พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ผู้บริหารกระทรวงคมนาคมนัดหารือนายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดย ก.ล.ต.จะนำเสนอรูปแบบการลงทุนที่จะดำเนินการภายใต้กองทุนดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้ภาพการลงทุนตามกรอบยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการลงทุนตามกรอบยุทธศาสตร์นั้น กระทรวงคมนาคมจะแบ่งแผนการลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ โครงการที่จะลงทุน โดยใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนหรือจัดเก็บรายได้หลังการเปิดใช้โครงการเป็นที่น่าพอใจ หรือดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้ ขณะที่อีกส่วนจะเป็นการลงทุนลักษณะร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี)
สำหรับโครงการที่เป็นไปได้ที่จะมีการใช้เงินของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดำเนินการ เช่น สุวรรณภูมิเฟส 2 ซึ่งจะชัดเจนว่าการลงทุนโครงการดังกล่าวส่วนหนึ่งจะใช้เงินลงทุนของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. หรือส่วนใดจะใช้เป็นเงินกู้ เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ วันนี้ (3ธ.ค.) กระทรวงคมนาคมยังได้หารือนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สอบถามความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 ซึ่งจะมีการแก้ไขเพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนตามโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจยืนยันว่า ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะเสร็จและเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเสร็จ สคร.มั่นใจว่าการลงทุนตามกรอบพีพีพีจะทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนโครงการใดจะเข้าหลักการลงทุนพีพีพีนั้น เบื้องต้นมีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ข้อ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ โครงการชัดเจนว่ารัฐจำเป็นต้องลงทุน โครงการชัดเจนว่าต้องนำเอกชนร่วมลงทุน และโครงการที่เอกชนเข้ามารับความเสี่ยงส่วนหนึ่งของโครงการ ซึ่งเอกชนก็มีผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการลงทุนตามกรอบยุทธศาสตร์นั้น กระทรวงคมนาคมจะแบ่งแผนการลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ โครงการที่จะลงทุน โดยใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนหรือจัดเก็บรายได้หลังการเปิดใช้โครงการเป็นที่น่าพอใจ หรือดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้ ขณะที่อีกส่วนจะเป็นการลงทุนลักษณะร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี)
สำหรับโครงการที่เป็นไปได้ที่จะมีการใช้เงินของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดำเนินการ เช่น สุวรรณภูมิเฟส 2 ซึ่งจะชัดเจนว่าการลงทุนโครงการดังกล่าวส่วนหนึ่งจะใช้เงินลงทุนของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. หรือส่วนใดจะใช้เป็นเงินกู้ เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ วันนี้ (3ธ.ค.) กระทรวงคมนาคมยังได้หารือนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สอบถามความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 ซึ่งจะมีการแก้ไขเพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนตามโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจยืนยันว่า ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะเสร็จและเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเสร็จ สคร.มั่นใจว่าการลงทุนตามกรอบพีพีพีจะทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนโครงการใดจะเข้าหลักการลงทุนพีพีพีนั้น เบื้องต้นมีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ข้อ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ โครงการชัดเจนว่ารัฐจำเป็นต้องลงทุน โครงการชัดเจนว่าต้องนำเอกชนร่วมลงทุน และโครงการที่เอกชนเข้ามารับความเสี่ยงส่วนหนึ่งของโครงการ ซึ่งเอกชนก็มีผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าว