“ประจิน”เผยผลเจรจารถไฟทางคู่ไทย-จีน ราบรื่นตามแผน เบื้องต้นคุยดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 2% เตรียมหารืออีกรอบที่ไทย 10-11 มี.ค.นี้ พร้อมลงพื้นที่ จ.หนองคาย สำรวจที่ตั้งสถานีหลักและเชื่อมไปลาว ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ตั้งคณะทำงานร่วมและเสนอ 3 เส้นทางให้เลือก
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปหารือ ร่วมไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า
ได้มีการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุนซึ่งเบื้องต้นสรุป ว่าจะใช้รูปแบบ EPC (Engineering Procurement Construction) โดยจีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ปลอดหนี้ 4 ปีแรก และให้เวลาชำระหนี้ 20 ปี โดยรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ จีนรับหน้าที่สำรวจ ออกแบบ จัดหาระบบ และร่วมก่อสร้าง โดยการหารือในครั้งนี้ได้ตกลงร่วมกันว่าดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 2% จากก่อนหน้านี้ที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่2-4% ซึ่งทางจีนยืนยันว่าไม่ได้เสนออัตราดังกล่าวตายตัว
ทั้งนี้ ยังได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดย ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักและมีสัดส่วนในการทำงานมากกว่า 50% ประกอบด้วย งานเวนคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) การก่อสร้างงานโยธา ยกเว้นแต่เป็นงานก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การเจาะอุโมงค์ งานวางระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณ ที่จะต้องให้ทางจีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก รวมถึงงานสำรวจ ออกแบบ และศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งจีนจะดำเนินการช่วงแรกจากนั้นจะโอนงานให้ไทย โดยในวันที่ 10-11มีนาคมนี้กระทรวงคมนาคมของไทยจะหารือร่วมกับผู้แทนรัฐบาลจีนอีกครั้ง พร้อมลงพื้นที่จ.หนองคาย เพื่อสำรวจที่ตั้งสถานีหลักและพิจารณาเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) รวมทั้งชี้แจงโครงการแก่ประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้นไทยและจีนจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน(Memorandum of Cooperation : MOC)เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียดการแบ่งงานระหว่าง2 ฝ่าย
“ การลงนามMOCรวมกัน เพื่อความชัดเจนในการแบ่งงาน ว่าใครรับผิดชอบเรื่องใด เนื่องจากจะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะงานช่วงแรกที่ฝ่ายไทยต้องดำเนินการระหว่างรอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อนุมัติรูปแบบลงทุน ไทยและจีนก็ต้องช่วยกันออกเงินไปก่อน ตรงนี้แหละที่ต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน”
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงผลการเดินทางร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากนี้ ฝ่ายไทยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับทางญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบรางร่วมกันตามข้อตกลงที่ได้มีการร่วมลงนามใน บันทึกแสดงเจตจำนงหรือ MOI (Memorandum of Intent) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางรถไฟพัฒนาระบบรางของประเทศญี่ปุ่น โดยไทยเสนอให้พิจารณา 3 เส้นทาง คือ 1.แม่สอด (จ.ตาก)-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กม. 2. พุน้ำร้อน (จ.กาญจนบุรี)-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง339 กม. และ 3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กม. โดยไทยจะให้ญี่ปุ่นเลือกได้ 1 เส้นทางเท่านั้น ซึ่งทางญี่ปุ่นยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเลือกเส้นทางใด
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปหารือ ร่วมไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า
ได้มีการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุนซึ่งเบื้องต้นสรุป ว่าจะใช้รูปแบบ EPC (Engineering Procurement Construction) โดยจีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ปลอดหนี้ 4 ปีแรก และให้เวลาชำระหนี้ 20 ปี โดยรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ จีนรับหน้าที่สำรวจ ออกแบบ จัดหาระบบ และร่วมก่อสร้าง โดยการหารือในครั้งนี้ได้ตกลงร่วมกันว่าดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 2% จากก่อนหน้านี้ที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่2-4% ซึ่งทางจีนยืนยันว่าไม่ได้เสนออัตราดังกล่าวตายตัว
ทั้งนี้ ยังได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดย ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักและมีสัดส่วนในการทำงานมากกว่า 50% ประกอบด้วย งานเวนคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) การก่อสร้างงานโยธา ยกเว้นแต่เป็นงานก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การเจาะอุโมงค์ งานวางระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณ ที่จะต้องให้ทางจีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก รวมถึงงานสำรวจ ออกแบบ และศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งจีนจะดำเนินการช่วงแรกจากนั้นจะโอนงานให้ไทย โดยในวันที่ 10-11มีนาคมนี้กระทรวงคมนาคมของไทยจะหารือร่วมกับผู้แทนรัฐบาลจีนอีกครั้ง พร้อมลงพื้นที่จ.หนองคาย เพื่อสำรวจที่ตั้งสถานีหลักและพิจารณาเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) รวมทั้งชี้แจงโครงการแก่ประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้นไทยและจีนจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน(Memorandum of Cooperation : MOC)เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียดการแบ่งงานระหว่าง2 ฝ่าย
“ การลงนามMOCรวมกัน เพื่อความชัดเจนในการแบ่งงาน ว่าใครรับผิดชอบเรื่องใด เนื่องจากจะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะงานช่วงแรกที่ฝ่ายไทยต้องดำเนินการระหว่างรอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อนุมัติรูปแบบลงทุน ไทยและจีนก็ต้องช่วยกันออกเงินไปก่อน ตรงนี้แหละที่ต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน”
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงผลการเดินทางร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากนี้ ฝ่ายไทยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับทางญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบรางร่วมกันตามข้อตกลงที่ได้มีการร่วมลงนามใน บันทึกแสดงเจตจำนงหรือ MOI (Memorandum of Intent) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางรถไฟพัฒนาระบบรางของประเทศญี่ปุ่น โดยไทยเสนอให้พิจารณา 3 เส้นทาง คือ 1.แม่สอด (จ.ตาก)-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กม. 2. พุน้ำร้อน (จ.กาญจนบุรี)-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง339 กม. และ 3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กม. โดยไทยจะให้ญี่ปุ่นเลือกได้ 1 เส้นทางเท่านั้น ซึ่งทางญี่ปุ่นยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเลือกเส้นทางใด