จากกรณีเมื่อปี 2556 ทางวัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ขึ้นป้ายประกาศว่าทางวัดมีโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณสุสานสาธารณะอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพนัญเชิงฯ เนื้อที่ทั้งหมด 20 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยส่วนรวม จึงห้ามบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น บุตรหลานที่ฝังศพบรรพชนไว้กว่า 1,600 หลุม ให้ขุดศพย้ายภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ต่อจากนั้นทางวัดได้มีหนังสือถึงทางมูลนิธิวัดพนัญเชิง (เซียง เต็ก ตึ้ง) ขนย้ายสิ่งของออกจากที่ดินวัด และแจ้งให้ผู้ที่มาใช้ประโยชน์หรือแสวงหาประโยชน์ในที่ดินของวัดระงับการใช้พื้นที่และเคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกไป ส่วนผู้ที่นำศพบรรพชนฝังในที่ดินของวัด ขอให้ติดต่อสอบถามและตรวจสอบเรื่องการเงินกับผู้ที่รับเงินจากท่านไป การรับ-จ่ายเงินค่าที่ดินสุสานดังกล่าว มิได้มีความเกี่ยวข้องกับวัดแต่ประการใดทั้งสิ้น ทางมูลนิธิวัดพนัญเชิงฯ ได้ประสานทางวัดและทางจังหวัด ประชุมหาทางออกกันหลายครั้งแต่ไม่เป็นผลหาข้อยุติไม่ได้ จึงส่งผลให้ทางวัดฟ้องมูลนิธิวัดพนัญเชิงฯ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 คดีหมายเลขดำที่ 985/2557 ระหว่าง วัดพนัญเชิงวรวิหาร โดยพระมหาเชิดชัย กตปุญโญ โจทก์ มูลนิธิเซียงเต็กตึ้ง จำเลยที่ 1 และนายวินัย อัศวราชันย์ (ประธานมูลนิธิ) จำเลยที่ 2
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 58 นายวินัย อัศวราชันย์ ประธานมูลนิธิวัดพนัญเชิง (เซียง เต็ก ตึ้ง) เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศาลชั้นต้น) ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 1 ต.ค.58 ดังนี้ 1. ให้จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท และให้รื้อถอนอาคารสำนักงานของจำเลย บ้านพักคนงาน และบริวาร (หมายถึงคนงาน) ออกไปจากที่ดินพิพาท และห้ามจำเลยไม่ให้รบกวนสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ 2. ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างก่อนจัดตั้งมูลนิธิจึงไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างของจำเลย ไม่ต้องรื้อ 3. ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เดือนละ 400 บาท จนกว่าจะรื้อสำนักงานของจำเลยและบ้านพักคนงานออกไปจากที่ดินโจทก์ 4. ฮวงซุ้ยและศพ เป็นของทายาทลูกหลาน ซึ่งเข้าฝังศพโดยเปิดเผย สุจริตตามเจตนาให้ทำสุสานสาธารณะของโจทก์ ไม่ต้องรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาท และ 5. ห้ามโจทก์ดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ขัดกับวัตถุประสงค์ของสุสานสาธารณกุศล
นายวินัย กล่าวต่อว่า ทางมูลนิธิ ไม่แพ้ และชนะ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิที่จะปกป้องสุสานไม่ให้ขุดย้ายหลุมศพ (ฮวงซุ้ย) ออกจากที่ดินวัด โดยส่วนตัวตนไม่อยากอุทธรณ์ต่อศาลแล้วให้เป็นไปตามนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางคณะกรรมการจะประชุมหารืออีกครั้ง เพราะทางวัดได้ฟ้องเพื่อจะนำที่ดินไปทำอย่างอื่น จึงขอกราบว่าทางวัดโปรดอย่าได้อุทธรณ์ศาลเลย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังไม่ใช่คำพิพากษาถึงที่สุด ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งโจทก์ หรือจำเลย อาจใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายของตนได้ภายใน 30 วัน
ด้าน พระมหาเชิดชัย กตปุญโญ รองเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิงวรวิหาร กล่าวว่า ปัจจุบันความเจริญได้เข้ามาอย่างรวดเร็ว วัดพนัญเชิงฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยววัดหนึ่งที่มีประชาชนมาเป็นจำนวนมาก มีพระภิกษุ-สามเณร จำนวนมากที่เล่าเรียนบาลี ทางวัดจึงเล็งเห็นว่าจะนำที่ดินของวัด (สุสาน) สร้างที่ปฏิบัติธรรม ที่พักของพระสงฆ์ ที่จอดรถ รองรับ AEC โดยทางวัดสร้างสาธารณประโยชน์เพื่อส่วนรวมทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามทางวัดยังไม่เห็นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรจากศาล จึงยังไม่แน่ใจถ้าเห็นแล้วก็จะปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องก่อนแล้วจะตัดสินใจจะดำเนินการอย่างไร
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 58 นายวินัย อัศวราชันย์ ประธานมูลนิธิวัดพนัญเชิง (เซียง เต็ก ตึ้ง) เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศาลชั้นต้น) ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 1 ต.ค.58 ดังนี้ 1. ให้จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท และให้รื้อถอนอาคารสำนักงานของจำเลย บ้านพักคนงาน และบริวาร (หมายถึงคนงาน) ออกไปจากที่ดินพิพาท และห้ามจำเลยไม่ให้รบกวนสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ 2. ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างก่อนจัดตั้งมูลนิธิจึงไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างของจำเลย ไม่ต้องรื้อ 3. ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เดือนละ 400 บาท จนกว่าจะรื้อสำนักงานของจำเลยและบ้านพักคนงานออกไปจากที่ดินโจทก์ 4. ฮวงซุ้ยและศพ เป็นของทายาทลูกหลาน ซึ่งเข้าฝังศพโดยเปิดเผย สุจริตตามเจตนาให้ทำสุสานสาธารณะของโจทก์ ไม่ต้องรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาท และ 5. ห้ามโจทก์ดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ขัดกับวัตถุประสงค์ของสุสานสาธารณกุศล
นายวินัย กล่าวต่อว่า ทางมูลนิธิ ไม่แพ้ และชนะ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิที่จะปกป้องสุสานไม่ให้ขุดย้ายหลุมศพ (ฮวงซุ้ย) ออกจากที่ดินวัด โดยส่วนตัวตนไม่อยากอุทธรณ์ต่อศาลแล้วให้เป็นไปตามนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางคณะกรรมการจะประชุมหารืออีกครั้ง เพราะทางวัดได้ฟ้องเพื่อจะนำที่ดินไปทำอย่างอื่น จึงขอกราบว่าทางวัดโปรดอย่าได้อุทธรณ์ศาลเลย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังไม่ใช่คำพิพากษาถึงที่สุด ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งโจทก์ หรือจำเลย อาจใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายของตนได้ภายใน 30 วัน
ด้าน พระมหาเชิดชัย กตปุญโญ รองเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิงวรวิหาร กล่าวว่า ปัจจุบันความเจริญได้เข้ามาอย่างรวดเร็ว วัดพนัญเชิงฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยววัดหนึ่งที่มีประชาชนมาเป็นจำนวนมาก มีพระภิกษุ-สามเณร จำนวนมากที่เล่าเรียนบาลี ทางวัดจึงเล็งเห็นว่าจะนำที่ดินของวัด (สุสาน) สร้างที่ปฏิบัติธรรม ที่พักของพระสงฆ์ ที่จอดรถ รองรับ AEC โดยทางวัดสร้างสาธารณประโยชน์เพื่อส่วนรวมทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามทางวัดยังไม่เห็นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรจากศาล จึงยังไม่แน่ใจถ้าเห็นแล้วก็จะปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องก่อนแล้วจะตัดสินใจจะดำเนินการอย่างไร