราย เป็นคนกรีดยาง 2 แสนราย และได้เปิดให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเพิ่มด้วย จะมีการรับซื้อยางทั้ง 3 ชนิด ทั้งยางแผ่นดิบ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย โดยบอร์ด กยท.เห็นชอบวงเงินก้อนแรกใช้เงินในโครงการนี้ 5,479 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ให้กฤษฎีกาตีความแล้ว กยท.สามารถใช้เงินทุนประเดิมก้อนแรก 500 ล้านบาท ที่บอร์ด กยท.สามารถอนุมัติได้ โดยเข้ารับซื้อวันที่ 25 มกราคมนี้ เป็นวันแรก เริ่มเวลา 09.00 น. ให้สิทธิรายละ 150 กิโลกรัม ตั้งจุดรับซื้อในภาคใต้ 400 กว่าจุด ภาคตะวันออก 30 จุด ภาคอีสาน 200 จุด และภาคเหนือ 200 จุด ตอนนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ลงไปในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.แล้ว เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้ความสะดวกแก่เกษตรกร และช่วยดูแลให้โปร่งใสมากที่สุด ทั้งนี้ จะเปิดจุดรับซื้อถึงวันที่ 30 มิถุนายน
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 มกราคมนี้ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาแหล่งที่มาของเงินเพิ่มเติมจาก 500 ล้านบาท ส่วนจะนำเงินเซสมาใช้รับซื้อยางได้หรือไม่นั้น บอร์ด กยท.กำลังประชุมกันอยู่
นายเลิศวิโรจน์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จะเริ่มดำเนินการรับซื้อยางจากเกษตรกรรายย่อยโดยตรงในวันที่ 25 มกราคมนี้ ทั่วประเทศ โดยเบื้องต้นตั้งจุดรับซื้อ 834 จุด เพื่อนำมาใช้ตามความต้องการของกระทรวงต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะขายยางได้ราคาสูงกว่าตลาด ยืนยันว่าการรับซื้อจะไม่มีเกษตรกรตัวปลอมแน่นอน เพราะมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรสวนยาง มีการทำประชาคมติดประกาศในหมู่บ้าน 15 วัน ในพื้นที่รู้หมด นอกจากนี้ คสช.ได้ส่งกำลังทหารมาร่วมดูแลด้วย
ด้านนายเชาว์ กล่าวว่า มาตรการใช้ยางภาครัฐปี 59 มีปริมาณ 7-8 หมื่นตัน ทำให้ตลาดตอบรับราคาดีต่อเนื่อง จนขณะนี้ราคายางปรับขึ้นทุกตัว ยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 38 บาท ส่วนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนกับ กยท. มี 1.2 ล้านราย เป็นคนกรีดยาง 2 แสนราย และได้เปิดให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเพิ่มด้วย จะมีการรับซื้อยางทั้ง 3 ชนิด ทั้งยางแผ่นดิบ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย โดยบอร์ด กยท.เห็นชอบวงเงินก้อนแรกใช้เงินในโครงการนี้ 5,479 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ให้กฤษฎีกาตีความแล้ว กยท.สามารถใช้เงินทุนประเดิมก้อนแรก 500 ล้านบาท ที่บอร์ด กยท.สามารถอนุมัติได้ โดยเข้ารับซื้อวันที่ 25 มกราคมนี้ เป็นวันแรก เริ่มเวลา 09.00 น. ให้สิทธิรายละ 150 กิโลกรัม ตั้งจุดรับซื้อในภาคใต้ 400 กว่าจุด ภาคตะวันออก 30 จุด ภาคอีสาน 200 จุด และภาคเหนือ 200 จุด ตอนนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ลงไปในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.แล้ว เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้ความสะดวกแก่เกษตรกร และช่วยดูแลให้โปร่งใสมากที่สุด ทั้งนี้ จะเปิดจุดรับซื้อถึงวันที่ 30 มิถุนายน
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 มกราคมนี้ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาแหล่งที่มาของเงินเพิ่มเติมจาก 500 ล้านบาท ส่วนจะนำเงินเซสมาใช้รับซื้อยางได้หรือไม่นั้น บอร์ด กยท.กำลังประชุมกันอยู่