พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) ว่า พื้นที่ภาคตะวันออกของไทยเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องวางแผนและบริหารจัดการเพื่อแยกการใช้พื้นที่ และการจัดโครงข่ายด้านคมนาคมขนส่ง ให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ เพื่อมีความปลอดภัยสูงสุดและดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องตกค้างมา 6-7 เดือน จึงต้องเร่งติดตาม รวมถึงการแก้ไขปัญหาโครงข่ายทางอากาศ
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตรวจสอบข้อมูลการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และท่าอากาศยานตราด นำเสนอที่ประชุม กพอ.ในครั้งหน้าเพื่อนำมาเพิ่มในแผนการพัฒนาในส่วนของการขนส่งทางอากาศ
ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คณะกรรมการ กพอ.เห็นชอบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง แต่ไม่รวมโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร ระหว่างปี 2558-2564 วงเงินกว่า 109,913 ล้านบาท เบื้องต้นการพัฒนาโครงข่ายทางถนนจะเป็นแผนระยะเร่งด่วน คือ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือ มอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ลักษณะโครงการเป็นทางหลวงพิเศษ ที่ควบคุมการเข้าออกเริ่มต้นแยกจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชลบุรี-พัทยา ผ่านพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สิ้นสุดที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 20,200 ล้านบาท คาดว่าเร็วๆ นี้จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบงบประมาณและอนุมัติโครงการ และเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปลายปี 2558 โดยจะใช้แหล่งเงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์มาเป็นค่าก่อสร้าง
ส่วนโครงข่ายถนนเพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ขณะนี้การก่อสร้างทางแยกต่างระดับหนองขาม และการก่อสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์จะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมนี้ ส่วนระบบราง จะมีโครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาท ซึ่งรอประกวดราคา
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตรวจสอบข้อมูลการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และท่าอากาศยานตราด นำเสนอที่ประชุม กพอ.ในครั้งหน้าเพื่อนำมาเพิ่มในแผนการพัฒนาในส่วนของการขนส่งทางอากาศ
ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คณะกรรมการ กพอ.เห็นชอบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง แต่ไม่รวมโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร ระหว่างปี 2558-2564 วงเงินกว่า 109,913 ล้านบาท เบื้องต้นการพัฒนาโครงข่ายทางถนนจะเป็นแผนระยะเร่งด่วน คือ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือ มอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ลักษณะโครงการเป็นทางหลวงพิเศษ ที่ควบคุมการเข้าออกเริ่มต้นแยกจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชลบุรี-พัทยา ผ่านพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สิ้นสุดที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 20,200 ล้านบาท คาดว่าเร็วๆ นี้จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบงบประมาณและอนุมัติโครงการ และเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปลายปี 2558 โดยจะใช้แหล่งเงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์มาเป็นค่าก่อสร้าง
ส่วนโครงข่ายถนนเพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ขณะนี้การก่อสร้างทางแยกต่างระดับหนองขาม และการก่อสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์จะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมนี้ ส่วนระบบราง จะมีโครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาท ซึ่งรอประกวดราคา