xs
xsm
sm
md
lg

ครม.สัญจร ไฟเขียวแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร วันนี้ (27 มี.ค.) มีมติเห็นชอบ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อใช้เป็นกรอบการลงทุนและการดำเนินงานในระยะเวลา 8 ปี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติ โดยคิดเป็นวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,912,681.79 ล้านล้านบาท
โดยโครงการลงทุนคมนาคมพื้นฐาน 1.9 ล้านล้านบาทของรัฐบาลครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนและพัฒนาเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง ทั้งการลงทุน การจ้างงาน การขนส่งสินค้าทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว พร้อมทั้งแก้ปัญหาการจราจรทั้งกรุงเทพมหานคร และเชื่อมโครงข่ายเส้นทางทั่วประเทศไทย
สำหรับการลงทุนประกอบด้วย 5 แผนงาน ได้แก่ 1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง อาทิ โครงการรถไฟรางคู่ 2. การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ การจัดซื้อรถโดยสารประจำทองเชื้อเพลิง NGV 3,183 คัน การสร้างถนน สะพานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3. การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวง เพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ โครงการก่อสร้างทางหลวงชนบทสนับสนุนการเกษตรและการท่องเที่ยว โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งสินค้าเชียงของ
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ อาทิ ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ท่าเรือจังหวัดอ่างทอง ท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย ท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่สาม และ 5.การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ อาทิ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต แม่สอด และโครงการก่อสร้างสนามบินเบตง จ.ยะลาในส่วนของการจัดหาวงเงินลงทุนนั้น รัฐบาลมีนโยบายรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด และยึดหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ พร้อมเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อลดภาระทางการคลัง ซึ่งในส่วนของวงเงินลงทุนจะมาจาก 4 แหล่ง คือ งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล จำนวน 5.4 แสนล้านบาท แผนบริหารหนี้สาธารณะ 9.86 แสนล้านบาท เงินรายได้รัฐวิสาหกิจ 8.5 หมื่นล้านบาท และ การร่วมทุนภาคเอกชน (PPP) อีก 2.98 แสนล้านบาท
สำหรับแผนการลงทุนครั้งนี้จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดต้นทุนของระบบลอจิสติกส์ของประเทศ จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 14.4 จะเหลือร้อยละ 2 ในปี 2570 สัดส่วนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลจะลดลงจากปัจจุบัน ร้อยละ 59 เหลือเพียงร้อยละ 40 ในปี 2570 ลดความสูญเสียการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี โดยประชาชนจะได้รับความสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และระบบราง ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า และรถโดยสาร จะเพิ่มขิ้น มีการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนกับอาเซียน ทำให้ปริมาณการค้าชายแดนสูงขึ้น และสนามบินพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งสุวรรณภูมิ และดอนเมือง จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศได้มากขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 63 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านคนต่อปี ในปี 2559 รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูง
กำลังโหลดความคิดเห็น