น.ส.รัตนา ปานกลิ่น ผู้ประสานงานสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชนกว่า 30 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญคือยกเลิกกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในการจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
น.ส.รัตนา กล่าวว่า เครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากไม่มีหลักประกันว่าการใช้เงินกองทุนใหม่จะเป็นไปเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อที่ดี และเป็นประโยชน์สร้างการรู้เท่าทันแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์เน้นพัฒนาสื่อดิจิตอลเป็นหลัก อีกทั้งขยายนิยามขอบเขตการใช้เงินให้กว้างขวางออกไปถึงการกู้ยืม ลงทุนและซื้อที่ดิน ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์และเป้าหมายของการก่อเกิดกองทุนก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไม่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมเพราะไม่มีการระบุประเด็นที่สนับสนุนความเข้มแข็งของผู้บริโภคหรือส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขาดองค์ประกอบผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและการคุ้มครองผู้บริโภค จะทำให้การบริหารกองทุนและการอนุมัติโครงการขาดมิติด้านสังคม
ทั้งนี้ เครือข่ายจึงขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลฯ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อหลักการจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควรต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญคือ วัตถุประสงค์การใช้เงินต้องชัดเจน ตรงกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกองทุน เป็นไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสื่อที่ดี การรู้เท่าทันสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง มีการกระจายงบประมาณอย่างทั่วถึง กว้างขวาง เป็นธรรม บนหลักการที่มีธรรมาภิบาลและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องไม่ละเลยมิติทางสังคม และการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย โดยคำนึงถึงและให้ความสำคัญลำดับแรกต่อผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติและมีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
น.ส.รัตนา กล่าวว่า เครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากไม่มีหลักประกันว่าการใช้เงินกองทุนใหม่จะเป็นไปเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อที่ดี และเป็นประโยชน์สร้างการรู้เท่าทันแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์เน้นพัฒนาสื่อดิจิตอลเป็นหลัก อีกทั้งขยายนิยามขอบเขตการใช้เงินให้กว้างขวางออกไปถึงการกู้ยืม ลงทุนและซื้อที่ดิน ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์และเป้าหมายของการก่อเกิดกองทุนก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไม่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมเพราะไม่มีการระบุประเด็นที่สนับสนุนความเข้มแข็งของผู้บริโภคหรือส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขาดองค์ประกอบผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและการคุ้มครองผู้บริโภค จะทำให้การบริหารกองทุนและการอนุมัติโครงการขาดมิติด้านสังคม
ทั้งนี้ เครือข่ายจึงขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลฯ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อหลักการจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควรต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญคือ วัตถุประสงค์การใช้เงินต้องชัดเจน ตรงกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกองทุน เป็นไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสื่อที่ดี การรู้เท่าทันสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง มีการกระจายงบประมาณอย่างทั่วถึง กว้างขวาง เป็นธรรม บนหลักการที่มีธรรมาภิบาลและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องไม่ละเลยมิติทางสังคม และการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย โดยคำนึงถึงและให้ความสำคัญลำดับแรกต่อผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติและมีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ