นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจเห็นชอบให้ กฟผ.จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) แล้ว ขั้นตอนต่อไป จะต้องนำเสนอขอความเห็นชอบ จาก ครม. หลังจากนั้นยื่นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อได้รับการอนุมัติ กฟผ.ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ทำหนังสือชี้ชวน ภาพรวมๆแล้วจะดำเนินการและเสนอขายให้แก่ประชาชนภายใน 3เดือนนี้ หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยขนาดของทุนอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาทและ เป็นส่วนของ กฟผ.ร้อยละ 25 หรือ 5 พันล้านบาท
“กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กฟผ.เป็นการนำร่องกองแรกของรัฐวิสาหกิจ ลดภาระหนี้ภาครัฐ แต่ก็ต้องยอมรับว่าต้นทุนการเงินจะสูงขึ้นกว่ารูปแบบเดิมที่การกู้รัฐจะค้ำประกัน โดยกองแรกนี้จะใช้รายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือเป็นทรัพย์สินในการระดมทุน อายุกองทุน 15-20 ปี”นายสุนชัยกล่าว
สำหรับเม็ดเงินจากการระดมทุนนี้ไปลงทุนในการพัฒนา โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และโครงการขยายระบบส่งของ กฟผ.ปี 2558-2559 โดย กฟผ.จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในปี 2558 กว่า 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กฟผ.ได้เตรียมแผนงานรองรับไว้แล้ว โดยได้ว่าจ้างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ 1 พ.ย.2556 และคัดเลือก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAMทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ภายหลังการจัดตั้งเสร็จแล้ว
“กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กฟผ.เป็นการนำร่องกองแรกของรัฐวิสาหกิจ ลดภาระหนี้ภาครัฐ แต่ก็ต้องยอมรับว่าต้นทุนการเงินจะสูงขึ้นกว่ารูปแบบเดิมที่การกู้รัฐจะค้ำประกัน โดยกองแรกนี้จะใช้รายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือเป็นทรัพย์สินในการระดมทุน อายุกองทุน 15-20 ปี”นายสุนชัยกล่าว
สำหรับเม็ดเงินจากการระดมทุนนี้ไปลงทุนในการพัฒนา โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และโครงการขยายระบบส่งของ กฟผ.ปี 2558-2559 โดย กฟผ.จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในปี 2558 กว่า 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กฟผ.ได้เตรียมแผนงานรองรับไว้แล้ว โดยได้ว่าจ้างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ 1 พ.ย.2556 และคัดเลือก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAMทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ภายหลังการจัดตั้งเสร็จแล้ว