นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุหัวข้อ"คำพิพากษาศาลปกครอง ครอบคลุมถึงท่อก๊าซในทะเลของ ปตท หรือไม่"
ผมได้อ่านคำพิพากษาศาลปกครองเรื่อง ปตท ฉบับเต็ม ปรากฏว่ามีข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้
1 ผู้ฟ้องคดีซึ่งประกอบด้วยมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและบุคคลอื่น พูดเน้นเฉพาะที่ดินตามแนวท่อก๊าซ สถานีควบคุมระบบก๊าซ และระบบท่อก๊าซฝังใต้ดิน มิได้พูดถึงท่อก๊าซในทะเล
ผมเดาเอาเองว่าผู้ฟ้องคงลืม มิได้พูดให้ครอบคลุม
2 ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการส่งปิโตรเลียมทางท่อ แต่ศาลมิได้พูดเฉพาะถึงท่อก๊าซในทะเล
ประเด็นจึงมีว่าท่อก๊าซในทะเล เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
3 ในบทวิเคราะห์ ศาลได้กล่าวถึงการโอนทรัพย์สินจาก ปตท (เดิม) ไปให้แก่บริษัทที่แปรรูป "อันเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืน" และการดูแลที่ดินตามแนวท่อ "เป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ"
จึงทำให้ผู้บริหาร ปตท ตีความเข้าข้างตัวเอง ว่าคำพิพากษาครอบคลุมเฉพาะท่อบนบก
4 นอกจากนี้ มีอีกบทหนึ่ง ที่วิเคราะห์ปัญหาว่า ที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
จึงทำให้ผู้บริหาร ปตท ตีความเข้าข้างตัวเอง ว่าคำพิพากษาครอบคลุมเฉพาะที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน
5 แต่ถ้าอ่านอย่างละเอียด จะพบว่าคำพิพากษานี้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสุดยอด
ในหน้า 80 ระบุว่า " สำหรับในส่วนของทรัพย์สินที่ ปตท ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชน แต่ได้มาโดยวิธีการอื่น เช่น การซื้อ จัดหา หรือแลกเปลี่ยน ตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2511 นั้น ไม่ถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ..."
คำพิพากษาจึงมีความรอบคอบ โดยระบุชัดเจน ว่าทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชน ไม่ถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินแต่ในเวลาเดียวกัน ย่อมหมายความด้วยว่า ทรัพย์สินใดที่ได้มา โดยใช้อำนาจมหาชน จะต้องถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินทุกกรณี
6 ถามว่าท่อในทะเล ปตท ได้มาโดยใช้อำนาจมหาชนหรือเปล่าผมคิดว่าคำตอบมีขัดเจนว่า " ใช่ "เพราะ ปตท เป็นผู้เดียวที่รัฐบาลมอบหมายให้วางท่อในทะเล
และท่อดังกล่าว มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้อื่นใดสร้างไว้ก่อนหน้า แล้ว ปตท ได้ไปซื้อต่อจากเขามา หรือ ปตท ได้มาจากการจัดหา หรือแลกเปลี่ยนในตลาดใดๆ จึงไม่เข้าลักษณะ "โดยวิธีการอื่น " ที่ระบุไว้ในคำพิพากษา
ถึงแม้ท่อในทะเลมิได้ใช้อำนาจเวนคืน แต่เนื่องจาก ปตท ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล การมอบหมายโดยรัฐบาล จึงเป็นคำสั่งศักดิ์สิทธิ์ มอบไปทั้งหน้าที่และสิทธิ
และ ปตท. เป็นผู้เดียวที่รัฐบาลมอบหมายเสียด้วย จึงเป็นการได้มาโดยใช้อำนาจมหาชนอย่างชัดเจน
ผมอ่านแล้วเห็นว่าคำพิพากษาไม่สามารถตีความแบบใจแคบอย่างที่ผู้บริหาร ปตท. ยึดถือได้เลยครับ
ผมได้อ่านคำพิพากษาศาลปกครองเรื่อง ปตท ฉบับเต็ม ปรากฏว่ามีข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้
1 ผู้ฟ้องคดีซึ่งประกอบด้วยมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและบุคคลอื่น พูดเน้นเฉพาะที่ดินตามแนวท่อก๊าซ สถานีควบคุมระบบก๊าซ และระบบท่อก๊าซฝังใต้ดิน มิได้พูดถึงท่อก๊าซในทะเล
ผมเดาเอาเองว่าผู้ฟ้องคงลืม มิได้พูดให้ครอบคลุม
2 ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการส่งปิโตรเลียมทางท่อ แต่ศาลมิได้พูดเฉพาะถึงท่อก๊าซในทะเล
ประเด็นจึงมีว่าท่อก๊าซในทะเล เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
3 ในบทวิเคราะห์ ศาลได้กล่าวถึงการโอนทรัพย์สินจาก ปตท (เดิม) ไปให้แก่บริษัทที่แปรรูป "อันเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืน" และการดูแลที่ดินตามแนวท่อ "เป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ"
จึงทำให้ผู้บริหาร ปตท ตีความเข้าข้างตัวเอง ว่าคำพิพากษาครอบคลุมเฉพาะท่อบนบก
4 นอกจากนี้ มีอีกบทหนึ่ง ที่วิเคราะห์ปัญหาว่า ที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
จึงทำให้ผู้บริหาร ปตท ตีความเข้าข้างตัวเอง ว่าคำพิพากษาครอบคลุมเฉพาะที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน
5 แต่ถ้าอ่านอย่างละเอียด จะพบว่าคำพิพากษานี้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสุดยอด
ในหน้า 80 ระบุว่า " สำหรับในส่วนของทรัพย์สินที่ ปตท ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชน แต่ได้มาโดยวิธีการอื่น เช่น การซื้อ จัดหา หรือแลกเปลี่ยน ตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2511 นั้น ไม่ถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ..."
คำพิพากษาจึงมีความรอบคอบ โดยระบุชัดเจน ว่าทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชน ไม่ถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินแต่ในเวลาเดียวกัน ย่อมหมายความด้วยว่า ทรัพย์สินใดที่ได้มา โดยใช้อำนาจมหาชน จะต้องถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินทุกกรณี
6 ถามว่าท่อในทะเล ปตท ได้มาโดยใช้อำนาจมหาชนหรือเปล่าผมคิดว่าคำตอบมีขัดเจนว่า " ใช่ "เพราะ ปตท เป็นผู้เดียวที่รัฐบาลมอบหมายให้วางท่อในทะเล
และท่อดังกล่าว มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้อื่นใดสร้างไว้ก่อนหน้า แล้ว ปตท ได้ไปซื้อต่อจากเขามา หรือ ปตท ได้มาจากการจัดหา หรือแลกเปลี่ยนในตลาดใดๆ จึงไม่เข้าลักษณะ "โดยวิธีการอื่น " ที่ระบุไว้ในคำพิพากษา
ถึงแม้ท่อในทะเลมิได้ใช้อำนาจเวนคืน แต่เนื่องจาก ปตท ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล การมอบหมายโดยรัฐบาล จึงเป็นคำสั่งศักดิ์สิทธิ์ มอบไปทั้งหน้าที่และสิทธิ
และ ปตท. เป็นผู้เดียวที่รัฐบาลมอบหมายเสียด้วย จึงเป็นการได้มาโดยใช้อำนาจมหาชนอย่างชัดเจน
ผมอ่านแล้วเห็นว่าคำพิพากษาไม่สามารถตีความแบบใจแคบอย่างที่ผู้บริหาร ปตท. ยึดถือได้เลยครับ