คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดยศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา โดย คปก.มีความเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีผู้ไต่สวนอิสระเข้ามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบและไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากในปัจจุบันมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่ตรวจสอบและไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับอยู่แล้ว หากมีการตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาจะทำให้การตั้งผู้ไต่สวนอิสระมีอำนาจหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการป.ป.ช.
นอกจากนี้ จากบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ที่กำหนดให้มีผู้ไต่สวนอิสระนั้น คปก.มีความเห็นว่า แม้เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อการเพิ่มกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช. ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา แต่การที่ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ที่มาของผู้ไต่สวนอิสระมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา หากผู้ไต่สวนอิสระดำเนินการไต่สวนและยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ศาลฎีกาจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินคดีนั้นเอง ซึ่งหากเป็นกรณีที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ไต่สวนคดีเป็นผู้พิจารณาคดีนั้นเสียเอง ย่อมเป็นการขัดกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุล กล่าวคือ องค์กรศาลฎีกาจะเป็นผู้ใช้ทั้งอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการในคราวเดียวกัน คปก.จึงมีความเห็นว่า หากมีการปรับปรุงกระบวนการสรร- หากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและเป็นอิสระแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ไต่สวนอิสระอีก
นอกจากนี้ จากบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ที่กำหนดให้มีผู้ไต่สวนอิสระนั้น คปก.มีความเห็นว่า แม้เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อการเพิ่มกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช. ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา แต่การที่ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ที่มาของผู้ไต่สวนอิสระมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา หากผู้ไต่สวนอิสระดำเนินการไต่สวนและยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ศาลฎีกาจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินคดีนั้นเอง ซึ่งหากเป็นกรณีที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ไต่สวนคดีเป็นผู้พิจารณาคดีนั้นเสียเอง ย่อมเป็นการขัดกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุล กล่าวคือ องค์กรศาลฎีกาจะเป็นผู้ใช้ทั้งอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการในคราวเดียวกัน คปก.จึงมีความเห็นว่า หากมีการปรับปรุงกระบวนการสรร- หากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและเป็นอิสระแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ไต่สวนอิสระอีก