ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (3 ส.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ รวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ชะลอตัวลงในเดือนก.ค.และการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 4 เดือน นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลง และส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซาลงด้วย
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 ส.ค. ในแดนลบ โดยดัชนีดาวโจนส์ลดลง 91.66 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 17,598.20 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 5.8 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 2,098.04 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 12.9 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 5,115.38 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ขยับขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงในช่วงท้ายไตรมาส 2
ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ระดับ 52.7 ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับ 53.5 ในเดือนมิ.ย.
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.ค.
ส่วนราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ ตลาดนิวยอร์กสหรัฐ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส หรือWTI ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนก.ค. หลังจากที่พุ่งขึ้นอย่างมากในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่นายอับดุลลาห์ อัล-บาดรี เลขาธิการกลุ่มโอเปกยืนยันว่า โอเปกจะไม่ลดกำลังการผลิต แม้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็ตาม
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 1.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 45.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 2.69 ดอลลาร์ ปิดที่ 49.52 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,094.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยทองคำได้รับแรงกดดันหลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและเงินเยน อันเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ข้อมูลจ้างงานที่แข็งแกร่งในสัปดาห์นี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 ส.ค. ในแดนลบ โดยดัชนีดาวโจนส์ลดลง 91.66 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 17,598.20 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 5.8 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 2,098.04 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 12.9 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 5,115.38 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ขยับขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงในช่วงท้ายไตรมาส 2
ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ระดับ 52.7 ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับ 53.5 ในเดือนมิ.ย.
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.ค.
ส่วนราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ ตลาดนิวยอร์กสหรัฐ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส หรือWTI ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนก.ค. หลังจากที่พุ่งขึ้นอย่างมากในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่นายอับดุลลาห์ อัล-บาดรี เลขาธิการกลุ่มโอเปกยืนยันว่า โอเปกจะไม่ลดกำลังการผลิต แม้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็ตาม
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 1.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 45.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 2.69 ดอลลาร์ ปิดที่ 49.52 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,094.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยทองคำได้รับแรงกดดันหลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและเงินเยน อันเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ข้อมูลจ้างงานที่แข็งแกร่งในสัปดาห์นี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย