น้ำมันโลกดิ่งลงแรงอีกครั้งเมื่อวันศุกร์(24ต.ค.) นักลงทุนไม่มั่นใจว่าทิศทางขาขึ้นหนึ่งวันก่อนหน้านี้จะยั่งยืนแค่ไหน
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 81.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 70 เซนต์ ปิดที่ 86.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 86.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งสัปดาห์ ราคาขยับลง 3 เซนต์ และเป็นการปรับตัวลดลง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน
การปรับลงของราคาน้ำมัน หลังจากพุ่งพรวดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เมื่อมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ลดปริมาณการส่งออกน้ำมันในเดือนที่แล้ว
โดยซาอุดิอาระเบียได้ส่งออกน้ำมันเข้าสู่ตลาดโลกในปริมาณ 9.36 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ย. ลดลง 328,000 บาร์เรลจากเดือนส.ค.
อุปทานที่มีอยู่อย่างมากพอนั้นยังคงเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันดิบ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์
โดยสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 7.1 ล้านบาร์เรล แตะ 377.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.1 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 953,000 บาร์เรล สู่ระดับ 20.6 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ ตลาดยังติดตามผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่มีต่อเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดมีรายงานว่า แพทย์ชาวนิวยอร์กที่เพิ่งเดินทางกลับจากแอฟริกาตะวันตกติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทำให้เขากลายเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกในนิวยอร์ก
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 81.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 70 เซนต์ ปิดที่ 86.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 86.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งสัปดาห์ ราคาขยับลง 3 เซนต์ และเป็นการปรับตัวลดลง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน
การปรับลงของราคาน้ำมัน หลังจากพุ่งพรวดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เมื่อมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ลดปริมาณการส่งออกน้ำมันในเดือนที่แล้ว
โดยซาอุดิอาระเบียได้ส่งออกน้ำมันเข้าสู่ตลาดโลกในปริมาณ 9.36 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ย. ลดลง 328,000 บาร์เรลจากเดือนส.ค.
อุปทานที่มีอยู่อย่างมากพอนั้นยังคงเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันดิบ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์
โดยสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 7.1 ล้านบาร์เรล แตะ 377.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.1 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 953,000 บาร์เรล สู่ระดับ 20.6 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ ตลาดยังติดตามผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่มีต่อเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดมีรายงานว่า แพทย์ชาวนิวยอร์กที่เพิ่งเดินทางกลับจากแอฟริกาตะวันตกติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทำให้เขากลายเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกในนิวยอร์ก