เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม โรงแรมเอเชีย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะเปิดแถลงข่าวว่า ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ยุติการพิจารณาร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงาน โดยระบุว่า
กระทรวงพลังงานพยายามผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ ภาคประชาชนจึงต้องออกมาคัดค้านเพราะจะเป็นกฎหมายที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ ที่ผ่านมาภาคประชาชนได้คัดค้านจนมีการเลื่อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไป และรัฐบาลมีคำสั่งให้ตั้งคณะทำงาน มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานกับภาคประชาชนถึง 2 ครั้ง โดยตนได้ร่วมประชุมด้วย แต่กระทรวงพลังงานกลับไม่เคยส่งผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วม และไม่สนใจร่างแก้ไขฉบับของกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ทำร่วมกับภาคประชาชน แต่กลับเสนอฉบับของตนเองที่มีการแก้ไขน้อยมากและไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน มีเงื่อนงำ ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
"อยากเสนอให้รัฐบาลจัดเวทีเปิดให้ภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐได้แลกเปลี่ยนความเห็นเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมาย2ฉบับเปิดให้ประชาชนรับฟังจากนั้นให้ประชาชนมีมติว่าต้องการฉบับที่จัดทำจากฝ่ายใดมากกว่า เรื่องนี้สำคัญเพราะรัฐบาลต้องรับฟังประชาชนจึงจะเป็นการใช้อำนาจบริหารที่ถูกต้อง หากไม่รับฟังอยากให้รู้ว่าประชาชนจะไม่ยินยอม หากเป็นหมาก็พร้อมจะสู้สุดกำลังไม่เกรงกลัวแน่นอน" น.ต.ประสงค์กล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ ให้คนไทยทั้งประเทศตัดสินใจว่าต้องการให้ใช้ร่างแก้ไขกฎหมายของภาคประชาชนหรือของกระทรวง และอยากให้ประชาพิจารณ์ด้วยหากมีการขุดปิโตรเลียมขึ้นมารอบใหม่อยากให้ระบุว่าเป็นกรรมสิทธิของใคร ระหว่างประชาชนกับประเทศ เพราะในการจัดทำของกระทรวงพลังงานนั้นพบว่าได้เปิดทางให้เอกชนสามารถมีสิทธิในพื้นที่ปิโตรเลียมนานถึง 39 ปี ต่างกับกฎหมายฉบับเก่าที่กำหนดว่าเอกชนจะมีระยะเวลาสำรวจ 9 ปี ดำเนินการผลิต 20 ปี และขอต่ออายุอีก 10 ปี ดังนั้น ร่างกฎหมายของกระทรวง จึงมีความผิดปกติ มุ่งเน้นกลุ่มทุนพลังงานให้ผูกขาด
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญคือ ร่างกฎหมายกำหนดว่า หากเกิดข้อพิพาทจะเพิกถอนใบอนุญาตไม่ได้ ต้องให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสิน และในการดำเนินการระบบแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี) หัวใจคือ ตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาควบคุมปิโตรเลียมที่ได้รับจัดสรร แต่ร่างกฎหมายนี้กลับไม่กำหนดไว้ เท่ากับเปิดช่องให้กลุ่มทุนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทั้งหมด
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ( 8 ธันวาคม ) เวลาประมาณ 9.00 น. ภาคประชาชนจำนวนหนึ่งจะเดินทางไปที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อลงชื่อต่อต้านร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ฉบับกระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงานพยายามผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ ภาคประชาชนจึงต้องออกมาคัดค้านเพราะจะเป็นกฎหมายที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ ที่ผ่านมาภาคประชาชนได้คัดค้านจนมีการเลื่อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไป และรัฐบาลมีคำสั่งให้ตั้งคณะทำงาน มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานกับภาคประชาชนถึง 2 ครั้ง โดยตนได้ร่วมประชุมด้วย แต่กระทรวงพลังงานกลับไม่เคยส่งผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วม และไม่สนใจร่างแก้ไขฉบับของกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ทำร่วมกับภาคประชาชน แต่กลับเสนอฉบับของตนเองที่มีการแก้ไขน้อยมากและไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน มีเงื่อนงำ ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
"อยากเสนอให้รัฐบาลจัดเวทีเปิดให้ภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐได้แลกเปลี่ยนความเห็นเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมาย2ฉบับเปิดให้ประชาชนรับฟังจากนั้นให้ประชาชนมีมติว่าต้องการฉบับที่จัดทำจากฝ่ายใดมากกว่า เรื่องนี้สำคัญเพราะรัฐบาลต้องรับฟังประชาชนจึงจะเป็นการใช้อำนาจบริหารที่ถูกต้อง หากไม่รับฟังอยากให้รู้ว่าประชาชนจะไม่ยินยอม หากเป็นหมาก็พร้อมจะสู้สุดกำลังไม่เกรงกลัวแน่นอน" น.ต.ประสงค์กล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ ให้คนไทยทั้งประเทศตัดสินใจว่าต้องการให้ใช้ร่างแก้ไขกฎหมายของภาคประชาชนหรือของกระทรวง และอยากให้ประชาพิจารณ์ด้วยหากมีการขุดปิโตรเลียมขึ้นมารอบใหม่อยากให้ระบุว่าเป็นกรรมสิทธิของใคร ระหว่างประชาชนกับประเทศ เพราะในการจัดทำของกระทรวงพลังงานนั้นพบว่าได้เปิดทางให้เอกชนสามารถมีสิทธิในพื้นที่ปิโตรเลียมนานถึง 39 ปี ต่างกับกฎหมายฉบับเก่าที่กำหนดว่าเอกชนจะมีระยะเวลาสำรวจ 9 ปี ดำเนินการผลิต 20 ปี และขอต่ออายุอีก 10 ปี ดังนั้น ร่างกฎหมายของกระทรวง จึงมีความผิดปกติ มุ่งเน้นกลุ่มทุนพลังงานให้ผูกขาด
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญคือ ร่างกฎหมายกำหนดว่า หากเกิดข้อพิพาทจะเพิกถอนใบอนุญาตไม่ได้ ต้องให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสิน และในการดำเนินการระบบแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี) หัวใจคือ ตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาควบคุมปิโตรเลียมที่ได้รับจัดสรร แต่ร่างกฎหมายนี้กลับไม่กำหนดไว้ เท่ากับเปิดช่องให้กลุ่มทุนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทั้งหมด
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ( 8 ธันวาคม ) เวลาประมาณ 9.00 น. ภาคประชาชนจำนวนหนึ่งจะเดินทางไปที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อลงชื่อต่อต้านร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ฉบับกระทรวงพลังงาน