ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 11 พ.ค. ในแดนลบ โดยดัชนีดาวโจนส์ลดลง 85.94 จุด หรือ 0.47% ปิดที่ 18,105.17 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 10.77 จุด หรือ 0.51% ปิดที่ 2,105.33 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 9.98 จุด หรือ 0.20% ปิดที่ 4,993.57 จุด
นักลงทุนกำลังจับตาดูสถานการณ์ของประเทศกรีซ โดยรัฐบาลใหม่ของกรีซสามารถรวบรวมเงินจำนวน 750 ล้านยูโร เพื่อจ่ายหนี้ให้กับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ทันก่อนเส้นตายในวันอังคาร
อย่างไรก็ตาม เหล่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของชาติสมาชิกยูโรโซน ซึ่งกำลังประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ยังเสียงแตกเรื่องการอนุมัติแผนปฏิรูปเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือรอบใหม่ของกรีซ
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และความกังวลที่หวนคืนมาอีกครั้ง เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซอาจต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ฉุดให้ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นผลให้ราคาทองคำในวันจันทร์ (11พ.ค.) ปิดลบพอสมควร โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 5.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,183.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 14 เซนต์ ปิดที่ 59.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 48 เซนต์ ปิดที่ 64.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนเม.ย.
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. ลดลง 4,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.369 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนเม.ย.ขยับลงเพียง 1,000 บาร์เรล แตะที่ 31.295 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนกำลังจับตาดูสถานการณ์ของประเทศกรีซ โดยรัฐบาลใหม่ของกรีซสามารถรวบรวมเงินจำนวน 750 ล้านยูโร เพื่อจ่ายหนี้ให้กับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ทันก่อนเส้นตายในวันอังคาร
อย่างไรก็ตาม เหล่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของชาติสมาชิกยูโรโซน ซึ่งกำลังประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ยังเสียงแตกเรื่องการอนุมัติแผนปฏิรูปเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือรอบใหม่ของกรีซ
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และความกังวลที่หวนคืนมาอีกครั้ง เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซอาจต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ฉุดให้ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นผลให้ราคาทองคำในวันจันทร์ (11พ.ค.) ปิดลบพอสมควร โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 5.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,183.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 14 เซนต์ ปิดที่ 59.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 48 เซนต์ ปิดที่ 64.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนเม.ย.
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. ลดลง 4,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.369 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนเม.ย.ขยับลงเพียง 1,000 บาร์เรล แตะที่ 31.295 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย