เราคงเห็นนายแพทย์ประเวศ วะสี เจ้าลัทธิสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ยืนอยู่บนเวทีเดียวกับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มือเศรษฐกิจของรัฐบาลผู้ขับเคลื่อนนโยบายประชานิยมที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บอกให้เรียกว่า ประชารัฐ
รวมทั้งเมื่อไม่นานมานี้หมอประเวศคนเดียวกันนี้เพิ่งเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หมอประเวศบอกว่า ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยคัดคนที่มีความสามารถสูงๆ จากพรรคการเมืองบวกคนนอกมาทำงานร่วมกันเพื่อฝึกความเคยชินของความร่วมมือกันเพื่อประเทศต่อไป เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วไม่ใช่ต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย รัฐบาลแห่งชาติพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
แต่คำถามก็คือ ประชาชนต้องการรัฐบาลแห่งชาติไหม ไม่ว่ากลุ่มการเมืองกลุ่มไหนสีเสื้อใด จะยอมรับได้หรือไม่ว่าผลการต่อสู้ที่บาดเจ็บล้มตายมานั้นได้รับผลตอบรับเป็นรัฐบาลแห่งชาติ
แต่ถ้าเราติดตามหมอประเวศมานาน เราจะพบว่าหมอประเวศสามารถเข้าถึงรัฐบาลทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลชวน รัฐบาลอภิสิทธิ์ มาจนถึงรัฐบาลประยุทธ์
อาจจะเป็นเพราะหนึ่งใน 3 เหลี่ยม 3 มุมของทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่เป็นจุดขายของหมอประเวศเสมอมา คือ การเชื่อมฝ่ายนโยบาย
แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาก็หมอประเวศนั้น เขาเขียนภาพ 3 เหลี่ยมขึ้นมารูปหนึ่ง แล้วมุมบนเขียนว่า ความรู้ (Knowledge) มุมล่างซ้ายเขียนว่า เคลื่อนไหวสังคม (Social Movement) และมุมขวาล่างเขียนว่า เชื่อมฝ่ายนโยบาย (Policy Link)
จากมุมล่างขวาที่บอกว่าเชื่อมฝ่ายนโยบาย ก็คือ คำอธิบายว่าต้องการเข้าสู่ศูนย์กลางของอำนาจรัฐนั่นเอง สามเหลี่ยมจึงจะขยับเขยื้อนภูเขาได้อย่างสมบูรณ์ วันนี้หมอประเวศจึงเข้ามาแนบชิดกับรัฐบาลประยุทธ์อีกครั้ง
หมอประเวศ ต้นตำรับหลักการ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อธิบายว่า การจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากต้องดำเนินการ 3 เรื่องไปพร้อมๆ กัน คือ การสร้างความรู้ การนำความรู้ไปเคลื่อนไหวสังคม ขณะเดียวกันเชื่อมโยงความรู้และการเคลื่อนไหวสังคมไปกับการดำเนินการทางการเมืองเพื่อเคลื่อนในเชิงระบบเชิงกติกาสังคม (กฎหมาย) หรือเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าพลังที่ต้องใช้มีทั้งอำนาจรัฐ อำนาจสังคม และอำนาจของความรู้
ว่ากันว่า การเข้าถึงอำนาจรัฐของหมอประเวศยังเอื้อต่อขุมข่ายอำนาจที่หมอประเวศสร้างขึ้นในนามขององค์กรตระกูล ส. ต่างๆ ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งมีการก่อตั้งองค์กรตระกูล ส. องค์กรแรกคือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จากนั้นตามมาด้วยการก่อตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ในปี 2542 ก่อตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในปี 2544 ก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปี 2545 ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในปี 2550 ก่อตั้งสำนักงานการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ในปี 2551 เป็นต้น
มีคนเรียกเครือข่ายตระกูล ส.ว่า เครือข่ายคนดี
เครือข่ายตระกูล ส. ที่มีคนจับจ้องมากคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รายได้ของ สสส.มาจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ จากการตรวจสอบเงินที่ สสส.ได้รับจากภาษีบาปตลอด 13 ปีที่ผ่านมา (2544-2557) รวมเป็นเงินกว่า 35,848 ล้านบาท
ว่ากันว่า ด้วยเงินที่ได้เหมือนปีหนึ่งลอยมา 2,000-3000 ล้านบาท ทำให้ สสส.มีเงินใช้จ่ายอย่างคล่องมือ เมื่อไม่นานมานี้มีคนเสนอการมอบเงินให้ สสส.ต้องผ่านระบบงบประมาณปกติ ก็มีการวิ่งคัดค้านกันตีนขวิด เพราะการรับเงินผ่านระบบงบประมาณนั้นผู้บริหารต้องเข้ามาชี้แจง โดยแสดงถึงภารกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงาน ผลผลิต กิจกรรมอย่างละเอียดทุกกิจกรรม รวมถึงแสดงถึงผลงาน ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขครบถ้วน ต้องผ่านรัฐสภา
โดยมีกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มหมอสามพรานนั่งไขว้สลับกันในองค์กรตระกูล ส. ต่างๆ บางคนเป็นบอร์ดอยู่ในหลายๆ องค์กร กระทั่งได้ฉายาว่า “หมอร้อยบอร์ด” ส่วนหัวขบวนของหมอสามพรานที่ถูกตั้งฉายา ว่า “หมอหลังม่านเหล็ก” ก็คือ หมอประเวศนี่เอง
สสส.ถูกวิจารณ์มากเรื่องการใช้เงินซึ่งแจกจ่ายให้กับเครือข่ายที่เข้าไปเสนอโครงการต่างๆ ว่า มีการมอบเงินให้กับองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ไม่กี่กลุ่มกี่องค์กร โดยมีข้ออ้างว่า เพราะกลุ่มเหล่านั้นมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งเรื่องการใช้เงินซื้อสื่อ มีหลักฐานชัดเจนว่า สำนักข่าวอิศราได้รับเงินอุดหนุนจาก สสส.นับร้อยล้านบาท แต่ละสำนักใน สสส.สามารถอนุมัติเงินได้หมด โดยแต่ละโครงการเสนอเนื้อหามาสอดคล้องกับสำนักไหนสำนักนั้นก็เป็นผู้อนุมัติ
แม้แต่ สตง.ก็เคยท้วงติงการใช้จ่ายของ สสส.ว่าให้งบประมาณแต่องค์กรหน้าเดิมๆ
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า สสส.ก็ทำเรื่องดีๆ หลายเรื่อง เพียงแต่ทำอย่างไรให้ข้อครหาเรื่องเล่นพรรคเล่นพวกหมดไป ใครรับเงินไปทำอะไรก็ให้สาธารณชนรับรู้
เมื่อไม่นานมานี้พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้ออกมาเรียกร้องให้ คสช. ตรวจสอบกลุ่มของหมอประเวศ และเครือข่ายว่า การทำงานที่ผ่านมาได้รับทุนจากที่ใดบ้างและถูกต้องหรือไม่
พญ.เชิดชู กล่าวว่า ที่ผ่านมา กลุ่ม นพ.ประเวศ มีการเขียนกฎหมายเพื่อดึงเอางบประมาณแผ่นดินมาตั้งกองทุน พร้อมกับตั้งตัวเองและพวกพ้องเข้ามาบริหารกองทุน หรือบางทีก็กลับมาเป็นผู้รับทุนเองด้วยซ้ำ ผ่านรูปแบบของการตั้งมูลนิธิทางด้านสาธารณสุข โดยไม่สามารถตรวจสอบการทำงานได้ เช่น กองทุนบูรณะเวศ ซึ่ง นพ.ประเวศ ก็เป็นผู้ตั้งเอง ก็คือการนำงบประมาณจากหน่วยงานรัฐมาใช้ผ่านกองทุนเข้าสู่มูลนิธิ เพื่อทำเรื่องการปรับคุณภาพน้ำในท้องถิ่น แต่กลับพบว่ามีการเรียกรับเงินจากประชาชน ทั้งที่ได้รับทุนมาเพื่อทำงานให้ประชาชน นอกจากนี้ ยังพบว่าในพื้นที่ จ.นนทบุรี มีการตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพจำนวนมาก ซึ่งอยากให้ คสช.ตรวจสอบกระบวนการดังกล่าวว่ามีการทุจริตหรือไม่
“กลุ่มเครือข่าย นพ.ประเวศ ก็เหมือนกับระบอบทักษิณ ที่ทำให้คนเห็นว่านโยบายที่ตนคิดขึ้นเป็นเรื่องดี แต่ความจริงแล้วเป็นการทำเพื่อพวกพ้องของตนเอง กลุ่มของหมอประเวศ จึงเหมือนกับระบอบทักษิณ ในระบบสาธารณสุขไทย” พญ.เชิดชู กล่าว
วันนี้ความแนบแน่นของรัฐบาลกับหมอประเวศนั้น คงบ่งชี้แล้วว่าข้อเรียกร้องของพญ.เชิดชูนั้นคงล่องลอยไปกับสายลม
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าไม่ว่าการเมืองจะออกหน้าไหนระบอบประเวศก็แข็งแกร่งเสมอ
รวมทั้งเมื่อไม่นานมานี้หมอประเวศคนเดียวกันนี้เพิ่งเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หมอประเวศบอกว่า ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยคัดคนที่มีความสามารถสูงๆ จากพรรคการเมืองบวกคนนอกมาทำงานร่วมกันเพื่อฝึกความเคยชินของความร่วมมือกันเพื่อประเทศต่อไป เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วไม่ใช่ต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย รัฐบาลแห่งชาติพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
แต่คำถามก็คือ ประชาชนต้องการรัฐบาลแห่งชาติไหม ไม่ว่ากลุ่มการเมืองกลุ่มไหนสีเสื้อใด จะยอมรับได้หรือไม่ว่าผลการต่อสู้ที่บาดเจ็บล้มตายมานั้นได้รับผลตอบรับเป็นรัฐบาลแห่งชาติ
แต่ถ้าเราติดตามหมอประเวศมานาน เราจะพบว่าหมอประเวศสามารถเข้าถึงรัฐบาลทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลชวน รัฐบาลอภิสิทธิ์ มาจนถึงรัฐบาลประยุทธ์
อาจจะเป็นเพราะหนึ่งใน 3 เหลี่ยม 3 มุมของทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่เป็นจุดขายของหมอประเวศเสมอมา คือ การเชื่อมฝ่ายนโยบาย
แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาก็หมอประเวศนั้น เขาเขียนภาพ 3 เหลี่ยมขึ้นมารูปหนึ่ง แล้วมุมบนเขียนว่า ความรู้ (Knowledge) มุมล่างซ้ายเขียนว่า เคลื่อนไหวสังคม (Social Movement) และมุมขวาล่างเขียนว่า เชื่อมฝ่ายนโยบาย (Policy Link)
จากมุมล่างขวาที่บอกว่าเชื่อมฝ่ายนโยบาย ก็คือ คำอธิบายว่าต้องการเข้าสู่ศูนย์กลางของอำนาจรัฐนั่นเอง สามเหลี่ยมจึงจะขยับเขยื้อนภูเขาได้อย่างสมบูรณ์ วันนี้หมอประเวศจึงเข้ามาแนบชิดกับรัฐบาลประยุทธ์อีกครั้ง
หมอประเวศ ต้นตำรับหลักการ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อธิบายว่า การจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากต้องดำเนินการ 3 เรื่องไปพร้อมๆ กัน คือ การสร้างความรู้ การนำความรู้ไปเคลื่อนไหวสังคม ขณะเดียวกันเชื่อมโยงความรู้และการเคลื่อนไหวสังคมไปกับการดำเนินการทางการเมืองเพื่อเคลื่อนในเชิงระบบเชิงกติกาสังคม (กฎหมาย) หรือเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าพลังที่ต้องใช้มีทั้งอำนาจรัฐ อำนาจสังคม และอำนาจของความรู้
ว่ากันว่า การเข้าถึงอำนาจรัฐของหมอประเวศยังเอื้อต่อขุมข่ายอำนาจที่หมอประเวศสร้างขึ้นในนามขององค์กรตระกูล ส. ต่างๆ ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งมีการก่อตั้งองค์กรตระกูล ส. องค์กรแรกคือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จากนั้นตามมาด้วยการก่อตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ในปี 2542 ก่อตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในปี 2544 ก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปี 2545 ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในปี 2550 ก่อตั้งสำนักงานการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ในปี 2551 เป็นต้น
มีคนเรียกเครือข่ายตระกูล ส.ว่า เครือข่ายคนดี
เครือข่ายตระกูล ส. ที่มีคนจับจ้องมากคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รายได้ของ สสส.มาจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ จากการตรวจสอบเงินที่ สสส.ได้รับจากภาษีบาปตลอด 13 ปีที่ผ่านมา (2544-2557) รวมเป็นเงินกว่า 35,848 ล้านบาท
ว่ากันว่า ด้วยเงินที่ได้เหมือนปีหนึ่งลอยมา 2,000-3000 ล้านบาท ทำให้ สสส.มีเงินใช้จ่ายอย่างคล่องมือ เมื่อไม่นานมานี้มีคนเสนอการมอบเงินให้ สสส.ต้องผ่านระบบงบประมาณปกติ ก็มีการวิ่งคัดค้านกันตีนขวิด เพราะการรับเงินผ่านระบบงบประมาณนั้นผู้บริหารต้องเข้ามาชี้แจง โดยแสดงถึงภารกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงาน ผลผลิต กิจกรรมอย่างละเอียดทุกกิจกรรม รวมถึงแสดงถึงผลงาน ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขครบถ้วน ต้องผ่านรัฐสภา
โดยมีกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มหมอสามพรานนั่งไขว้สลับกันในองค์กรตระกูล ส. ต่างๆ บางคนเป็นบอร์ดอยู่ในหลายๆ องค์กร กระทั่งได้ฉายาว่า “หมอร้อยบอร์ด” ส่วนหัวขบวนของหมอสามพรานที่ถูกตั้งฉายา ว่า “หมอหลังม่านเหล็ก” ก็คือ หมอประเวศนี่เอง
สสส.ถูกวิจารณ์มากเรื่องการใช้เงินซึ่งแจกจ่ายให้กับเครือข่ายที่เข้าไปเสนอโครงการต่างๆ ว่า มีการมอบเงินให้กับองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ไม่กี่กลุ่มกี่องค์กร โดยมีข้ออ้างว่า เพราะกลุ่มเหล่านั้นมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งเรื่องการใช้เงินซื้อสื่อ มีหลักฐานชัดเจนว่า สำนักข่าวอิศราได้รับเงินอุดหนุนจาก สสส.นับร้อยล้านบาท แต่ละสำนักใน สสส.สามารถอนุมัติเงินได้หมด โดยแต่ละโครงการเสนอเนื้อหามาสอดคล้องกับสำนักไหนสำนักนั้นก็เป็นผู้อนุมัติ
แม้แต่ สตง.ก็เคยท้วงติงการใช้จ่ายของ สสส.ว่าให้งบประมาณแต่องค์กรหน้าเดิมๆ
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า สสส.ก็ทำเรื่องดีๆ หลายเรื่อง เพียงแต่ทำอย่างไรให้ข้อครหาเรื่องเล่นพรรคเล่นพวกหมดไป ใครรับเงินไปทำอะไรก็ให้สาธารณชนรับรู้
เมื่อไม่นานมานี้พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้ออกมาเรียกร้องให้ คสช. ตรวจสอบกลุ่มของหมอประเวศ และเครือข่ายว่า การทำงานที่ผ่านมาได้รับทุนจากที่ใดบ้างและถูกต้องหรือไม่
พญ.เชิดชู กล่าวว่า ที่ผ่านมา กลุ่ม นพ.ประเวศ มีการเขียนกฎหมายเพื่อดึงเอางบประมาณแผ่นดินมาตั้งกองทุน พร้อมกับตั้งตัวเองและพวกพ้องเข้ามาบริหารกองทุน หรือบางทีก็กลับมาเป็นผู้รับทุนเองด้วยซ้ำ ผ่านรูปแบบของการตั้งมูลนิธิทางด้านสาธารณสุข โดยไม่สามารถตรวจสอบการทำงานได้ เช่น กองทุนบูรณะเวศ ซึ่ง นพ.ประเวศ ก็เป็นผู้ตั้งเอง ก็คือการนำงบประมาณจากหน่วยงานรัฐมาใช้ผ่านกองทุนเข้าสู่มูลนิธิ เพื่อทำเรื่องการปรับคุณภาพน้ำในท้องถิ่น แต่กลับพบว่ามีการเรียกรับเงินจากประชาชน ทั้งที่ได้รับทุนมาเพื่อทำงานให้ประชาชน นอกจากนี้ ยังพบว่าในพื้นที่ จ.นนทบุรี มีการตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพจำนวนมาก ซึ่งอยากให้ คสช.ตรวจสอบกระบวนการดังกล่าวว่ามีการทุจริตหรือไม่
“กลุ่มเครือข่าย นพ.ประเวศ ก็เหมือนกับระบอบทักษิณ ที่ทำให้คนเห็นว่านโยบายที่ตนคิดขึ้นเป็นเรื่องดี แต่ความจริงแล้วเป็นการทำเพื่อพวกพ้องของตนเอง กลุ่มของหมอประเวศ จึงเหมือนกับระบอบทักษิณ ในระบบสาธารณสุขไทย” พญ.เชิดชู กล่าว
วันนี้ความแนบแน่นของรัฐบาลกับหมอประเวศนั้น คงบ่งชี้แล้วว่าข้อเรียกร้องของพญ.เชิดชูนั้นคงล่องลอยไปกับสายลม
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าไม่ว่าการเมืองจะออกหน้าไหนระบอบประเวศก็แข็งแกร่งเสมอ