น้ำมันร่วงอีกราวๆ 2 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์(12ธ.ค.) หลังหน่วยงานเฝ้าระวังด้านพลังงานโลกปรับลดคาดการณ์ราคาในปีหน้าจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและอุปทานล้นตลาด
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม ลดลง 2.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 57.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปแตะ 57.34 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.83 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปแตะ 61.35 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฏคม 2009
ราคาน้ำมันร่วงลงจนฉุดไม่อยู่ โดยสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐลดลงต่ำกว่า 58 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันศุกร์ หลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาได้ลดลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552
ราคาน้ำมันแตะระดับต่ำอย่างที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงสุดเมื่อปี 2552 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ภายหลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์ในปี 2558 นับเป็นสัญญาณล่าสุดว่าตลาดจะยังคงอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาดในปีหน้า
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาดได้ฉุดให้ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 40% นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. และยิ่งมีแรงเทขายมากขึ้น หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงเพดานการผลิตไว้เท่าเดิมในการประชุมเดือนที่แล้ว
โดยโอเปค ซึ่งผลิตน้ำมันหนึ่งในสามของโลก มีมติคงเพดานการผลิตที่ 30 ล้านบาร์เรล/วัน ในการประชุมที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 27 พ.ย.
ราคาน้ำมันที่ลดลงน่าจะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศที่มีการบริโภคพลังงานสูง แต่ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงก็อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และนำไปสู่การลดการลงทุนด้านการขุดเจาะน้ำมันในโครงการใหญ่ๆหลายโครงการ
ในรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือนธ.ค. IEA ได้ปรับลดแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2558 ลง 230,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 0.9 ล้านบาร์เรล/วัน จากการคาดการณ์ว่าการบริโภคเชื้อเพลิงจะลดต่ำลงในรัสเซีย และประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่นๆ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คูเวต ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโอปค ประกาศลดราคาน้ำมันดิบเดือนม.ค.ให้กับลูกค้าในเอเชีย กลายเป็นสมาชิกโอเปครายที่ 3 ที่เสนอลดราคาน้ำมัน ตามหลังซาอุดิอาระเบีย และอิรัก ซึ่งเทรดเดอร์มองว่าการแข่งขันเรื่องราคาน้ำมันของบรรดาผู้ผลิตจะยิ่งฉุดให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีก
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม ลดลง 2.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 57.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปแตะ 57.34 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.83 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปแตะ 61.35 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฏคม 2009
ราคาน้ำมันร่วงลงจนฉุดไม่อยู่ โดยสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐลดลงต่ำกว่า 58 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันศุกร์ หลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาได้ลดลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552
ราคาน้ำมันแตะระดับต่ำอย่างที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงสุดเมื่อปี 2552 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ภายหลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์ในปี 2558 นับเป็นสัญญาณล่าสุดว่าตลาดจะยังคงอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาดในปีหน้า
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาดได้ฉุดให้ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 40% นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. และยิ่งมีแรงเทขายมากขึ้น หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงเพดานการผลิตไว้เท่าเดิมในการประชุมเดือนที่แล้ว
โดยโอเปค ซึ่งผลิตน้ำมันหนึ่งในสามของโลก มีมติคงเพดานการผลิตที่ 30 ล้านบาร์เรล/วัน ในการประชุมที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 27 พ.ย.
ราคาน้ำมันที่ลดลงน่าจะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศที่มีการบริโภคพลังงานสูง แต่ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงก็อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และนำไปสู่การลดการลงทุนด้านการขุดเจาะน้ำมันในโครงการใหญ่ๆหลายโครงการ
ในรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือนธ.ค. IEA ได้ปรับลดแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2558 ลง 230,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 0.9 ล้านบาร์เรล/วัน จากการคาดการณ์ว่าการบริโภคเชื้อเพลิงจะลดต่ำลงในรัสเซีย และประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่นๆ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คูเวต ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโอปค ประกาศลดราคาน้ำมันดิบเดือนม.ค.ให้กับลูกค้าในเอเชีย กลายเป็นสมาชิกโอเปครายที่ 3 ที่เสนอลดราคาน้ำมัน ตามหลังซาอุดิอาระเบีย และอิรัก ซึ่งเทรดเดอร์มองว่าการแข่งขันเรื่องราคาน้ำมันของบรรดาผู้ผลิตจะยิ่งฉุดให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีก