นักวิเคราะห์แสดงความเป็นห่วง หลังประเทศมหาอำนาจ 6 ประเทศคือ สหรัฐฯ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และจีน เห็นพ้องในกรอบข้อตกลงจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ว่า กว่าจะไปถึงการลงนามทำข้อตกลงภายในวันที่ 30 มิถุนายน ยังมีประเด็นเปราะบางอีกหลายประการ อาทิ หากฝ่ายนิติบัญญัติสหรัฐ ไม่เห็นด้วยกับกรอบข้อตกลงจะทำอย่างไร และจะมีฝ่ายใดรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ถึงแม้จะมีข้อตกลง การฟื้นสัมพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านยังต้องใช้เวลาอีกนาน ความร่วมมือในอนาคตยังเป็นไปอย่างจำกัด ทุกสิ่งจะยังดำเนินไปตามปกติ เนื่องจากความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านหยั่งรากลึกด้วยถ้อยคำที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากัน ดังนั้น เพียงข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน คงไม่สามารถยุติความแตกแยกที่ร้าวลึกและความไม่ไว้วางใจระหว่างกันได้ ซึ่งประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ ทราบข้อจำกัดในการดำเนินความพยายามทางการทูตกับอิหร่านดี ซึ่งข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านถือเป็นเพียงผลงานชิ้นสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์ตะวันออกกลางของประธานาธิบดีโอบามาเท่านั้น
นอกจากนี้ ถึงแม้จะมีข้อตกลง การฟื้นสัมพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านยังต้องใช้เวลาอีกนาน ความร่วมมือในอนาคตยังเป็นไปอย่างจำกัด ทุกสิ่งจะยังดำเนินไปตามปกติ เนื่องจากความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านหยั่งรากลึกด้วยถ้อยคำที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากัน ดังนั้น เพียงข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน คงไม่สามารถยุติความแตกแยกที่ร้าวลึกและความไม่ไว้วางใจระหว่างกันได้ ซึ่งประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ ทราบข้อจำกัดในการดำเนินความพยายามทางการทูตกับอิหร่านดี ซึ่งข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านถือเป็นเพียงผลงานชิ้นสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์ตะวันออกกลางของประธานาธิบดีโอบามาเท่านั้น