นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนการปรับโครงสร้างใหม่ของกรมการบินพลเรือน ตามแนวทางการแก้ไขปัญหามาตรฐานความปลอดภัยทางการบิน (เอสเอสซี) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เสร็จแล้ว และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ พร้อมกับขอให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 เร่งการปรับโครงสร้างให้เสร็จโดยเร็ว
สำหรับแผนการปรับโครงสร้างใหม่ของกรมการบินพลเรือน จะมีการแยกองค์กรเป็น 4 องค์กรคือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจการบินทั้งสายการบิน และสนามบิน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการท่า อากาศยาน สังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่บริหารสนามบินของกรมการบินพลเรือนเดิม 28 แห่ง ขณะที่ 2 หน่วยงานที่เหลือดูแลเรื่องความปลอดภัย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของเรือและอากาศยานที่ประสบภัย และสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต ส่วนการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ จะนัดหารือในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คม นาคม เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเนื้อหาของกฎหมายอีกครั้ง ก่อนเสนอ ครม.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยเร็วเช่นกัน ส่วนขั้นตอนการแก้ปัญหามาตรฐานความปลอดภัยทางการบินช่วงต่อจากนี้จะต้องเร่งดำเนินการตามแผนที่เสนอไอซีเอโอไว้
นายวรเดชกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมการบินพลเรือนจะต้องเร่งจัดเตรียมข้อมูล เพื่อรองรับการเข้ามาตรวจสอบจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป (เอียซ่า) รวมถึงองค์การการบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟเอเอ) จะเดินทางมาตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของไทยเพิ่มเติมในวันที่ 13-19 ก.ค.นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เชื่อว่าจะไม่มีองค์การการบินพลเรือนชาติใด ออกมาตรการเพิ่มเติมต่อประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาได้มีการเข้ามาตรวจสอบหลายแห่งแล้ว ที่สำคัญก่อนหน้านี้ตัวแทนรัฐบาลเดินทางไปชี้แจงประเทศต่างๆ ให้เข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทยแล้ว
ด้านนายหลุยส์ จูเนียร์ มอเซอร์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (เอโอซี) กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าการที่ประเทศไทยถูกปักธงแดงจากไอซีเอโอ จะทำให้สายการบินที่เน้นธุรกิจแบบเช่าเหมาลำที่ไม่มีตารางการบินแบบประจำ และต้องขออนุญาตทำการบินแบบรายเดือน หรือรายฤดูกาลจะได้รับผลกระทบ เพราะการติดสถานะธงแดงอาจทำให้องค์การการบินพลเรือนของประเทศต่างๆ ใช้เป็นข้อพิจารณาในการปฏิเสธไม่อนุญาตให้บินเข้าประเทศได้ เหมือนกับก่อนหน้านี้ที่ญี่ปุ่นเคยห้ามสายการบินที่ไม่มีตารางบินประจำมาแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดออกมาตรการเพิ่มเติมเข้ามาและต้องจับตาดูท่าทีต่อไป ส่วนการแก้ไขปัญหาเอสเอสซีต้องการให้รัฐบาลดูบทเรียนประเทศที่เคยติดธงแดงไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการบินจากไอซีเอโอเป็นแบบอย่าง เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เพื่อดูว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ผ่านการประเมินในครั้งต่อไป โดยเชื่อว่าการแก้ไขอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ถึงจะแก้ไขได้เห็นผลที่ชัดเจนและยั่งยืน
สำหรับแผนการปรับโครงสร้างใหม่ของกรมการบินพลเรือน จะมีการแยกองค์กรเป็น 4 องค์กรคือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจการบินทั้งสายการบิน และสนามบิน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการท่า อากาศยาน สังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่บริหารสนามบินของกรมการบินพลเรือนเดิม 28 แห่ง ขณะที่ 2 หน่วยงานที่เหลือดูแลเรื่องความปลอดภัย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของเรือและอากาศยานที่ประสบภัย และสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต ส่วนการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ จะนัดหารือในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คม นาคม เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเนื้อหาของกฎหมายอีกครั้ง ก่อนเสนอ ครม.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยเร็วเช่นกัน ส่วนขั้นตอนการแก้ปัญหามาตรฐานความปลอดภัยทางการบินช่วงต่อจากนี้จะต้องเร่งดำเนินการตามแผนที่เสนอไอซีเอโอไว้
นายวรเดชกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมการบินพลเรือนจะต้องเร่งจัดเตรียมข้อมูล เพื่อรองรับการเข้ามาตรวจสอบจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป (เอียซ่า) รวมถึงองค์การการบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟเอเอ) จะเดินทางมาตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของไทยเพิ่มเติมในวันที่ 13-19 ก.ค.นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เชื่อว่าจะไม่มีองค์การการบินพลเรือนชาติใด ออกมาตรการเพิ่มเติมต่อประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาได้มีการเข้ามาตรวจสอบหลายแห่งแล้ว ที่สำคัญก่อนหน้านี้ตัวแทนรัฐบาลเดินทางไปชี้แจงประเทศต่างๆ ให้เข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทยแล้ว
ด้านนายหลุยส์ จูเนียร์ มอเซอร์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (เอโอซี) กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าการที่ประเทศไทยถูกปักธงแดงจากไอซีเอโอ จะทำให้สายการบินที่เน้นธุรกิจแบบเช่าเหมาลำที่ไม่มีตารางการบินแบบประจำ และต้องขออนุญาตทำการบินแบบรายเดือน หรือรายฤดูกาลจะได้รับผลกระทบ เพราะการติดสถานะธงแดงอาจทำให้องค์การการบินพลเรือนของประเทศต่างๆ ใช้เป็นข้อพิจารณาในการปฏิเสธไม่อนุญาตให้บินเข้าประเทศได้ เหมือนกับก่อนหน้านี้ที่ญี่ปุ่นเคยห้ามสายการบินที่ไม่มีตารางบินประจำมาแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดออกมาตรการเพิ่มเติมเข้ามาและต้องจับตาดูท่าทีต่อไป ส่วนการแก้ไขปัญหาเอสเอสซีต้องการให้รัฐบาลดูบทเรียนประเทศที่เคยติดธงแดงไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการบินจากไอซีเอโอเป็นแบบอย่าง เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เพื่อดูว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ผ่านการประเมินในครั้งต่อไป โดยเชื่อว่าการแก้ไขอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ถึงจะแก้ไขได้เห็นผลที่ชัดเจนและยั่งยืน